พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคำขอเรียกทายาทเป็นคู่ความหลังจำเลยมรณะ และการพิจารณาเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีตาม ป.วิ.พ.
จำเลยมรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 43 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำขอของโจทก์จึงถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกาเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็หามีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเลื่อนการไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้รวลรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาก็ต้องถือว่าฎีกาของผู้คัดค้านเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคสอง มิใช่เป็นบทบังคับศาลให้ต้องจำหน่ายคดีเสมอไป และตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิขอให้เรียกบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่คู่ความมรณะได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีแล้วก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคสอง มิใช่เป็นบทบังคับศาลให้ต้องจำหน่ายคดีเสมอไป และตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิขอให้เรียกบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่คู่ความมรณะได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7474/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นทายาทและการขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตามลำดับทายาทโดยธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ โดยระบุว่าผู้ร้องเป็นน้องต่างมารดากับโจทก์ ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ดังนี้ผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม อันดับที่ 4 เมื่อผู้ร้องรับว่าผู้เป็นทายาทโดยธรรมอันดับที่ 3 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของโจทก์ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองข้ามมรณะ: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความตามบทเว้นวรรคในประมวลกฎหมายแพ่ง
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม จะห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติยกเว้นไว้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 และมาตรา 745 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับชำระหนี้เกินกว่า1 ปี นับแต่ผู้ร้องรู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของเจ้าของมรดก ผู้ร้องก็ยังคงมีสิทธิบังคับจำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7101/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่มรณะก่อนมีคำพิพากษา และการที่สิทธิ/หน้าที่เป็นเรื่องเฉพาะตัว
จำเลยที่ 3 ถึงแก่มรณะก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการศึกษาของโรงเรียน บ. มิให้รบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์และคัดค้านการออกเอกสารสิทธิในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 โดยแท้ ไม่อาจให้บุคคลอื่นเข้าเป็นคู่ความแทนได้ ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะโอนที่ดินหลังมรณะ: สิทธิครอบครองของผู้ครอบครองเดิมและการบังคับตามสัญญา
โจทก์เป็นภริยาของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นของตนเองตลอดมา จำเลยซึ่งเป็นพี่ของ บ. มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย ต่อมาโจทก์ต้องการเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนให้ถูกต้อง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์กับ บ. มิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงแนะนำให้โจทก์ไปตามจำเลยมาขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาทของ บ. แล้วให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเพราะขณะนั้นที่ดินพิพาทไม่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. แล้ว การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาว่าจะให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อนไปจดทะเบียนโอนมรดกจึงมิใช่สัญญาจะให้ที่ดิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่งที่ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำขอรับมรดกที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นการดำเนินการตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์นั่นเอง จำเลยต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7442/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.42 ก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมแสดงว่าศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับความมรณะของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของมรณะก่อนมีคำพิพากษา: คำพิพากษาเรื่องความสามารถของบุคคลเป็นโมฆะเมื่อผู้ถูกพิจารณาเสียชีวิตก่อน
เมื่อ ถึง วันนัด ฟัง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ไม่ไป ศาล ศาลชั้นต้น จึง งด อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ซึ่ง พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ ให้ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง และ ถือว่า ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทราบ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แล้ว ต่อมา ผู้คัดค้าน โดย นาย ผู้คัดค้าน ยื่นฎีกา พร้อม กับ คำร้องขอ ให้ ไต่สวน และ มี คำสั่ง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ไป แล้ว และ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง รับ ฎีกา แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ปรากฎ ข้อเท็จจริง ว่า ผู้คัดค้าน ถึงแก่กรรม ก่อน ที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ คดี เป็น เรื่อง เฉพาะตัว ของ ผู้คัดค้าน จะ รับมรดก ความ กัน ไม่ได้ เช่นนี้ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ ผู้คัดค้าน เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ และ อยู่ ใน ความ พิทักษ์ ของ ผู้ร้อง จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ให้ยก คำร้องขอ ของ ผู้ร้อง ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4376/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของมรณะของโจทก์ระหว่างพิจารณาคดี และการบังคับคดีชำระหนี้ด้วยการโอนทรัพย์สิน
แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโดยไม่มีทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42 วรรคสองให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบความได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงมาสู่ศาลว่าคู่ความได้มรณะลงระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น คดีนี้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมาสู่สำนวนศาลระหว่างคดีค้างพิจารณาของศาลฎีกาว่าโจทก์ถึงแก่กรรม ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาและได้อ่านให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลย จำเลยจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและจำหน่ายคดีจากสารบบความมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายเวลาอุทธรณ์หลังจำเลยมรณะ: ศาลต้องพิจารณาการเป็นคู่ความแทนก่อน
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว.บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว.ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าว เมื่อขณะที่ ว.ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์ว.จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42และ 43 เสียก่อนมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้ ว.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะหลังครบกำหนดอุทธรณ์ และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความ
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว. บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว. ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าวเมื่อขณะที่ ว. ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ว. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ แทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้น รับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็น คู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 43 เสียก่อน มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อน มีคำสั่งอนุญาตให้ ว. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ