คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.จราจร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความความผิดฐานขับรถโดยประมาทและหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงฝ่าฝืนสัญญาณจราจรไฟสีแดงผ่านทางร่วมทางแยกเป็นเหตุให้พุ่งเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายที่ 1 ขับ ทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้า กระดูกเบ้าตาแตกยุบ ลูกนัยน์ตาทั้งสองข้างชอกช้ำมาก สูญเสียลูกนัยน์ตาซ้ายอย่างถาวร (ตาบอด) อันเป็นอันตรายสาหัส และภายหลังที่จำเลยกระทำความผิดดังกล่าว จำเลยไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส ดังนี้ คำบรรยายฟ้องดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังว่าการหลบหนีของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส เนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 ต้องได้รับอันตรายสาหัสโดยสูญเสียลูกนัยน์ตาตั้งแต่ขณะถูกรถชนแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง แต่เป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา และแก้ไขโทษฐานหลบหนีไม่แจ้งเหตุตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้น ไม่ชอบแต่อย่างไร แต่จำเลยกลับยกข้อเท็จจริงทำนองเดียวกับที่เคยยกขึ้นกล่าวในศาลอุทธรณ์ขึ้นฎีกาซ้ำอีก จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและถือไม่ได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยขับรถชนผู้ตายแล้วหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร การหลบหนีของจำเลยไม่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เนื่องจากผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะถูกรถชนไปก่อนแล้ว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง แต่มีความผิดตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.จราจร ต้องระบุเจตนา 'ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย' จึงจะลงโทษฐานขับรถประมาทได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถเข็นไม่จัดเป็น 'รถ' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไม่ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 78
พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 4(15) บัญญัตินิยามคำว่า"รถ" ไว้ว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่รถไฟและรถราง กับตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" และ "พาหนะ" ไว้ โดยคำว่า "ยาน" คือ เครื่องนำไป พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ คำว่า "พาหนะ" คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่าง ๆ มีรถและเรือ เป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ กับกำหนดความหมายของคำว่า"ขับ" คือบังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ เป็นต้น
จำเลยเข็นรถขายโรตีไปตามไหล่ทางถนนสายจอมทอง - เชียงใหม่ และถูกรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับตามหลังมาเฉี่ยวชนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายและ ส. ถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยหลบหนีไปไม่ช่วยเหลือ ดังนี้ เมื่อรถเข็นของจำเลยเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าวและย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุตัวผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390
ความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เป็นความผิดเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบ ความสงบสุขและความปลอดภัยแก่ประชาชนและเป็นความผิดที่ไม่มีผู้ถูกกระทำ ถือว่าเป็นการกระทำต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ สำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 อันเป็นความผิดลหุโทษนั้น ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้เสียหายเพราะมิใช่เป็นผู้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจจากการกระทำความผิดฐานนี้ แต่ อ. เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานดังกล่าวทั้งตามคำร้องก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลของ อ. ซึ่งอยู่ในความดูแลอันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 3(2) ประกอบด้วยมาตรา 5(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก กรณีเสพเมทแอมเฟตามีนและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถ: ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้เป็นยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิบัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่ม แอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิด ตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิด และลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์ เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรกบัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติ เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติ มาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลย หรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกาย ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคง ต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิก ไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้งสองฉบับดังกล่าว การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4173/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถ: ผลกระทบต่อความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของสารเสพติด
ขณะที่จำเลยเป็นผู้ขับรถที่เสพเมทแอมเฟตามีนมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้ เมทแอมเฟตามีนมิได้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไปและเปลี่ยนมาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การกระทำ ของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลย่อมไม่อาจพิพากษา ว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวและไม่อาจมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยตาม มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,153 วรรคหนึ่งเนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่มิได้ถูกยกเลิกไป กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนอื่นนอกจากเมทแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกำหนด ยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนการเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายเพียงแต่การกระทำของจำเลย ตามฟ้องไม่เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57,91 ซึ่งมีระวางโทษ สูงกว่าเท่านั้นและการเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถยังคงเป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3ทวิ) อีกด้วย ประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจึงมิได้มีผลทำให้ การเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถไม่เป็นความผิดแต่ประการใด การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่ายถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ดังนั้นเพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น อันจะเป็นการปกป้องประชาชนทั่วไปจากภัยอันตรายบนท้องถนน ที่มักเกิดขึ้นจากผู้ขับรถที่มีอากรมึนเมาเมทแอมเฟตามีน จึงสมควร ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับขี่หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนสถานะยาเสพติด ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ขณะที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 และฉบับที่ 135ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจสั่งให้พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติ พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ กรณีผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งบัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วยประกอบกับตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก หากไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ย่อมไม่อาจลงโทษบุคคลใดสำหรับการกระทำนั้นได้เมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2อีกต่อไปและระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยและมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ กรณีนี้มิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวได้ยกเลิกความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ มิได้ถูกยกเลิกไป อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอยู่ มิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวเช่นกัน การกระทำดังกล่าวก็ยังเป็นความผิดตามกฎหมายโดยกลายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา57 และ 91 ซึ่งมีระวางโทษหนักกว่า นอกจากนี้เดิมการเสพเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แสดงว่าการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้เสพเมทแอมเฟตามีนให้หนักขึ้น ไม่ว่าผู้เสพเมทแอมเฟตามีนจะเป็นผู้ขับรถหรือไม่ก็ตาม ทั้งการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102(3 ทวิ) ซึ่งเอาผิดกับผู้ขับรถที่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษในขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถอีกบทหนึ่ง อีกทั้ง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522มาตรา 102 (3 ตรี) ก็ยังเอาผิดกับผู้ขับรถที่เสพวัตถุออกฤทธิ์ด้วย บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวยิ่งทำให้เห็นชัดขึ้นว่าการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสพเมทแอมเฟตามีนยังคงเป็นความผิดต่อไปตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลย่อมไม่อาจสั่งให้พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ ได้อยู่ในตัว
แม้โจทก์ฎีกาฝ่ายเดียว หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาสูงเกินไป ศาลฎีกาย่อมกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมกับรูปคดีได้
of 5