คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.ฎ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันใช้บังคับพ.ร.ฎ.เวนคืนฯ คือวันเริ่มใช้บังคับ มิใช่ระยะเวลา 4 ปี และการคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน
วันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามความใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1) หมายถึงวันที่เริ่มใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา มิใช่ทุก ๆ วันในระยะเวลาสี่ปีที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว ฯลฯ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาเวนคืนที่ดิน: พิจารณาจากราคาตลาดในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ที่ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานั้น มีความหมายว่า ให้นำเอาราคาซื้อขายของอสังหาริมทรัพย์ในประเภทและชนิดเดียวกันที่ประชาชนทั่วไปซื้อขายกันอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณา ถ้าหาราคาซื้อขายในวันดังกล่าวไม่ได้ ก็อาจหาราคาซื้อขายในวันอื่นที่ใกล้เคียงมาใช้พิจารณาแทน แม้จะเป็นราคาซื้อขายในภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับก็นำมาใช้เทียบเคียงได้ ผู้กำหนดราคาสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดราคาที่ควรจะเป็นโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลนั้นประกอบไป และกำหนดราคาที่สมควรในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7162/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดค่าทดแทนตามราคาปกติในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในระหว่างวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นการดำเนินการที่อยู่ในระยะเวลาตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีขั้นตอนใดฝ่าฝืนต่อกฎหมายและจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายหลังจากที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ 3 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งยังถือได้ว่าอยู่ในเวลาอันควรและอยู่ในระหว่างวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เมื่อได้กำหนดตามราคาปกติที่ซื้อขายกันในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แล้ว การกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน และการกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสม
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวพ.ศ. 2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูก เวนคืนและถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่โจทก์เห็นว่าเงินทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมจึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาดเท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 นั่นเอง แม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ผลของการสิ้นอายุ พ.ร.ฎ. ไม่กระทบสิทธิที่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงหนองบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ออกใช้บังคับซึ่งมีที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ด้วย การดำเนินการต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติไปตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้บัญญัติไว้ และในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนนั้นคณะกรรมการฯที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.นั้นได้แต่งขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับนั้นก็เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปโดยมีกฎหมายรองรับอยู่โดยชอบแล้วในขณะนั้น จึงไม่เสียไปแต่อย่างใด แม้ต่อมา พ.ร.ฎ.ดังกล่าวจะสิ้นอายุลง ดังนั้น การกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนที่ได้ดำเนินการไปแล้วในระหว่างที่ พ.ร.ฎ.ยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงใช้ได้ไม่เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.เวนคืนมีผลบังคับใช้ แม้มี พ.ร.บ.เวนคืนฉบับใหม่
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เพิ่มขึ้น โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 เพื่อสร้างทางพิเศษ สายดาวคะนอง - ท่าเรือ มีผลใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ท้ายฟ้อง และตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมาตรา 3ให้ พ.ร.ฎ.มีอายุห้าปี แม้ภายหลังจากครบห้าปีได้มีการตรา พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2530 ก็ตาม แต่ก็เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 นั้นเอง และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมาตั้งแต่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528โดยอ้างเหตุตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มิได้อ้างเหตุตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530 ซึ่งออกภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจัดเก็บภาษีสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชี 2 พ.ร.ฎ. สินค้าอเนกประสงค์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ ถือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้าย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526มาตรา 9 มิได้จำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือนโดยเฉพาะดังนั้น แม้ว่าสินค้าพิพาทจะเป็นท่อเหล็กเอนกประสงค์ใช้ทำของใช้อย่างอื่นนอกจากเครื่องเรือนด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ และมิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของบัญชีที่ 1อีกทั้งเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร สินค้าท่อเหล็กกลมและเหลี่ยมที่โจทก์ผลิตจึงเป็นสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชีที่ 2 ท้ายพ.ร.ฎ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เมื่อมี พ.ร.ฎ.ให้เลือกตั้งใหม่แล้ว ศาลไม่ต้องวินิจฉัยการเลือกตั้งเดิม
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งในเขตต์นั้นใหม่ ถ้ามี พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งในเขตต์นั้นแล้ว ศาลไม่ต้องชี้ขาดในประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนจะเป็นโดยชอบหรือไม่กรณีเช่นนี้ศาลต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้าเหรียญกษาปณ์ก่อนมี พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.เงินตรา: การพิสูจน์เจตนาและปริมาณเหรียญ
จำเลยเปนผู้ประกอบการค้าเหรียนกสาปน์ซึ่งมีผู้นำไปซื้อของ+ร้านจำเลยก่อนถูกจับ 10 วัน เปนจำนวนเงิน 49 บาทเสสแม้ไม่ยอมทอนไห้ผู้มาซื้อของและเหตุเกิดก่อนไช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน พ.ส.2484 พ.ส.2486 + ยังไม่พอลงโทสจำเลย.
of 2