พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุจำเป็น และการพิสูจน์ความเสียหายจากการไม่อนุญาตเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีครั้งแรกไปแล้ว โจทก์จะมาขอเลื่อนคดีครั้งต่อไปอีกไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และโจทก์จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลด้วยว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ศาลจึงจะสั่งให้เลื่อนคดีไปได้ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แต่ในการขอเลื่อนคดีของโจทก์ครั้งที่ 2 นี้ อ้างว่าต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ทนายความของโจทก์อีกคนหนึ่งนำไปขึ้นศาลต่างจังหวัดและไม่อาจกลับมาทัน จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบในวันนี้ได้ ทั้งที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องหมายเลข 2 ของโจทก์ และทนายโจทก์ก็ไม่ได้มาศาลเพื่อแถลงประกอบให้ศาลเห็นว่าเหตุที่อ้างนั้นเป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ นอกจากนี้โจทก์ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: สันนิษฐานการส่งมอบสินค้าสภาพดี แต่โจทก์พิสูจน์ความเสียหายได้
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง และเป็นการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยในสินค้าพิพาทจึงยังสามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นความแตกต่าง ไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ขนส่งได้มอบสินค้าพิพาทซึ่งมีสภาพเสียหายจากการปนเปื้อนน้ำมะขามเปียกและมีจำนวนไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ได้ใช้แก่บริษัท อ. ผู้รับตราส่งก่อนหน้านี้ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายจากผิดสัญญา ค่าเสียหายต้องพิสูจน์ได้
เงินประกันความรับผิดตามสัญญาข้อ 3 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติการรับจ้างของจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1ได้นำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงิน 295,000 บาท มาวางเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ดังนั้น เงินจำนวนนี้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ได้
สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ ค่าเสียหายตามสัญญา และการพิสูจน์ความเสียหายที่สูงกว่าเบี้ยปรับ
ค่าปรับรายวันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างคือเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรคแรก นั่นเอง ส่วนค่าตัดลดเปลี่ยนแปลงรายการอันเป็นค่าเสียหายตามสัญญา จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสอง ที่ให้บังคับตามบัญญัติแห่งมาตรา 380 วรรคสอง โจทก์จะเรียกค่าเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต่อเมื่อโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายสูงกว่าเบี้ยปรับที่กล่าวแล้ว โดยหากมีโจทก์ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวนที่สูงกว่าเบี้ยปรับนั้นอีกได้ สำหรับคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งไม่สูงไปกว่าเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ทั้งหมด
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตามสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์มิได้พิสูจน์ความเสียหายตามฟ้อง
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้อง รับผิดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้ รับความเสียหายตาม จำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตาม สมควร โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดย กำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อ ศาลภายใน 30 วันหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบียดบังเงินของสุขาภิบาล: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายให้ชัดเจน ศาลลงโทษเฉพาะส่วนที่พิสูจน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเบียดบังเงินของสุขาภิบาลรวม 9 ครั้งรวมเป็นเงิน 90,000 บาทเศษ ทางพิจารณากลับปรากฏว่า นอกจากเงินของสุขาภิบาลจะขาดบัญชีไป 9 รายการตามฟ้องโจทก์แล้ว ยังมีเงินเกินบัญชีอีก 24 รายการเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาทเศษ คงเหลือเงินที่ขาดบัญชีไปเพียง 24,843.97 บาท เท่านั้น โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่ขาดบัญชีนี้จำเลยได้เบียดบังไปจากสุขาภิบาลตามฟ้องโจทก์ข้อใด เป็นจำนวนเท่าใด จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดทุกกรรมตามฟ้องโจทก์ คงลงโทษจำเลยได้เพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความเสียหายและขอบเขตความรับผิด
จำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสายการเดินเรือต่างๆรวมทั้งเรือ อ. ของบริษัท บ.ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทด้วย เมื่อเรือจะเข้าท่าเรือกรุงเทพจำเลยเป็นผู้แจ้งให้บริษัท ย. เจ้าของสินค้าผู้รับตราส่งทราบ บริษัท ย. นำใบตราส่งมาชำระค่าระวางสินค้าแก่จำเลย และจำเลยออกใบรับมอบของหรือใบปล่อยสินค้าให้ไปรับสินค้า และจำเลยติดต่อขออนุญาตเช่าเครื่องมือขนถ่ายสินค้าจากการท่าเรือฯด้วย หน้าที่ดังกล่าวจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ต้องถือว่าการขนส่งสินค้ารายพิพาทจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยคนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. หรือไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งจึงต้องรับผิดร่วมกันในความเสียหายทั้งหมดของสินค้ารายพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญา แม้ไม่สามารถพิสูจน์ความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนได้
เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลยเป็นจำนวนเท่าใดศาลก็กำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยค่าเสียหายตามควรแก่กรณี แม้โจทก์มิได้พิสูจน์ความเสียหายได้ครบถ้วน
เมื่อฟังว่าจำเลยละเมิด แม้โจทก์จะสืบในเรื่องค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
ในฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยละเมิดปลูกห้องล้ำที่โจทก์ ทำให้น้ำฝนสาดห้องโจทก์เสียหาย 100 บาท แต่กลับสืบว่าทำให้น้ำฝนสาดยาม้วนของโจทก์เสียหาย 2 ม้วนเป็นเงิน 100 บาท ศาลวินิจฉัยค่าเสียหายให้โจทก์ 20 บาทดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
ในฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยละเมิดปลูกห้องล้ำที่โจทก์ ทำให้น้ำฝนสาดห้องโจทก์เสียหาย 100 บาท แต่กลับสืบว่าทำให้น้ำฝนสาดยาม้วนของโจทก์เสียหาย 2 ม้วนเป็นเงิน 100 บาท ศาลวินิจฉัยค่าเสียหายให้โจทก์ 20 บาทดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้