คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบไม่สมฟ้องนอกประเด็นตามมาตรา 87(1) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลไม่รับฟังและยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้จำเลยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยแต่โจทก์กลับนำสืบว่า จำเลยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตลาดสดและตึกแถวและชักชวนให้โจทก์ร่วมลงทุน โจทก์จึงนำเงินจำนวน 310,000 บาท ไปร่วมลงทุนกับจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่คืนเงินลงทุนและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องไปให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไป แต่เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระเงินคืน เห็นได้แจ้งชัดว่าโจทก์นำสืบไม่สมฟ้องและเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (1) ศาลจึงไม่อาจวินิจประเด็นดังกล่าวและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ตามมาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: กรณีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง รวมเป็นเงิน 199,761.64 บาท จึงมีทุนทรัพย์ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงราคาที่ดินนอกเหนือจากสัญญาจดทะเบียน ไม่ขัดต่อมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตามหนังสือสัญญาที่ทำกันเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2537อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมูลค่าที่ดินพิพาท
การที่จำเลยฎีกาว่า มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้มีการบังคับตามคำพิพากษานั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีปรากฏในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ว่า ที่ดินที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปนั้น คงเหลือที่พิพาทซึ่งอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีจำเลยฎีกาขัดกับข้อเท็จจริงหลังศาลตัดสิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโจทก์ซึ่งมีเนื้อที่ 1 งาน 672/10 ตารางวา แต่ในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองได้ความว่า โจทก์ได้จัดการแบ่งขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นไปเกือบหมด คงเหลือที่ดินพิพาทเฉพาะที่ปลูกบ้านซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางวา แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่ แต่ที่ดินพิพาทไม่ปรากฏว่าเป็นที่อยู่ในทำเลการค้าอันจะทำให้ได้ค่าเช่าที่ดินสูงเป็นพิเศษอย่างใดเห็นได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา และยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้มีการบังคับตามคำพิพากษา เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีประเด็นข้อพิพาทและคู่ความเดิม
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้งหมด 6 รายการ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ถอนการยึดทรัพย์เฉพาะบางรายการคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ขอให้ปล่อยทรัพย์รายเดียวกันกับทรัพย์ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้องไปแล้ว ดังนี้คำร้อง ของ ผู้ร้องในคดีก่อนกับคำร้อง ของ ผู้ร้องในคดีนี้ต่างก็ได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ของผู้ร้อง ซึ่งเป็นทรัพย์รายเดียวกัน ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นอย่างเดียวกันคู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้เคยมีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไปแล้ว คำร้อง ของผู้ร้องในคดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการหักหนี้จากเงินฝากอายัด: สิทธิประเภทใดที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 287 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิอื่นๆ ตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ และจะต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็น สิทธิประเภทแรกด้วยผู้ร้องได้ส่งเงินตามอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วต่อมาผู้ร้องขอรับเงินที่ส่งตามอายัดคืนโดยอ้างว่าเงินฝากในบัญชี ของจำเลยที่ส่งให้นั้นนอกจากค้ำประกันเงินกู้ของลูกค้าจำเลยแล้ว ยังค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยอีกด้วย จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องมีสิทธินำ เงินจำนวนที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัด ไปหักหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อนอยู่แล้วจึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ดังนี้ผู้ร้องมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดาจึงไม่อาจถือได้ว่า สิทธิของผู้ร้องเป็นสิทธิอื่นซึ่ง เจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอก อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ ขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะ ในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการประกอบวิชาชีพทนายความ ไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 307 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ศาลมีอำนาจจะไต่สวนตามคำขอหรือไม่แล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควร กรณีศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคำร้องขอของจำเลยไม่ต้องด้วยมาตรา 307 ดังนี้ แม้จะไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องขอก็ไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอนั้นได้ จึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะมีสำนักงานตั้งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการเป็นทนายความของจำเลยก็เกิดจากการประกอบวิชาชีพของจำเลยนั่นเอง รายได้จากการใช้วิชาชีพดังกล่าวไม่ใช่เป็นการค้าหรือมีลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงกับการประกอบการพาณิชยกรรม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรม ในอันที่จะให้ศาลมีคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับคำให้การตามมาตรา 199 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่เมื่อไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงมีคำสั่งไม่รับคำให้การมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นการสั่งตาม มาตรา199 เป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างการพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันไม่เข้ากรณีที่ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ตาม มาตรา227,228 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้วพิพากษาคดีไปนั้นจึงไม่ชอบ และหามีผลแต่ประการใดไม่
of 2