คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องเพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7706/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินก่อนเสียชีวิต ไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิฟ้องเพิกถอนจึงไม่เกิด
ที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก) เมื่อ ม. เจ้ามรดกเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ม. จึงมีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ ม. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 และต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดเป็นการโอนไปซึ่งการครอบครองให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว ม. ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอีกต่อไป เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของ ม. การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็นการขายทรัพย์มรดกของ ม. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ทั้งไม่อาจกำจัดมิให้จำเลยที่ 1 ได้รับมรดกของ ม. ฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
โจทก์ตั้งประเด็นมาในฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก กำจัดจำเลยที่ 1 มิให้รับมรดกและเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยมิได้ฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทในฐานะโจทก์เป็นเจ้าของ ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนการโอนในฐานะโจทก์เป็นเจ้าของไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 จึงพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ไม่ถูกต้อง การฟ้องต้องรวมคู่ความทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
ก่อนฟ้องโจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. กับธนาคารได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องกัน ผู้โต้แย้งสิทธิและผู้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตามฟ้องนอกจากจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินแล้วยังมี ส. และธนาคาร แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเท่านั้น และมิได้เรียก ส. และธนาคารเข้ามาเป็นคู่ความด้วย การที่โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งการจดทะเบียนจำนองที่ดินอันเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า: ไม่มีกำหนดระยะเวลา 90 วันในการฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน การใช้สิทธิทางศาล ในกรณี เช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใด บัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดี ภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาให้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าไม่มีกำหนดระยะเวลาฟ้องที่แน่นอน ศาลฎีกายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน การใช้สิทธิทางศาล ในกรณี เช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใด บัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาให้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมหนังสือมอบอำนาจเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะและมีอำนาจฟ้องเพิกถอนได้
จำเลยนำแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์เพียงลงลายมือชื่อไว้ไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของโจทก์ให้แก่จำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหนังสือมอบอำนาจจึงเป็นเอกสารปลอม นิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์จะทำนิติกรรมนั้น นิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยดังกล่าวได้
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโดยทำหนังสือมอบอำนาจปลอมแล้วนำไปดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 57(2)
ผู้ที่จะขอเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ซึ่งหมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายจะเป็นผลไปถึงตนโดยจะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น มีกรรมการเป็นผู้จัดการแทน หากโจทก์ชนะคดี ต้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย ผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีก็คือจำเลยโดยกรรมการของจำเลยผู้ถือหุ้นหาได้มีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาที่โจทก์ขอบังคับด้วยไม่ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยยังคงมีอยู่โดยสมบูรณ์เช่นเดิม ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามความหมายของมาตรา 57 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส ฟ้องเกิน 10 ปี ขาดอายุความ
ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจในการจัดการ รวมทั้งอำนาจจำหน่ายสินสมรสอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไป การที่จำเลยที่ 1 ได้ยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้กระทำเมื่อใช้บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ ซึ่งเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จึงต้องนำบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 มาใช้บังคับตามมาตรา 4 นิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำลงเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 จึงเป็นการฟ้องหลังจากพ้นสิบปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน สินสมรส และการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโดยผู้จัดการสินสมรส
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท แทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือ สินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หาโจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิม นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้ จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้ คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวน ไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็น คู่ความด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด: สิทธิในการโอน และข้อจำกัดในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ ตามที่โจทก์อ้างว่าผู้แทนของจำเลยที่ 1 รับรองว่าจะขายให้โจทก์ในภายหลัง แต่ได้ขายให้จำเลยที่ 2และที่ 3 กรณีหาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อเข้าแสดงเจตนาทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 1 ไม่ เพราะไม่มีนิติกรรมใดที่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้หลอกลวงโจทก์ให้แสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลที่จะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 121 เดิม และมาตรา 124 (เดิม)
ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่พิพาท ทำให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่พิพาทในราคาต่ำกว่าราคาเป็นจริงหลายเท่าตัวนั้นหากโจทก์เห็นว่า การขายทอดตลาดที่พิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบโจทก์ต้องไปว่ากล่าวในคดีก่อนเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2และที่ 3 ต่อไปได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้
of 3