พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7970/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้รับประกันภัย, สัญญาประนีประนอม, การมอบอำนาจ, ความรับผิดของตัวแทน, การสูญหายของสินค้า
เมื่อผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวติดต่อส่งสินค้ากับจำเลยทั้งสองมาเป็นเวลานาน ผู้ส่งสินค้าย่อมมีโอกาสตรวจดูเงื่อนไขข้อตกลงตามใบรับขนทางอากาศและทราบถึงเงื่อนไขข้อตกลงดังกล่าว และยังได้ความจากถ้อยคำของ ป. พยานจำเลยทั้งสองว่า พนักงานของจำเลยที่ 2 ได้อธิบายให้พนักงานของบริษัท อ. ทราบในหลายโอกาสว่าในใบรับขนทางอากาศด้านหลังมีข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอยู่ ประกอบกับตามใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย จ.3 จ.7 จ.11 จ.15 และ จ.19 ในช่องหมายเลข 10 ซึ่งฝ่ายผู้ส่งสินค้าได้ลงชื่อไว้ในฐานะผู้ส่งสินค้ามีข้อความว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงตามเงื่อนไขสัญญาที่ปรากฏอยู่ด้านหลังของใบรับขนทางอากาศนี้ แสดงว่าผู้ส่งได้รับทราบและยอมตกลงตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ปรากฏอยู่ด้านหลังของใบรับขนทางอากาศดังกล่าว นอกจากนี้ตามใบรับขนส่งทางอากาศ เอกสารหมาย จ.3 ก็ปรากฏว่าบริษัท อ. ผู้ส่งตกลงเลือกส่งสินค้าแบบไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง โดยมีการแจ้งน้ำหนักสินค้า จึงมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนักสินค้าที่แจ้งเท่านั้น ส่วนในการขนส่งสินค้าของผู้ส่งสินค้าอีก 4 รายที่เหลือก็ปรากฏตามใบรับขนทางอากาศเอกสารหมาย จ.7 จ.11 จ.15 และ จ.19 ว่าผู้ส่งตกลงเลือกส่งสินค้าแบบแจ้งมูลค่าเพื่อการขนส่ง ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าผู้ส่งสินค้าดังกล่าวทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศดังกล่าว ดังนั้น จึงรับฟังได้ว่าผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าว
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับในข้อเท็จจริงดังกล่าว กรณีจึงรับฟังได้ว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งตามฟ้อง ซึ่งตามเงื่อนไขด้านหลังใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย ล.5 กรณีนี้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อบริษัท บ. และบริษัท ก. ผู้ส่งได้บอกราคาแห่งของในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งว่ามีราคารายละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดและความรับผิดของจำเลยทั้งสองก็ย่อมจำกัดเพียงไม่เกินราคาที่บอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ส่วนสินค้ารายผู้ส่ง คือ บริษัท อ. นั้น ตามใบรับขนทางอากาศสินค้ารายนื้เอกสารหมาย จ.3 ในช่องมูลค่าสำแดงเพื่อการขนส่งไม่ได้ระบุราคาสินค้าไว้ว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างใด ฉะนั้น จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้ารายนี้เป็นเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,404 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคสอง ได้ แต่เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ส่งสินค้าได้บอกถึงสภาพของสินค้าไว้ในขณะที่ส่งมอบให้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งแล้ว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โดยในข้อนี้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาสินค้า
แม้ตัวแทนทำการเกินอำนาจ แต่ทางปฏิบัติของตัวการย่อมทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนเช่นนี้ ตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าผู้ส่งสินค้าทั้งห้ารายดังกล่าวได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับในข้อเท็จจริงดังกล่าว กรณีจึงรับฟังได้ว่าสินค้าทั้ง 5 รายการ สูญหายไปเพราะการทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งตามฟ้อง ซึ่งตามเงื่อนไขด้านหลังใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย ล.5 กรณีนี้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อบริษัท บ. และบริษัท ก. ผู้ส่งได้บอกราคาแห่งของในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งว่ามีราคารายละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดและความรับผิดของจำเลยทั้งสองก็ย่อมจำกัดเพียงไม่เกินราคาที่บอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ส่วนสินค้ารายผู้ส่ง คือ บริษัท อ. นั้น ตามใบรับขนทางอากาศสินค้ารายนื้เอกสารหมาย จ.3 ในช่องมูลค่าสำแดงเพื่อการขนส่งไม่ได้ระบุราคาสินค้าไว้ว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างใด ฉะนั้น จึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้ารายนี้เป็นเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,404 บาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคสอง ได้ แต่เรื่องนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ส่งสินค้าได้บอกถึงสภาพของสินค้าไว้ในขณะที่ส่งมอบให้จำเลยทั้งสองผู้ขนส่งแล้ว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โดยในข้อนี้โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งแต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้ดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามราคาสินค้า
แม้ตัวแทนทำการเกินอำนาจ แต่ทางปฏิบัติของตัวการย่อมทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนเช่นนี้ ตัวการย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจต่อเนื่องครบถ้วนทุกทอด
แม้โจทก์จะมีหนังสือมอบอำนาจของบริษัท จ. ผู้เสียหาย มาเป็นหลักฐานว่าผู้เสียหายมอบอำนาจทอดที่ 1 ให้ ค. เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทนและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงในทอดที่ 2 ให้บริษัท พ. ดำเนินคดีแทน กับระบุให้บริษัท พ. มอบอำนาจช่วงในทอดที่ 3 ให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนได้ กับมีหนังสือมอบอำนาจของบริษัท พ. มาเป็นหลักฐานว่าบริษัท พ. ได้มอบอำนาจในทอดที่ 3 ให้ ณ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแทนผู้เสียหายได้ก็ตาม แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจในทอดที่ 2 จาก ค. ว่า ค. ได้มอบอำนาจให้บริษัท พ. หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดดำเนินคดีนี้แทนผู้เสียหาย แม้โจทก์จะมี ณ. มาให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนว่า ตนได้รับมอบอำนาจจากบริษัท พ. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ค. ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของผู้มอบอำนาจในทอดที่ 3 เท่านั้นไม่ใช่หลักฐานการมอบอำนาจในทอดที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้ว่า ค. ได้มอบอำนาจในทอดที่ 2 ให้แก่บริษัท พ. ดำเนินคดีนี้แทน ดังนั้น ณ. ซึ่งได้รับมอบอำนาจช่วงจากบริษัท พ. จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบ อันเป็นผลให้การฟ้องคดีของโจทก์ไม่ชอบไปด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง, 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้ทรงเช็ค
จำเลยและ ป. ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากบริษัท ร. ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นกรรมการ เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับแม้จะเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ซื้อ แต่เป็นเช็คที่จำเลยและ ป. ร่วมกันออกเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่บริษัท ร. มิใช่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมเป็นส่วนตัว บริษัท ร. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท แม้โจทก์ร่วมจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ร. โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวก็ไม่อยู่ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาท และมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4942/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การแต่งตั้งผู้จัดการและการมอบอำนาจตามกฎหมายอาคารชุด
โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดได้แต่งตั้งให้บริษัท ก. เป็นผู้จัดการ บริษัท ก. ได้แต่งตั้งให้ บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนในฐานะผู้จัดการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสอง บ. ย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ด้วยตามมาตรา 36 (3) ทั้งมีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีตามข้อบังคับของโจทก์ที่ระบุให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการของนิติบุคคลอาคารชุด บ. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและอำนาจช่วง: การคำนวณค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนผู้รับมอบและลักษณะการมอบอำนาจ
โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลที่มีรายชื่อในกลุ่ม ก. คนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน ลงลายมือชื่อหรือบุคคลที่มีรายชื่อในกลุ่ม ข. 2 คน ในจำนวน 8 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำกิจการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึงข้อ 5 ได้แก่ ยื่นคำฟ้อง ดำเนินคดีทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย แจ้งความร้องทุกข์ รับเงินหรือทรัพย์สิน รวมทั้งให้มอบอำนาจช่วงแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจให้บุคคลในกลุ่ม ก. เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ค) ส่วนการมอบอำนาจให้บุคคลในกลุ่ม ข. เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข)
การมอบอำนาจช่วงให้บุคคลที่มีรายชื่อคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งที่รวมทั้งมีอำนาจมีรับเงินหรือเอกสารและอื่นๆ ได้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ก)
การมอบอำนาจช่วงให้บุคคลที่มีรายชื่อคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งที่รวมทั้งมีอำนาจมีรับเงินหรือเอกสารและอื่นๆ ได้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฟ้องคดีแทนโจทก์: การมอบอำนาจช่วงและข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขายที่ดิน และการซื้อขายที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เข้าข่ายฉ้อฉล
แม้จำเลยทั้งสามมิได้ระบุเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 เป็นพยานหลักฐานแต่ได้ใช้เอกสารเหล่านั้นประกอบการถามค้านโจทก์ที่ 1 ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับเงินที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้วตามใบรับฝากเงินเอกสารหมาย ล.1 ทั้งโจทก์ที่ 1 เองก็เบิกความรับรองเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 โดยยืนยันว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับหลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย ล.2 และ ล.3 จำเลยที่ 1 จึงอ้างเอกสารเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 แม้เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 มิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานและส่งสำเนาให้โจทก์ทั้งสอง ก็หาต้องห้ามมิให้รับฟังเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด
โจทก์ทั้งสองได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสองและทราบดีว่าเมื่อจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จะต้องจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้เงินที่จำเลยที่ 3 กู้ยืมสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระค่าที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในขอบอำนาจที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ไว้ หาใช่ร่วมกันสมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
โจทก์ทั้งสองได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสองและทราบดีว่าเมื่อจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จะต้องจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้เงินที่จำเลยที่ 3 กู้ยืมสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระค่าที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในขอบอำนาจที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ไว้ หาใช่ร่วมกันสมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการพิสูจน์ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยพยานหลักฐาน
ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ ค. มอบอำนาจช่วงให้ ท. มีอำนาจร้องทุกข์แทนมีข้อความว่า เพื่อให้มีอำนาจดำเนินการแทน "ผู้มอบอำนาจ" ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับหนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นระหว่างผู้เสียหายกับ ค. แล้ว ก็ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่า ผู้เสียหายเป็น "ผู้มอบอำนาจ" และ ค. เป็น "ผู้รับมอบอำนาจ" ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้เสียหายได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่ จึงต้องพิจารณาทั้งหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงประกอบกันมิใช่พิจารณาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับเดียว เมื่อ ท. แจ้งความร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย มิใช่ร้องทุกข์แทน ค. เป็นการส่วนตัว การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ของผู้เสียหายจึงชอบด้วยกฎมหาย และถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำซ้ำงานเพลงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจยึดมามิใช่ของจำเลยที่ขายไป โจทก์ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวหามาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำซ้ำงานเพลงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจยึดมามิใช่ของจำเลยที่ขายไป โจทก์ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวหามาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีแทน และสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุด มี ส. เป็นผู้จัดการ ส. จึงมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสอง ประกอบมาตรา 36 (3) เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราของโจทก์มอบอำนาจให้ ท. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ถือว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ท. ดำเนินคดีแทนโจทก์ แม้การมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือมีมติของที่ประชุมเจ้าของร่วมให้กระทำได้ แต่การฟ้องคดีมิใช่เรื่องการปฏิบัติกิจการในหน้าที่ซึ่งผู้จัดการต้องกระทำด้วยตนเองตาม พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 36 วรรคท้าย ท. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางและให้มีอำนาจกระทำการใดเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยออกข้อบังคับกำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระเงินให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย โดยในมาตรา 40 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางและบริการทั่วไปแก่เจ้าของร่วมกรณีหนึ่ง กับในมาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดที่เกิดจากบริการส่วนรวม และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าจ้างคนงาน พนักงานทำความสะอาด ยามรักษาการ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการ พนักงานลูกจ้างต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 โดยเฉพาะค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการและพนักงานลูกจ้างจะเป็นบทบังคับเด็ดขาดตามกฎหมายและไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม เป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด นอกจากต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของโจทก์ซึ่งผู้จัดการคนเดิมเคยเรียกเก็บและจำเลยได้ชำระมาแล้ว จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเป็นเงินคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่
พ.ร.บ. อาคารชุด ฯ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางและให้มีอำนาจกระทำการใดเพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยออกข้อบังคับกำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระเงินให้นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดำเนินกิจการของนิติบุคคลอาคารชุดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย โดยในมาตรา 40 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจัดตั้งกองทุนให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดูแลบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลางและบริการทั่วไปแก่เจ้าของร่วมกรณีหนึ่ง กับในมาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดที่เกิดจากบริการส่วนรวม และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ค่าจ้างคนงาน พนักงานทำความสะอาด ยามรักษาการ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการ พนักงานลูกจ้างต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ตามสัดส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 โดยเฉพาะค่าภาษีอากร เงินเดือนของผู้จัดการและพนักงานลูกจ้างจะเป็นบทบังคับเด็ดขาดตามกฎหมายและไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม เป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด นอกจากต้องชำระเงินจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ในทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ ตามมาตรา 18 และข้อบังคับของโจทก์ซึ่งผู้จัดการคนเดิมเคยเรียกเก็บและจำเลยได้ชำระมาแล้ว จำเลยจะอ้างว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมใหญ่หาได้ไม่ เพราะเป็นเงินคนละจำนวนกับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 40 จึงไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสาบานตัวเพื่อดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องทำด้วยตนเอง ห้ามมอบอำนาจ
ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กำหนดให้ผู้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาต้องสาบานตัวด้วยตนเอง จึงมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาสาบานตัวแทนไม่ได้