พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุจากประเด็นไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ แต่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อโจทก์หรือไม่และเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อปลอมจึงพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอมหรือไม่ เมื่อปัญหาว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปใช้โดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ไม่เป็นประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะต้องวินิจฉัย ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคแรก กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้มีเหตุจำเป็นก็ไม่อาจใช้ข้อ ยกเว้นมาตรา 249 วรรคสองได้
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองมิได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยฎีกาถึงการชำระหนี้อีกจำนวนหนึ่งว่า โจทก์กับจำเลยตกลงให้ ส. ทำหลักฐานการชำระเงินและโจทก์จำเลยได้ลงชื่อแล้วมอบให้ ส. เก็บรักษาไว้ แต่ในชั้นสืบพยานจำเลยกลับปรากฏจากการนำสืบว่าจำเลยไปพบกับ ส. และมีการชำระเงินสดและทำหลักฐานการรับเงินเอาไว้โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปร่วมรับชำระหนี้และลงลายมือชื่อไว้ในใบรับเงินด้วย ดังเช่นข้อความในฎีกาของจำเลย ดังนั้น ฎีกาจำเลยจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นมาใหม่ในชั้นฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5906/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุข้อเท็จจริงใหม่ & ข้อกฎหมายที่ศาลล่างมิได้วินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์จริงหรือไม่จำเลยมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้องและศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยพร้อมทั้งมอบสิทธิการครอบครองให้แก่โจทก์จริงมิใช่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์แล้วมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ยดังที่จำเลยต่อสู้จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกของบิดามารดาจำเลยซึ่งมีบุตร6คนจำเลยจึงไม่มีอำนาจขายที่พิพาทให้แก่โจทก์หากจำเลยขายที่พิพาทก็จะต้องถูกกำจัดไม่ให้ได้รับมรดกและนายใหญ่อาจสูงเนิน เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโจทก์ไม่มีสิทธิในที่พิพาทไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่าที่พิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานทางทะเบียนจำเลยขายให้โจทก์โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายตกเป็นโมฆะนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค1มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวฎีกาจำเลยจึงมิได้โต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่วินิจฉัยปัญหาที่จำเลยยกขึ้นฎีกานั้นไม่ชอบเพราะเหตุและจะมีผลอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกประเด็นข้อพิพาทเดิม และข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าโจทก์คิด ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศไว้มิได้ให้การถึงการคิดดอกเบี้ยทบต้นและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเบิกกันเมื่อใดศาลชั้นต้นจึงมิได้กำหนดให้เป็น ประเด็นข้อพิพาทและที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดอกเบี้ยทบต้นก็เกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้นดังนั้นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้ให้การไว้และศาลอุทธรณ์ภาค1ยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง กรณีจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน
ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องจำเลยได้สิทธิครอบครอง และโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยพอใจในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงประเด็นเดียว แม้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้จริงดังที่จำเลยฎีกาก็ถือว่าจำเลยสละประเด็นเรื่องจำเลยได้สิทธิครอบครองและโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้ว เท่ากับว่าประเด็นนี้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ฎีกาจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248-249 เหตุจากข้อเท็จจริงเดิม และฟ้องไม่เคลือบคลุม
อาคารพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่แม้โจทก์จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าแม้อาคารพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าแต่ก็เป็นอาคารที่ก่อสร้างมานาน จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 10,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท สูงเกินไปเพราะเป็นตึกเก่าอย่างมากคิดได้เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปรากฎจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราชแขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปี โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากประเด็นที่ยกขึ้นในชั้นฎีกา ไม่เคยถูกวินิจฉัยในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ที่โจทก์ฎีกาว่า ปลัดอำเภอไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง เจ้ามรดกไม่มีเจตนาทำพินัยกรรม พินัยกรรมจึงเป็นโมฆะนั้น แม้โจทก์จะได้เคยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ เพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งมีผลเท่ากับ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4371/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและห้องแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยรู้จักกับโจทก์ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและห้องแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบดังโจทก์ฟ้องหรือไม่และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ ซึ่งจำเลยที่ 2ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาประเด็นนี้เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแต่ในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249