คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่ม: เงินเพิ่มไม่ใช่ดอกเบี้ย, ปลดเปลื้องหนี้ค่าอากรที่มีภาระเงินเพิ่มก่อน
จำเลยนำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยสำแดงว่าเป็นสินค้าที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี และขอวางหนังสือค้ำประกันการชำระค่าอากรขาเข้า เมื่อครบกำหนดจำเลยมิได้นำสินค้ามาผลิตเพื่อส่งออก โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าอากรมาชำระแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงทวงถามไปยังธนาคาร ก. ผู้ค้ำประกันการชำระค่าอากรขาเข้าของจำเลย ซึ่งธนาคารได้นำเงินมาชำระตามที่ได้ค้ำประกันไว้ ต่อมาเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจพบว่าสินค้ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้า จึงคำนวณค่าภาษีอากรใหม่พร้อมเงินเพิ่มแต่การที่โจทก์นำเงินค้ำประกันไปหักชำระเงินเพิ่มก่อนนั้นไม่ชอบ เพราะเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา มิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้ค่าอากรเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย ต้องได้รับปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ภาษีและเงินเพิ่ม: ปลดเปลื้องหนี้ภาษีที่มีภาระเงินเพิ่มก่อน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ กับเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากรฯ และเงินเพิ่มภาษีส่วนท้องถิ่น มิใช่ดอกเบี้ยหรือค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวหาใช่บทกฎหมายใกล้เคียงที่จะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ กรณีเป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย ในระหว่างหนี้สินหลายรายที่มีประกันเท่าๆ กัน ให้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้เป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ เพราะมีภาระเงินเพิ่มตามกฎหมาย หนี้ค่าภาษีย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยสุจริตของผู้ซื้อฝาก แม้เจ้าของที่ดินมีข้อตกลงกับผู้ขายฝากก่อนหน้า ผู้ซื้อฝากไม่ต้องรับภาระ
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก. ต่อมาจำเลยที่ 2เป็นผู้รับซื้อมาฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2585/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยร่วมกระทำผิดฐานพนัน ศาลฎีกาพิจารณาความเสมอภาคในการลงโทษโดยคำนึงถึงเหตุบรรเทาโทษและภาระ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดฐานเดียวกัน ลักษณะของความผิดไม่เป็นการกระทำรายใหญ่ พฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นการร้ายแรงที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 โดยไม่รอการลงโทษ แตกต่างจากจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฎเหตุผลพิเศษ จึงไม่ถูกต้อง ผู้กระทำผิดด้วยกันควรรับโทษหนักเบาเท่าเทียมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรไม่เลี้ยงดูผู้ให้ แม้ผู้ให้ไม่ยากไร้และบุตรมีภาระอื่น
โจทก์ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้เงินเดือนเพียง 600 บาท มีบุตร 1 คน ต้องเลี้ยงดู ที่ดินที่ได้รับการยกให้จำเลยก็มอบให้ ก. ทำกิน โดย ก. นำข้าวที่ได้แบ่งไปเลี้ยงดูโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะเป็นบุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์แต่มิได้อยู่เลี้ยงดูโดยไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การกำหนดแนวทางจดทะเบียนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์และไม่เพิ่มภาระ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์เดินออกสู่ถนนมีความกว้าง 2 เมตร ตามแนวเส้นสีแดงในแผนที่ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่ามีความกว้าง 6 เมตร โดยไม่ได้ระบุตำแหน่งทางภารจำยอมที่แน่นอน ดังนี้ แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนจะต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้เดินได้โดยไม่มีการขัดขวาง เมื่อจำเลยเลือกจดทะเบียนภารจำยอมบนแนวฟุตบาทบางส่วนและบนถนนบางส่วนโดยมีเสาไฟฟ้าและซุ้ม ต้นไม้บนฟุตบาท บางตอนโจทก์ใช้เดินไม่ได้ต้องลงไปเดินบนถนน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ย้ายไปจดทะเบียนภารจำยอมบนถนนที่ใช้เดินได้โดยเริ่มจากขอบถนนออกไป 2 เมตรซึ่งยังอยู่ภายในแนวเส้นสีแดงได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเพิ่มภาระ แก่ภารยทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376-2378/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ หากสิทธิในสัญญามีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ
การที่ผู้ร้องกับพวกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 ผู้ร้องกับพวกคงค้างชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 506,370 บาท จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้โอนที่ดินให้ผู้ร้องกับพวก แต่ กลับนำที่ดินตาม สัญญาดังกล่าวและที่ดินอื่นรวม 31 โฉนด ไปจำนองบริษัท ส. จำกัด ในวงเงิน8,000,000 บาท ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด บริษัท ส. จำกัด ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน โดย ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองและขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้จำนวนที่ขาดจากยอดหนี้10,589,687.88 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) ดังนี้ เมื่อสิทธิตาม สัญญาที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องกับพวกเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตาม สัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตาม สัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตาม สัญญานั้นโดย บอกเลิกสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องกับพวกได้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: สิทธิการบำรุงรักษาทางภารจำยอม และขอบเขตการกระทำที่ไม่เกินภาระ
โจทก์จำเลยยอมรับกันว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์แต่ตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินและบ้านของจำเลยและมารดาจำเลยจำเลยทำทางระบายน้ำในถนนพิพาทเพื่อมิให้น้ำท่วมถนนและไม่ให้น้ำบนถนนไหลเข้าบ้านจำเลยคงต่อสู้กันเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิทำท่อระบายน้ำบนถนนพิพาทหรือไม่เช่นนี้คงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมหรือไม่เท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นเป็นการนอกเหนือไปจากที่คู่ความตกลงต่อสู้กันไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากเหตุเครื่องบินชนเสียชีวิต ศาลพิจารณาความสามารถรายได้ และภาระผู้รับอุปการะ
บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. วันเกิดเหตุ อ. โดยสารเครื่องบินของจำเลยที่ 1 มา และนักบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างโดยประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังบินต่ำเกินไปก่อนถึงสนามเป็นเหตุให้เครื่องบินชนโรงงานและ อ. เสียชีวิตเป็นเหตุให้โจทก์ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย ดังนี้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม
รายได้ปกติของสามีโจทก์ประมาณเดือนละ 45,000 บาท มีบุตรเกิดจากภรรยาเดิมที่จะต้องรับอุปการะเลี้ยงดู 1 คน และอาจมีบิดามารดาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูอยู่อีกโจทก์เองไม่มีบุตรกับสามี ศาลกำหนดค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เดือนละ 15,000 บาท แต่ให้ได้รับคราวเดียวเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งโจทก์อาจนำเงินนี้ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มั่นคงเช่นฝากธนาคาร ก็จะได้ดอกเบี้ยตลอดไปไม่น้อยกว่ารายได้แต่ละเดือนที่โจทก์ควรจะได้จากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุพการี: พิจารณาความสามารถผู้รับและผู้ให้, รายได้, และภาระอื่นๆ
จำเลยเป็นบุตรโจทก์กับ อ. ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกันโจทก์มีสายตาไม่เป็นปกติ มองเห็นเพียงราง ๆ มิได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้จึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ควรได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แต่รายได้จากมรดกที่รับจาก อ. เป็นค่าเช่าซึ่งเพียงพอสำหรับการศึกษา และค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น เงินส่วนแบ่งที่ได้จากการขาย ที่ดินมรดก จำเลยก็ให้โจทก์ ไปส่วนหนึ่งก่อนฟ้องแล้ว โจทก์ยังมี บิดามารดาและบุตรที่เกิดจากสามีโจทก์ซึ่งคนโตก็บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งก่อนมาอยู่ กรุงเทพฯ โจทก์ก็พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เมื่อคำนึงถึงความสามารถของจำเลยซึ่งมีส่วนในการที่จะต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูฐานะของโจทก์ และพฤติการณ์แห่งกรณีแล้วจำเลยได้ให้การอุปการะ เลี้ยงดูแก่โจทก์ในส่วนของจำเลยเป็น การเพียงพอแก่อัตภาพในปัจจุบันแล้ว
of 2