พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ. ยกเว้นความผิดอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนและการพาอาวุธปืนโดยไม่มีเหตุสมควร
ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ ได้มี พ.ร.บ. ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ทางราชการ พ.ศ. 2546 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์" แม้ขณะถูกจับกุมไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจะนำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ตามที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อขณะเกิดเหตุยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดเฉพาะความผิดฐานมีอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่สำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจะนำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ ย่อมถือว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่มีเหตุสมควร และไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินสงเคราะห์ประกันสังคม: 'บุตร' ตาม พ.ร.บ. ไม่จำกัดเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร แต่มีการบัญญัติถึงบุตรไว้สองแบบ กล่าวคือ ตามมาตรา 73 (2) เกี่ยวกับเงินสงเคราะห์ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ใช้คำว่า "บุตร" ส่วนมาตรา 75 ตรี และมาตรา 77 จัตวา (1) ใช้คำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย" เมื่อใช้คำต่างกันในกฎหมายเดียวกันเช่นนี้ แสดงว่าประสงค์จะให้ความหมายของคำว่า "บุตร" แตกต่างไปจากคำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย" เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่นที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายอันเนื่องมาจากการทำงาน ทั้งนี้ โดยมุ่งหมายให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ซึ่งลูกจ้างผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส และเมื่อพิจารณาถึงเงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามมาตรา 73 (2) (ก) และ (ข) ก็คือเงินสมทบส่วนหนึ่งที่ผู้ประกันตนได้ส่งไว้แล้ว กฎหมายจึงบัญญัติให้เฉลี่ยจ่ายแก่สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน จึงเห็นได้ว่าตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 (2) จึงมิได้หมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. เท่านั้น แต่รวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสิบสามเป็นบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสิบสามจึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธเป็นเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ทางราชการฯ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์" เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องรับฟังได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในคดีเยาวชนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ไม่มีอำนาจอนุญาตฎีกา
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมการให้สินสมรสหลังพ.ร.บ.ใช้บังคับ และอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการรวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ. มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1480 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ย้อนหลัง แม้ถูกล้างมลทินแล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึงต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงานและเงินโบนัสแก่โจทก์ พ.ร.บ.ดังกล่าวที่โจทก์อ้างเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัย ไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัย ไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการห้ามกำหนดเงื่อนไขความรับผิดต่างจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งมีข้อความระบุถึง ความรับผิดของบริษัทแตกต่าง ไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่งพระราชบัญญัตินี้บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย และสิทธิเรียกร้องที่จำกัดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2528จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดิน ปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง 7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน 4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดิน ปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง 7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน 4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินและการเพิ่มโทษ: ผลกระทบต่อผู้พ้นโทษก่อนบังคับใช้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยพ้นโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ไปก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับจำเลยจึงได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้