คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีโรงเรือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 283 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีรถไฟได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินเนื่องจากใช้ในกิจการของรถไฟโดยตรง ศาลสั่งคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โรงเรือนและที่ดินซึ่งเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่ลาดกระบังเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์ได้รับสัมปทานดำเนินกิจการจากการรถไฟแห่งประเทศไทย การดำเนินกิจการดังกล่าวเชื่อมต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ที่ใช้บริการ การดำเนินกิจการของสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของโจทก์จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟคือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 (2) และมาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ดังนั้น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องตามฟ้องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่ได้ชำระแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยไป โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 26 ที่จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5961/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีขนส่งสัมปทาน การรถไฟฯ ได้รับยกเว้นภาษี
โจทก์เป็นบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีอากรตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย คดีของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและแก้คำชี้ขาดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นคดีพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อมูลผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการประเมินกับการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรที่จะพิจารณาพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธิพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (4) มิใช่มาตรา 7 (1) โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลภาษีอากร
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้เรียกเก็บค่าภาษีจากทรัพย์สินของราษฎรซึ่งเป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 9 ก็บัญญัติให้ยกเว้นทรัพย์สินจากบทบัญญัติดังกล่าวคือ (2) ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการการรถไฟโดยตรง เมื่อปรากฏว่ากิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ได้รับสัมปทานเป็นกิจการเพื่อการรับขนส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และของอื่นๆ ซึ่งเป็นกิจการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่างๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ที่ให้ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟตามความใน พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 6 (2) และ 9 (7) โรงเรือนที่พิพาทในคดีนี้ ซึ่งเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่โจทก์ได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ประกอบการ จึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรงตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความที่เกี่ยวข้องยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5961/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานีบรรจุสินค้าของการรถไฟฯ การยกเว้นภาษีและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์เป็นบุคคลผู้พึ่งชำระค่าภาษีอากร ตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาสัมปทานระหว่างโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และคดีของโจทก์มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรที่จะพิจารณาพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 7 (4) (ตามคำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาที่ ภษ.9/2545 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2545)
กิจการบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ได้รับสัมปทาน เป็นกิจการเพื่อรับส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์และของอื่นๆ ซึ่งเป็นกิจการที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่างๆ ภายในขอบของวัตถุประสงค์ที่ให้ดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย มาตรา 6 (2) และ 9 (7) โรงเรือนพิพาท ซึ่งเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องสถานี เอ. ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งโจทก์ได้รับสัมปทานให้เป็นผู้ประกอบการ เป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรงตามมาตรา 9 (2) แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีดังกล่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย การประเมินของจำเลยและคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 17.
(ซ้ำฎีกาที่ 8174 - 8178/2548(ป))

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การประเมินภาษี, สิทธิในการโต้แย้ง, การยื่นคำร้อง
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และมิได้ชำระค่าภาษีตามการประเมินดังกล่าวภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินดังกล่าว จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีโรงเรือนประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีขนส่งสินค้าได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากเกี่ยวข้องกับการขนส่งของรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมโยงต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือแหลมฉบัง โดยผู้ดำเนินการที่สถานีนี้จะทำหน้าที่ขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำสินค้าที่จะต้องส่งไปต่างประเทศโดยทางเรือมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ที่ใช้บริการ เป็นการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟคือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 (2) และ มาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องตามฟ้องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ มาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์เป็นผู้รับเหมาสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทาน โดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีจำนวนดังกล่าวไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และมีอำนาจฟ้องศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นมิได้เป็นผู้รับเงินค่าภาษีจากโจทก์ ทั้งการแจ้งประเมินและการแจ้งคำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อแจ้งประเมิน, การไม่อุทธรณ์ทำให้สิ้นสิทธิโต้แย้ง
จำเลยได้รับการแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระต่อพนักงานเก็บภาษีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการแจ้งประเมิน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 และมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 และ 2536 ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระแล้ว ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 และ 2536 จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยุ่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจกฎหมายกำหนดวิธีการให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน หากจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปในชั้นการประเมินแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดที่ใช้เป็นที่พักระหว่างเดินทาง แม้ไม่ได้ใช้เป็นประจำ
โจทก์และ ป. ร่วมกันซื้อห้องชุดพิพาทและใช้เป็นที่พักระหว่างที่เดินทางมากรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะมิได้ใช้เป็นที่พักประจำเพียงแต่ใช้เป็นครั้งคราว ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีเจ้าของอยู่เอง อันได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์และ ป. ให้ ส. เข้าอยู่เป็นการเฝ้ารักษาห้องชุดพิพาทหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์และการยกเว้นภาษีสำหรับผู้แทน
โรงเรือนพิพาทของโจทก์เป็นตึกแถว 2 คูหา 4 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ได้ชัดเจน ดังนั้น ค่ารายปีที่จะนำมาคำนวณเป็นภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงสามารถคำนวณได้จากพื้นที่ของแต่ละส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์ได้ และส่วนใดจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ นั้น จะต้องพิจารณาเป็นส่วนๆ ไป
การที่โจทก์ให้ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์เข้าพักที่ชั้น 2 และ 3 ของอาคารนี้ พร้อมครอบครัวเป็นการพักอาศัยมิใช่กรณีเจ้าของอยู่เองเพราะโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเจ้าของอาคาร และการเข้าพักพร้อมครอบครัวเป็นการพักอาศัยมิใช่เป็นการอยู่โดยโจทก์ให้อยู่เฝ้ารักษาอาคารตามความหมายในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีโรงเรือนสำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และการพิจารณาการยกเว้นภาษีสำหรับผู้แทนที่พักอาศัย
โรงเรือนพิพาทของโจทก์เป็นตึกแถว 2 คูหา 4 ชั้น โจทก์นำตึกแถวชั้นที่ 1 ให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า ส่วนชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 โจทก์ให้ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์พักอาศัย ส่วนชั้นที่ 4 ปิดไม่ได้ทำประโยชน์ ค่ารายปีที่จะนำมาคำนวณเป็นภาษีโรงเรือนจึงสามารถคำนวณได้จากพื้นที่ของแต่ละส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์ได้ และส่วนใดจะได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 นั้น จะต้องพิจารณาเป็นส่วน ๆ ไป การที่ ว. ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์อยู่ในอาคารนี้จึงเป็นการพักอาศัยมิใช่เป็นการอยู่โดยโจทก์ให้อยู่เฝ้ารักษา เพราะการอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายแห่งมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะต้องเป็นการอยู่เฝ้าจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการพักอาศัยอยู่กับครอบครัว เมื่อการอยู่ของ ว. ไม่ใช่การอยู่เฝ้ารักษา โจทก์จึงไม่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38
of 29