คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาตรา 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กรณีไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน แม้จำเลยเคยมีหนังสือเตือน
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 39 วรรคสามที่กำหนดหน้าที่ของผู้ประกันตนที่จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้งภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป หากไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 39 วรรคท้าย เป็นคนละกรณีกับการที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันตามมาตรา 41(4)ซึ่งบัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้ประกันตนมีเจตนาที่จะไม่ส่งเงินสมทบหรือไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบสามเดือนติดต่อกันความเป็นผู้ประกันตนย่อมสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องพิจารณาเจตนาและเหตุสุดวิสัยของผู้ประกันตน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นคำสั่งในหน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมจำเลย ทั้งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 มาตรา 87 วรรคท้าย ก็บัญญัติอีกว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น บทบัญญัติใดที่กำหนดเงื่อนไขให้บุคคลดังกล่าวต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัดว่าต้องเป็นกรณีกระทำโดยเจตนาเท่านั้น ดังนั้น บทบัญญัติ มาตรา 41(4)ที่ให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน จึงหมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบโดยจงใจและไม่มีพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบ เมื่อโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าบริษัทนายจ้างยกเลิกการส่งเงินสมทบแทนโจทก์ และโจทก์ไม่ได้จงใจไม่ส่งเงินสมทบทั้งไม่มีพฤติการณ์ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ ความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามมาตรา 41(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) เมื่อมีการประนีประนอม
คดีความผิดต่อส่วนตัว ก่อนคดีถึงที่สุด ผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้ ระหว่างฎีกา ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์อ้างว่าประนีประนอมยอมความกับจำเลยแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนการสืบพยานโดยคำร้องที่ไม่ถูกต้อง ศาลใช้ดุลพินิจตามมาตรา 39 เพื่อให้ความยุติธรรมดำเนินไปได้
แม้โจทก์จะมิได้มอบฉันทะให้ ว.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดย ว.นำคำร้องมายื่น อันเป็นการไม่ถูกต้องนั้น อาจเป็นไปได้ว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดและศาลอาจสั่งให้เลื่อนไปได้เองโดยไม่ต้องอาศัยคำร้องดังกล่าว แต่อาศัยประมาณกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ในข้อที่ว่า ในกรณีอื่นใดซึ่งศาลเห็นว่าถ้าได้เลื่อนการพิจารณาไปจักทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีต้องชำระค่าภาษีก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมินตามมาตรา 39
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้ถึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่าเพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษีในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูก จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อนศาลย่อมจะรับฟังไว้พิจารณามิได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มลดโทษที่กำหนดเท่ากันตามลักษณะอาญา มาตรา 39 ศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้อง
ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 39 ที่ว่า ถ้าโทษที่ควรเพิ่ม และที่ควรลดมีกำหนดเสมอกัน ก็ให้หักกลบลบกันไป ไม่ต้องเพิ่มและไม่ต้องลดนั้น แม้ในคดีที่จำเลยต้องโทษประหารชีวิต ก็ย่อมนำมาตรา 39 นี้มาใช้ได้./
(อ้างฎีกาที่ 752/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบโทษเพิ่มลดในคดีอาญา แม้โทษประหารชีวิตก็ใช้ได้ตามมาตรา 39
กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 39 ที่ว่า ถ้าโทษที่ควรเพิ่มและที่ควรลดมีกำหนดเสมอกัน ก็ให้หักกลบลบกันไป ไม่ต้องเพิ่มและไม่ต้องลดนั้น แม้ในคดีที่จำเลยต้องโทษประหารชีวิต ก็ย่อมนำมาตรา 39 นี้มาใช้ได้(อ้างฎีกาที่ 752/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มลดโทษจำคุกตลอดชีวิตตาม ม.39 และการหักกลบลบโทษ
การเพิ่มและลดโทษตาม ม. 39 ใช้ได้แก่คดีที่จำเลยจะต้องรับโทษและลดโทษทั่ว ๆ ไป รวมตลอดถึงโทษ จำคุกตลอดชีวิตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ม.39 จากการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือน และไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเตือน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือเตือนผู้ประกันตนที่ผิดนัดชำระเงินสมทบเสียก่อนจึงจะถือว่าขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ประกันตามมาตรา 39
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 39 ไม่สามารถส่งเงินสมทบเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกันไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ย่อมมีผลให้สถานะความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์สิ้นสุดลงทันทีตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 41 (4) เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกันตนที่ไม่มีรายได้จะส่งเงินสมทบยังคงรักษาสถานะความเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้ เพราะความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นเรื่องความสมัครใจของผู้ประกันตนที่จะส่งเงินสมทบ อีกทั้งไม่เป็นธรรมที่รัฐจะต้องนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาจ่ายเงินสมทบเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ผิดข้อตกลงหรือผิดหน้าที่ส่งเงินสมทบ
ส่วนเรื่องที่รัฐจะนิรโทษกรรมการผิดข้อตกลงไม่จ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนและให้ถือว่าไม่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตนหรือยินยอมให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อไปได้ ก็เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับผลทางกฎหมายของมาตรา 41 และเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องใช้อำนาจตรากฎหมายขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งซึ่งขณะนี้ยังไม่มี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15114/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และการชำระเงินสมทบที่ล่าช้า ศาลฎีกาตัดสินว่าการชำระเงินสมทบก่อนหนังสือแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ยังคงสิทธิความเป็นผู้ประกันตน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างผู้ประกันตนและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นจะต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัด ตามมาตรา 41 (5) บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือนนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบไม่ครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างแท้จริง
ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 39 วรรคสี่ ให้สิทธิผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบได้โดยต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ เมื่อโจทก์นำเงินสมทบและเงินเพิ่มของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2550 ไปชำระแก่จำเลยในวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ซึ่งจำเลยได้รับไว้ก่อนที่จำเลยมีหนังสือแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยผ่อนผันให้โจทก์นำส่งเงินสมทบของเดือนดังกล่าวล่าช้าโดยไม่ตัดสิทธิความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์นำส่งเงินสมทบภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับแต่เดือนพฤษภาคม 2549 ถึงเดือนเมษายน 2550 โจทก์เพียงแต่ขาดส่งเงินสมทบของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม 2549 โจทก์จึงส่งเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลา 10 เดือน เกินกว่า 9 เดือน ตามที่มาตรา 41 (5) กำหนดไว้แล้ว โจทก์ยังไม่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนและยังคงเป็นผู้ประกันตนตลอดมา ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2550 เป็นต้นไป จึงไม่ถูกต้องและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 2