พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเลือกตั้งกระทำทุจริต กากบาทบัตรเลือกตั้งเอง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.เลือกตั้ง
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ได้หยิบบัตรเลือกตั้งใส่ในเสื้อที่สวมใส่แล้วเดินออกไปยังจุดนัดพบกับ ต. เพื่อให้ ต. ต่อจากนั้นได้กลับมายังที่หน่วยเลือกตั้ง จนเวลาประมาณ 13 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขออนุญาตออกไปทำธุระข้างนอกและไปหา ต. กับพวกรวม 3 คน แล้วนำบัตรเลือกตั้งกลับมายังหน่วยเลือกตั้ง จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ล้วงเอาบัตรเลือกตั้งจากในเสื้อออกมาใส่กล่องบัตรดี บัตรเลือกตั้งทุกแผ่นมีการกากบาทเครื่องหมายไว้แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปโดยมีเจตนาที่จะมิให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้บัตรเลือกตั้งเสียหายไม่อาจนำไปใช้การได้อีก อันถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งครั้งนั้นได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.เลือกตั้ง: จัดทำทรัพย์สินแจกเพื่อให้ได้คะแนนเสียง ถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังไม่ได้แจกจ่าย
ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 มาตรา 35 ที่บัญญัติว่า เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งใดจนถึงวันเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือให้งดเว้นมิให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดด้วยวิธีการดังนี้(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด"จะเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าในเขตเลือกตั้งใด กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดที่มิใช่ผู้สมัครกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นด้วยวิธีการจัดทำให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใดดังนั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวด้วยการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ว่าด้วยการจัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด ย่อมเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกจับและเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางทั้งหมดได้ จำเลยทั้งสองได้จัดทำธนบัตรของกลางทั้ง11,400,000 บาท ไว้พร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่ผู้เลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อในเขตอำเภอ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งแล้ว ด้วยการนำธนบัตรชนิดราคา 100 บาท กับชนิดราคา 20 บาท ที่มีตรายางรูปยันต์ประทับตรงบริเวณลายน้ำพระบรมฉายาลักษณ์ มาเย็บติดกันเป็นชุด ชุดละ 20 บาท และมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุด ใส่ถุงพลาสติกบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเล ไว้พร้อม ดังนั้น โดยลักษณะของการกระทำดังกล่าวถือว่าจำเลย ทั้งสองจัดทำธนบัตรของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นแล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะยังไม่ได้แจกจ่ายหรือให้ธนบัตรนั้นแก่บรรดาผู้เลือกตั้งทั้งหลายจำเลยทั้งสองก็กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1) สำเร็จแล้ว โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเอาผิดแก่การจัดทำธนบัตรของกลางของจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จมาด้วย โจทก์คงบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง เพื่อจะจูงใจให้บรรดาผู้เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นสถานเดียวเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ทั้งสองตามที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเพียงการพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งสถานเดียว ดังนั้นจึงต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเพียงขั้นตระเตรียมการให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งอันไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 35(1)ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาหรือไม่ ขณะที่จำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมของกลางคงเหลือเวลาอีกเพียง 3 วัน ก็จะถึงกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับว่าเป็นระยะเวลาที่ใกล้ชิดกับวันเลือกตั้งมากแล้ว ประกอบกับลักษณะธนบัตรของกลางที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นเป็นชุดพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งดังกล่าวได้ตามบัญชีรายชื่อหัวคะแนนแต่ละหมู่บ้านบัญชีรายชื่อแกนนำ บัญชีรายชื่อผู้รับผิดชอบแต่ละตำบลในอำเภอบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง (ส.ส.13) ของอำเภอ ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน ตลอดจนข้อมูลหน่วยเลือกตั้งตำบลต่าง ๆ ในอำเภอในเขตเลือกตั้งดังนั้นที่จำเลยทั้งสองรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งจะให้แก่ผู้สมัคร และจำเลยทั้งสองก็ได้เตรียมจัดหาทรัพย์สิน คือธนบัตรชนิดราคา 100 บาท และชนิดราคา 20 บาท รวมทั้งของกลางต่าง ๆ ดังกล่าว แล้วจำเลยทั้งสองได้ลงมือดำเนินการตามเจตนาข้างต้นโดยนำธนบัตรมาเย็บติดกันเป็นชุดมัดรวมกัน มัดละ 100 ชุดบรรจุในกล่องกระดาษและถุงทะเลเสร็จพร้อมที่จะนำไปให้แก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ทันที่ การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการนำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายหรือให้แก่บรรดาผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครที่จำเลยทั้งสองให้การสนับสนุน เป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองพ้นขั้นตระเตรียมการเข้าสู่การลงมือกระทำความผิดแล้ว หากแต่ไม่สำเร็จเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสองได้เสียก่อนมิฉะนั้นแล้วจำเลยทั้งสองก็จะกระทำความผิดต่อไปได้สำเร็จจำเลยทั้งสองย่อมมีความผิดฐานพยายามให้ทรัพย์สินแก่ผู้เลือกตั้งเพื่อจะจูงใจให้ผู้เลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครดังที่โจทก์ฟ้องแล้ว และธนบัตรของกลางกับของกลางอื่นถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำว่า 'บิดา' ตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งเทศบาล ครอบคลุมทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "บิดา" ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาเทศบาล พ.ศ.2482มาตรา 20 และ 20 ทวิ หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ ต้องเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การบรรยายฟ้องต้องครบองค์ประกอบ
การกระทำของข้าราชการที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2522 มาตรา 15 จะต้องเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเป็นปลัดกระทรวงการคลังและเป็นประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงไทย จำกัด โดยตำแหน่งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่อย่างไร การให้ข่าวแก่นักหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อในสมัยที่โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เป็นการกระทำในหน้าที่ของจำเลยหรือไม่ และการให้ข่าวเช่นนั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบเพื่อเป็นคุณ/โทษแก่ผู้สมัคร
การกระทำของข้าราชการที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2522 มาตรา 15จะต้องเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเป็นปลัดกระทรวงการคลัง และเป็นประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงไทย จำกัด โดยตำแหน่งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่อย่างไร การให้ข่าวแก่นักหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อในสมัยที่โจทก์ดำรง ตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เป็นการกระทำในหน้าที่ของจำเลยหรือไม่ และการให้ข่าวเช่นนั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ฟ้องโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: บทบัญญัติมาตรา 87 พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรม จึงได้กำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ไว้เป็นกรณีพิเศษ ดังนั้นการที่มาตรา 87 ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง อันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้กระทำผิดจึงไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
มาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้กระทำผิดมีกำหนดห้าปี เป็นบทบังคับเด็ดขาด ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจลดน้อยลงได้ ศาลจึงไม่อาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้น้อยกว่ากำหนดห้าปีได้
มาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้กระทำผิดมีกำหนดห้าปี เป็นบทบังคับเด็ดขาด ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจลดน้อยลงได้ ศาลจึงไม่อาจเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้น้อยกว่ากำหนดห้าปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจนข้อหาฝ่าฝืนมาตรา 26 พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ ศาลยกคำร้อง
ปัญหาว่า คำร้องของผู้ร้องชอบด้วยมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การคัดค้านการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง มาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ ได้จำกัดประเภทของบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านไว้ ได้แก่ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ในกรณีที่เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้ง เป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26, 32, 34, 51 หรือมาตรา 52 ด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเข้าสมัครรับเลือกตั้งและการฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 84 คำร้องของผู้ร้องมีใจความสำคัญเพียงว่า ในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ผู้สมัครยังดำรงตำแหน่งกำนันตำบลอิสาณและนายทะเบียนตำบลอิสาณ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 96(7) ที่ว่าเป็นพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้มีคำสั่งว่าการได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น คำร้องมิได้แสดงโดยแจ้งชัดแห่งข้อหาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 78 อย่างไร กล่าวคือมิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 96(7) แล้วยังเข้าสมัครรับเลือกตั้งอีก ฉะนั้น คำร้องของผู้ร้องซึ่งบรรยายอ้างถึงแต่คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างเดียว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา 78 ไม่มีเหตุที่จะรับไว้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
การคัดค้านการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง มาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ ได้จำกัดประเภทของบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านไว้ ได้แก่ผู้เลือกตั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น โดยให้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ในกรณีที่เห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้ง เป็นไปโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26, 32, 34, 51 หรือมาตรา 52 ด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฯ มาตรา 26 บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเข้าสมัครรับเลือกตั้งและการฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 84 คำร้องของผู้ร้องมีใจความสำคัญเพียงว่า ในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ผู้สมัครยังดำรงตำแหน่งกำนันตำบลอิสาณและนายทะเบียนตำบลอิสาณ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 96(7) ที่ว่าเป็นพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้มีคำสั่งว่าการได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น คำร้องมิได้แสดงโดยแจ้งชัดแห่งข้อหาว่า การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบนั้นเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 78 อย่างไร กล่าวคือมิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 96(7) แล้วยังเข้าสมัครรับเลือกตั้งอีก ฉะนั้น คำร้องของผู้ร้องซึ่งบรรยายอ้างถึงแต่คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ แต่อย่างเดียว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา 78 ไม่มีเหตุที่จะรับไว้เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16075/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง: การแจ้งเท็จต่อ กกต. และการปรับบทความผิด
จำเลยร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม กล่าวหาโจทก์ทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งโดยให้ตัวแทนจ่ายเงินให้แก่ ว. และ บ. เป็นการตอบแทนที่ไปฟังโจทก์ทั้งสองปราศรัยหาเสียงเพื่อลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่โจทก์ทั้งสอง เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสอง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งเป็นการกระทำคราวเดียวกัน แม้ผลจะเกิดกับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการเลือกตั้งคนละตำแหน่งกันก็เป็นความผิดกระทงเดียว
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบใน พ.ร.บ.เลือกตั้ง ต้องกระทำในอำนาจหน้าที่โดยตรงเท่านั้น
องค์ประกอบสำคัญในความผิดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 47 นั้น ผู้กระทำจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กระทำการเฉพาะที่เกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของตนโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตามระเบียบราชการหรือตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นโดยตรง แต่กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบหรือที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจหน้าที่ให้กระทำย่อมไม่เป็นความผิดตามบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสิบจะระบุตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านลงในหนังสือร้องเรียนก็หาเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสิบมีอำนาจหน้าที่ใด ๆ ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงไม่ ทั้งการทำหนังสือร้องเรียนนั้น จำเลยทั้งสิบสามารถกระทำได้โดยไม่จำต้องอาศัยการมีตำแหน่งหน้าที่ราชการใด จึงไม่ใช่การกระทำที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายเลือกตั้งต้องมีหลักฐานประกอบ การไม่ปฏิบัติตามถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 บัญญัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งไว้ในส่วนที่ 6 ตั้งแต่มาตรา 40 ถึงมาตรา 43 โดยมาตรา 40 บัญญัติว่า การใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้งเกินจำนวนค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด มาตรา 42 บัญญัติให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองแต่งตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อจัดทำและรับรองความถูกต้องของบัญชีรายรับและรายจ่าย ส่วนมาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนหรือพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้น และผู้สมัครหรือหัวหน้าพรรคการเมืองแล้วแต่กรณีได้รับรองความถูกต้อง บัญชีรายรับและรายจ่ายอย่างน้อยต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้จ่ายไปแล้วและที่ยังค้างชำระ รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะควบคุมไม่ให้ผู้สมัครใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินไปกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของผู้สมัครแต่ละคนตามรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ผู้สมัครยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง การควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินของผู้สมัครดังกล่าว ก็เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพราะกฎหมายไม่ประสงค์ให้ผู้สมัครที่มีเงินมากได้เปรียบผู้สมัครที่มีเงินน้อยในการหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ในการยื่นรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบด้วย ทั้งนี้เพราะหากยอมให้ผู้สมัครระบุแต่จำนวนรายรับและรายจ่ายในบัญชีได้โดยไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องประกอบ ย่อมเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ไม่สุจริตระบุจำนวนรายรับและรายจ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริงโดยไม่อาจตรวจสอบได้ อันจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งเอกสารหมาย จ.12 (หรือ จ.14) ของจำเลยที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 (หรือวันที่ 4 พฤษภาคม 2544) คงระบุแต่เพียงว่ามีค่าใช้จ่าย 9 รายการ โดยจำเลยไม่มีหลักฐานประกอบรายการการจ่ายเงินตามรายการต่าง ๆ ดังกล่าว การยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายของจำเลยจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ จึงเป็นการเจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็นพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่มีประกาศแยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง จึงหามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็นพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่มีประกาศแยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง จึงหามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)