คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร่วมและการพิพากษาคดีเช็ค: การจำกัดความรับผิดเฉพาะผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็ครวม 3 ฉบับ และได้มอบเช็คสองฉบับ ให้แก่ ศ. ส่วนเช็คอีกฉบับ มอบให้แก่ พ. เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้ยักยอกเงินของผู้เสียหายทั้งสองไป ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เมื่อ ศ. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามเช็คเพียงสองฉบับ ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงเช็คอีกหนึ่งฉบับซึ่งโจทก์ร่วมมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมฎีกาแต่เพียงฝ่ายเดียวคดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมเฉพาะสองฉบับที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9438/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี: สามีภริยาฟ้องร่วมได้หากมีหนี้ร่วมกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 คำว่า ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี มีความหมายว่า มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันมอบเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้สินค้าตามสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น มูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีคือหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ทั้งจำเลยทั้งสองก็เป็นสามีภริยากัน กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร่วมกันกรณีเวนคืน: พิจารณาผลประโยชน์ร่วมกันจากมูลเหตุเดียวกันและหลักเกณฑ์เดียวกัน
บุคคลใดจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานของหนี้ที่ฟ้องนั้นจะต้องพิจารณาทั้งตามกฎหมายสารบัญญัติและข้อเท็จจริง โจทก์ทั้งสี่มีที่ดินอยู่ติดต่อกันถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายโดยถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯลฯ ฉบับเดียวกัน และโจทก์ทั้งสี่ถูกกำหนดให้ได้รับค่าทดแทนที่ดินโดยคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเป็นผู้กำหนดโดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์พื้นฐานโดยรวมในการกำหนดให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งโจทก์ทั้งสี่เห็นว่าไม่เป็นธรรมข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุรากฐานแห่งหนี้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเกิดจากการกระทำอันเดียวกันคือจากหลักเกณฑ์ในการกำหนดให้ค่าทดแทนที่โจทก์ทั้งสี่ว่าไม่เป็นธรรมนั้นโจทก์ทั้งสี่ซึ่งมีที่ดินอยู่ติดต่อกันมีสภาพของที่ดินและทำเลที่ตั้งเป็นแบบเดียวกันถูกจำเลยจ่ายค่าทดแทนโดยการกำหนดให้ในอัตราเท่ากันด้วยหลักเกณฑ์ที่ไม่ชอบธรรมอันเดียวกันกรณีถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงเป็นโจทก์ฟ้องร่วมกันมาในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร่วมและการเริ่มนับอายุความคดีภาษีอากร กรณีโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมโอนขายหุ้นและที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถยึดหุ้นและที่ดินของจำเลยที่ 1 มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ เท่ากับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่ 1 เพื่อช่วยให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสี่ร่วมกันมาในคดีเดียวกันได้
ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีไว้แล้วรวมทั้งรับคำให้การจำเลยทั้งสี่ตลอดจนสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความ ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5)
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนรับผิดชอบงานราชการและเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ส.และ พ.เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนขายหุ้นและที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในเดือนมกราคม 2530 แต่บุคคลทั้งสองไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดี จึงยังไม่เริ่มนับอายุความ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีของโจทก์ทราบเหตุที่จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่เกิน1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 12กำหนดช่องทางวิธีดำเนินการของโจทก์เกี่ยวกับภาษีอากรค้าง ให้สิทธิโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยได้ หาใช่จำเลยเป็นหนี้ที่โจทก์มีอำนาจฟ้องร้องเรียกให้ชำระค่าภาษีอากรหรือฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเช่นคดีนี้ ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นฟ้องร่วม
การที่จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในเรื่องเดิมนั้นเป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับการที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ไม่เป็นความผิดต่างกรรม แม้คำฟ้องฎีกาจะเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ก็ตาม จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรก แต่เบิกความไม่จบปากศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดต่อไป ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม โจทก์ทั้งสองในคดีนี้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนตนในคดีนี้นั้น ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จะชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบุกรุกที่ดินร่วมกัน แม้ที่ดินต่างแปลง ก็มีสิทธิฟ้องร่วมได้ หากมีส่วนได้เสียร่วมกัน
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกัน เพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นแล้ว แม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์คนละฉบับและเป็นที่ดินต่างแปลงกัน ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น กรณีดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีจึงชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของเจ้าของที่ดินต่างแปลงที่ถูกบุกรุกต่อเนื่องกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ามีส่วนได้เสียร่วมกัน
จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนทางด้านทิศเหนือเป็นผืนติดต่อกันในเวลาเดียวกันเพื่อแย่งสิทธิครอบครองเป็นของตนโจทก์ทั้งสองย่อมมีส่วนได้เสียในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีแม้ที่ดินที่ถูกบุกรุกจะมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)คนละฉบับ และเป็นที่ดินต่างแปลงกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดี ชอบที่จะเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยรวมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร่วมคดีละเมิด: ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุเป็นสำคัญ แม้ค่าเสียหายต่างกัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 บัญญัติว่า'บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ......ฯลฯ' ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้น โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสารสำคัญ ฉะนั้นในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกันแม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมฟ้องของโจทก์หลายคนจากเหตุเดียวกัน และการสละสิทธิของผู้รับประกันภัยเมื่อไม่โต้แย้งใบอนุญาตขับขี่
รถยนต์ของจำเลยที่ 1 กับที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 2 รับประกันภัยขับชนรถโจทก์ที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์อีก 6 คนที่โดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ ข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของผู้เสียหายทั้งเจ็ดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกันด้วย ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีย่อมร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในคำฟ้องเดียวกันได้
การที่ผู้รับประกันภัยยอมซ่อมรถที่เสียหายเนื่องจากรถของผู้เอาประกันภัยแต่โดยดี แสดงว่าไม่มีการโต้แย้งกันในเรื่องผู้ขับรถของผู้เอาประกันภัยมีใบอนุญาตขับรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ จึงถือได้ว่าผู้รับประกันภัยสละสิทธิไม่ติดใจที่จะให้ผู้เอาประกันภัยปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่นำหลักฐานมาแสดงเพื่อพิสูจน์ว่า ผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดอุบัติเหตุได้รับอนุญาตขับรถยนต์ถูกต้องตามกฎหมาย
of 2