พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีอาญาต่างกรรมต่างวาระ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม ไม่เข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
คดีนี้ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษคดีนี้ต่อได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยมีความผิดฐานมีและพาอาวุธปืน ต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำ การตามหน้าที่ ทั้งสองคดีเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหาก โดยไม่มี ความเกี่ยวพันกัน ผู้เสียหายและพยานหลักฐานเป็นคนละชุด ลักษณะคดีและความผิดคนละประเภท ทั้งสองคดีไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือพิจารณาพิพากษารวมกันไปได้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1372/2546 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและการรวมโทษกระทงอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลย 2 กระทง กระทงแรกจำคุกตลอดชีวิต กระทงที่สองจำคุก 1 ปี เมื่อความผิดกระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว จึงไม่จำต้องนำโทษกระทงอื่นมาลงอีก แต่ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) บัญญัติตอนท้ายไว้ความว่า เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งหมายความว่า หากกระทงหนึ่งกระทงใดมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ศาลลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น ความผิดกระทงแรกศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อลดโทษให้จำเลยแล้ว คงลงโทษจำคุก 33 ปี 4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดกระทงที่สองมารวมอีกได้ ซึ่งเมื่อรวมกับโทษกระทงที่สองหลังจากลดโทษให้จำเลยจำคุก 8 เดือน รวมเป็นโทษจำคุก 33 ปี 12 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดียาเสพติด: ไม่ต้องระบุข้อยกเว้น หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในฟ้องก็สมบูรณ์ และศาลหยิบยกมาตรา 91 มาปรับโทษได้
การฟ้องคดีฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 66 ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความที่ว่า "ซึ่งไม่ใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะอนุญาตเป็นหนังสือ" ไว้ในฟ้อง หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไว้ในฟ้อง ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรมซึ่งมิใช่บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรมซึ่งมิใช่บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญาต่างสำนวน และข้อยกเว้นการนับโทษเกิน 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยใน คดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทงจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้ โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตาม เมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอัน ที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ต้องกระทำหลังการตัดสินโทษแล้วเท่านั้น
อัตราโทษสูงสุดตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มหรือลดโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษตามมาตรา 91 ป.อาญา ต้องมีการเกี่ยวพันของการกระทำความผิดในคดีทั้งสอง
การที่จำเลยจะได้รับการปรับโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90ต้องปรากฏว่าการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนมีความเกี่ยวพันกันจนอาจรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เมื่อเงินที่จำเลยเบียดบังในคดีทั้งสองเป็นเงินคนละประเภทสถานที่เบิกเงินการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินคืนก็แตกต่างกันพยานคนละชุดกันการสอบสวนคดีนี้ได้กระทำขึ้นภายหลังที่จำเลยถูกฟ้องและศาลพิพากษาคดีก่อนแล้วการกระทำความผิดของจำเลยในคดีทั้งสองจึงไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายคดี - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) - คดีไม่เกี่ยวพันกัน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีและเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน กรณีจึงจะอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 91(3) คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 รวม8 คดี และฟ้องจำเลยที่ 2 รวม 9 คดีนั้นแต่ละคดีมีวันเวลาสถานที่เกิดเหตุและผู้เสียหายต่างกัน เป็นคดีไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ จึงนับโทษจำคุกจำเลยทั้งสองติดต่อกันเกิน 50 ปีได้ ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีเกี่ยวพันกันและการนับโทษต่อกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเจ็ดสำนวนรวมกันเพราะเป็นคดีเกี่ยวพันกัน จึงลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงห้าปีทั้งเจ็ดสำนวน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษฐานปลอมรอยตราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีโทษจำคุกอย่างสูงถึงเจ็ดปี โดยศาลอุทธรณ์กับศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยไว้สำนวนละ 1 ปี 4 เดือน เมื่อรวมโทษที่โจทก์ฟ้องเจ็ดสำนวน เป็นจำคุกทั้งหมด 9 ปี 4 เดือนไม่เกินยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษในความผิดหลายกระทง: ลดจากโทษรวม หรือโทษที่ศาลจะลงได้ตามมาตรา 91
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดหลายกรรมไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 91(1),(2),(3) แล้ว จะต้องลดโทษไม่เกินกว่าที่มาตราดังกล่าวกำหนด เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามมาตรา 78 ในความผิดหลายกระทงโดยวางโทษจำคุกรวมกัน 26 ปี แล้วจำคุก 17 ปี 4 เดือนนั้นย่อมไม่เกินกว่า 20 ปี ตามมาตรา 91(2) โทษจำคุกที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาซ้ำซ้อนและการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 รวม 5 กระทง จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพเมื่อสืบพยานไปบ้างแล้วลดโทษให้ 1 ใน 3 คงลงโทษฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 8เดือน ฐานพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก4 เดือน ฐานใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียนและเสียภาษี ปรับ 1,200 บาทฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งประโยชน์อันเกิดจากการที่ตนทำผิดอย่างอื่น จำคุก 33 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำคุก 33 ปี 4 เดือนรวมแล้วคงจำคุก67 ปี 8 เดือน กับปรับ 1,200 บาท แต่โทษจำคุกคงให้จำคุกเพียง50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91(3) นั้น ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วกรณีไม่ใช่นับโทษและลดโทษโดยการนำโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1ที่ศาลลงโทษไว้สองกระทงรวมกันแล้วเปลี่ยนเป็นโทษจำคุก 50ปี ลดโทษลง 1 ใน 3 คงเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน แล้วรวมโทษจำคุกกระทงอื่นเข้าด้วยอีกคงเป็นโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 34 ปี4 เดือนนั้นไม่ตรงตาม ป.อ. มาตรา 91(3).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)