พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8543-8552/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารในคดีบังคับคดี: ผู้ร้องยังสามารถพิสูจน์สถานะตนเองได้แม้พ้นกำหนด 8 วัน
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเสียภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย การที่กฎหมายเพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยเสียภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ แสดงว่ากฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว โดยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศไปแล้ว ถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์สถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีชื่อในบัตรประชาชนไม่ตรงกับชื่อจริง
แม้บัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการซึ่งให้สันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงตามแต่ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบหรือห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นอย่างอื่นการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์คือนายห.บุตรนางข.คนหนึ่งแต่เหตุที่โจทก์มีชื่อในบัตรประจำตัวประชาชนว่านายน.ก็เพราะโจทก์หลบหนีคดีอาญาโจทก์จึงแจ้งชื่อของโจทก์และชื่อบิดามารดาของโจทก์ใหม่เพื่อไม่ให้คนอื่นรู้ว่าโจทก์คือนายห.นั้นนอกจากโจทก์จะอ้างตนเองเป็นพยานแล้วโจทก์ยังมีนายล.ซึ่งเคยเป็นครูสอนหนังสือโจทก์และต่อมารับราชการเป็นปลัดอำเภอเบิกความสอดคล้องกับนางก. ญาติทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยและนางส. เพื่อนบ้านซึ่งรู้จักโจทก์มาตั้งแต่เล็กๆโดยต่างยืนยันว่าโจทก์คือนายห. บุตรนายอ. กับนางข. ทั้งยังมีสัสดีจังหวัดเบิกความรับรองบัญชีรายนามทหารกองเกินและทหารกองหนุนว่านายห. เกิดปี2469เป็นบุตรนายอ. กับนางข.มีตำหนิแผลเป็นนิ้วชี้มือซ้ายตรงกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ระบุว่าโจทก์เกิดปี2469และตำหนิแผลเป็นที่นิ้วมือชี้ด้านซ้ายก็ตรงกับที่ศาลตรวจดูตัวโจทก์และบันทึกไว้ในคำเบิกความของโจทก์ด้วยเมื่อรับฟังพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ประกอบกันแล้วทำให้พยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าโจทก์คือนายห. บุตรนางข.โจทก์จึงมีอำนาจร้องขอถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนางข. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารในบังคับคดี ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องพิสูจน์สถานะแม้พ้นกำหนด 8 วัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องไว้ในมาตรา296จัตวา(3)คือถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเสียภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยการที่กฎหมายเพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยเสียภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแสดงว่ากฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียวแม้ล่วงเลยกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศไปแล้วถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยและแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องเสียก่อนสิ้นระยะเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศก็ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องในภายหลังเพราะระยะเวลา8วันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะตัวแทนและการเป็นบริวารในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่า ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะเป็นตัวแทนผู้ร้อง เมื่อจำเลยเช่าตึก พิพาทจากโจทก์ ผู้ร้องเข้ามาอาศัยอยู่ในตึก พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยจึงเป็นบริวารจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะที่ดินสาธารณะและการฟ้องคดีบุกรุก
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลย 1 ปีปรับ 5,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ คดีจึงต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฟ้องของโจทก์ในข้อหาบุกรุกยึดถือครอบครองทางสาธารณะ อันเป็น ที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นโจทก์ไม่จำต้อง บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทนั้นเป็นที่ดินของรัฐได้อย่างไรและเป็น ที่ดินของรัฐตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง นำสืบในชั้นพิจารณาคดีเป็นฟ้องที่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) แล้ว
ที่พิพาทแม้ทางราชการจะเคยให้เอกชนเช่าอยู่ 3 ปีก็เลิกเช่า แต่ประชาชนสัญจรไปมาในที่พิพาทตลอดมาถือได้ว่า ที่พิพาทยังคง เป็นที่ดินของรัฐเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ ร่วมกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ได้
ฟ้องของโจทก์ในข้อหาบุกรุกยึดถือครอบครองทางสาธารณะ อันเป็น ที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นโจทก์ไม่จำต้อง บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทนั้นเป็นที่ดินของรัฐได้อย่างไรและเป็น ที่ดินของรัฐตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง นำสืบในชั้นพิจารณาคดีเป็นฟ้องที่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) แล้ว
ที่พิพาทแม้ทางราชการจะเคยให้เอกชนเช่าอยู่ 3 ปีก็เลิกเช่า แต่ประชาชนสัญจรไปมาในที่พิพาทตลอดมาถือได้ว่า ที่พิพาทยังคง เป็นที่ดินของรัฐเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ ร่วมกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิสูจน์สถานะบุคคล การถอนสัญชาติ และผลกระทบต่อผู้เกิดจากมารดาคนญวนอพยพ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแล้วถูกทางราชการตำรวจภูธรอำเภอท่าอุเทนซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยบังคับให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ดังนี้เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะผู้ถือหุ้นและการชำระค่าหุ้น โดยใช้บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นหลักฐานเบื้องต้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024 บัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาสมุดบัญชีเอกสารของบริษัทนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการ ดังนั้นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่กรรมการของบริษัทจำเลยนำส่งต่อนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครจึงเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง รับฟังได้ในเบื้องต้นว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยและค้างชำระค่าหุ้นอยู่ตามนั้นจริง เว้นแต่ผู้ร้องจะพิสูจน์ได้เป็นประการอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ต้องพิสูจน์สถานะผู้จัดการมรดกก่อนฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์ฟ้องว่า ผ. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์กำลังจัดการมรดกอยู่เมื่อ ผ. ยังมีชีวิตอยู่นั้นจำเลยได้ฉ้อฉล ผ. ให้ ผ. ยกที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้นั้นจำเลยให้การปฏิเสธพินัยกรรมท้ายฟ้องและว่าถ้า ผ. ได้ทำพินัยกรรมนั้นจริงก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังแล้วโจทก์มิได้เป็นทายาทและผู้จัดการมรดก ผ.ยกทรัพย์ดังกล่าวให้จำเลยโดยชอบด้วยใจสมัคร และโจทก์ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามคดีดำที่ 6368/2516 ซึ่งยังพิพาทกันอยู่ยังไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1712 เจ้ามรดกมีสิทธิที่ตั้งผู้จัดการมรดกได้แต่เรื่องนี้ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์อ้างจะเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้องแท้จริงหรือไม่เจ้ามรดกได้ระบุไว้ในพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกจริงหรือไม่โจทก์มีข้อเสื่อมเสียประการใดและมีพินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนการตั้งผู้จัดการมรดกที่โจทก์อ้างหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงกันต่อไปเพื่อที่จะได้ทราบชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้ว่าศาลจะมีอำนาจหยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้เองแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลก็ควรจะได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ แม้คดีหมายเลขดำที่ 6268/2516 นั้นคณะผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาเป็นคณะเดียวกับคดีนี้ แต่ก็เป็นคนละคดีกันและมิได้รวมพิจารณาจะนำข้อเท็จจริงในคดีหนึ่งมาใช้กับอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่เมื่อโจทก์มิได้แถลงรับในข้อนี้ก็จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทายาทและผลกระทบต่อการเป็นผู้จัดการมรดก รวมถึงการตรวจสอบพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย. โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล.. โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล.. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของล.หรือไม่.จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดี. ซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด. หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่. เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาท. ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. คำร้องของจำเลยต้องยกเสีย.ถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน. ส.ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย.
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย. ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย.
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง. ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม. โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม. คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก. เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม.
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม. เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น. โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่.จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์. ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม.
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย. ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย.
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง. ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม. โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม. คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก. เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม.
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม. เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น. โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่.จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์. ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ในหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แม้ไม่ได้พิสูจน์สถานะเจ้าพนักงานโดยตรง แต่ยังคงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่จำเลยตั้งยอดเบิกเงินตามจำนวนทหารที่จะได้รับเงินเดือนนั้น จำเลยอาจต้องลงบัญชีไว้ก่อน เพื่อจะได้จ่ายในวันหลังดั่งจำเลยต่อสู้ก็ได้ เมื่อไม่ได้ความว่าบัญชีไม่ตรงตามจำนวนทหารในเดือนใด การที่ทหารมารับเงินเดือนไม่ครบจำนวนจำเลยลงบัญชีจ่ายเต็มจำนวนให้ตรงกับบัญชีเงินสดประจำวันก็ไม่ได้หลักฐานว่ามีระเบียนข้อบังคับห้ามไม่ให้ทำเช่นนี้ ดังนี้จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการปลอมหนังสือไม่ถนัด
บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดหลายกะทง ขอให้ลงโทษตามมาตรา 319 ข้อ (3) ฯลฯ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า ทางราชการจัดให้จำเลยทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินจำเลยยักยอกเอาเงินรายนี้ไปจริงดังนี้ ก็ตรงกับคำฟ้อง ส่วนที่กล่าวว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานนั้นแม้ทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานโดยตรง ก็ยังถือไม่ได้ว่าคดีได้ความตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดหลายกะทง ขอให้ลงโทษตามมาตรา 319 ข้อ (3) ฯลฯ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า ทางราชการจัดให้จำเลยทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินจำเลยยักยอกเอาเงินรายนี้ไปจริงดังนี้ ก็ตรงกับคำฟ้อง ส่วนที่กล่าวว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานนั้นแม้ทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานโดยตรง ก็ยังถือไม่ได้ว่าคดีได้ความตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง