พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9866/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ย การนำสืบพยานบุคคลขัดมาตรา 94(ข) ป.วิ.พ. ศาลจำกัดดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาท ขึ้นไป กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) แห่ง ป.วิ.พ. โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ใน ความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์นำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ใน ความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์นำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินของคนต่างด้าวที่ได้มาโดยไม่ชอบ แต่มีสิทธิจัดการได้ ย่อมเป็นทรัพย์มรดก
แม้ซ. เป็นบุคคลต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา86แต่การได้ที่ดินมานั้นก็มิใช่ว่าจะไม่มีผลใดๆเสียเลยเพราะซ. ยังมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา94ในอันที่จะจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นได้ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดหรืออธิบดีอาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้จึงต้องถือว่าตราบใดที่ซ.หรืออธิบดียังไม่ได้จำหน่ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก็ยังเป็นของซ. เมื่อซ. ถึงแก่ความตายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นย่อมเป็นมรดกของซ. โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมของซ. จึงมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่ดินที่แท้จริงได้ แม้มีสัญญาจะซื้อจะขายระบุราคาไว้แล้ว ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามคู่ความนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเฉพาะเมื่อมีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น แต่ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีการวางมัดจำไว้บางส่วนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับคดีกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง โดยไม่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ข้อตกลงจะซื้อจะขายดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จำเลยมีสิทธินำสืบถึงราคาที่จะซื้อจะขายที่ดินกันตามความเป็นจริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์สัญญาปลอม ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้เอกสาร จ.1 เป็นเรื่องจำเลยซื้อที่ดินโจทก์และจำเลยค้างชำระค่าที่ดินแล้วทำสัญญากู้ให้สมมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วให้โจทก์ยึดถือไว้แทนโดยตกลงกันว่าเมื่อจำเลยชำระราคาที่ดินแล้วโจทก์จะทำลายสัญญากู้ทิ้ง ต่อมาจำเลยชำระราคาที่ดินครบถ้วนและโจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยแล้ว โจทก์กลับนำสัญญากู้ดังกล่าวไปกรอกข้อความและนำมาเป็นหลักฐานฟ้องจำเลยดังนี้เป็นการนำสืบว่าสัญญากู้เป็นสัญญาปลอม และเป็นการนำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อทำลายล้างเอกสารทั้งฉบับ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อตกลงนอกสัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ขัดต่อหลักมาตรา 94 ว.พ.พ. และผลต่อการปฏิบัติตามสัญญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนเอกสารเท่านั้น จำเลยซื้อที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ โดยจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลหนี้ซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ แบ่งชำระเงินเป็น 3 งวด แต่จำเลยไม่ชำระราคาที่ดินตามข้อตกลงบุริมสิทธิในงวดสุดท้าย โดยนำสืบถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรายพิพาท และสัญญาระหว่างโจทก์กับ ก. ว่าโจทก์ตกลงรับจัดการให้ ก. จดทะเบียนภาระจำยอมถนนผ่านที่ดินของก. ให้ใช้ถนนนั้นจากที่ดินพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะ ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวเสียก่อน จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการจดทะเบียนบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และมิใช่การนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม มาตรา 94(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะ ในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการซื้อขายฝาก: สิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการแสวงหาหลักฐาน และข้อยกเว้นมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคล ในกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงที่จะนำสืบว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ซึ่งหมายเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาขายฝาก แต่กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องให้บังคับตามสัญญาขายฝาก หากแต่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน(ประเมินภาษี) ของรัฐไม่เชื่อว่าโจทก์จะไม่มีกำไรในการรับซื้อฝาก เพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้มีอาชีพในการซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาหลักฐาน เมื่อได้ความจริงก็ย่อมมีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีใหม่ได้ และย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบในศาลว่าผู้ขายฝากที่ดินให้แก่โจทก์นั้น ได้รับเงินไม่เต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวได้ที่ดินโดยไม่ชอบตามกฎหมาย ยังมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตามเงื่อนไขที่กำหนด
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวศาลพิพากษาตามยอม แม้โจทก์จะถือหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 94 ก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา 94 อยู่คำพิพากษาตามยอมจึงหาฝ่าฝืนหรือขัดต่อมาตรา 86 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้และนิติกรรมอำพราง: การนำสืบราคาขายฝากเพื่อแสดงที่มาของหนี้ไม่ขัดมาตรา 94
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยอ้างสัญญาขายฝากซึ่งกำหนดราคาขายฝากไว้ 120,000 บาท เป็นพยาน โจทก์นำสืบว่าราคาขายฝากตามสัญญาขายฝากดังกล่าวตกลงกันไว้100,000 บาทเพื่อเป็นข้อแสดงให้เห็นถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องว่ามีความเป็นมาอย่างไร ไม่ใช่การนำสืบเพื่อบังคับ หรือไม่บังคับตามสัญญาขายฝาก การนำสืบเช่นนี้จึงมิใช่กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขายด้วยพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ส. ขายที่พิพาทให้โจทก์ในราคา14,000 บาท เงินจำนวนนี้ผู้ขายได้รับจากโจทก์ไปครบถูกต้องแล้วแต่วันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าในวันทำสัญญาจะซื้อขายผู้ขายได้รับเงินค่าที่พิพาทเพียง 2,500 บาท รวมกับเงินที่ผู้ขายและจำเลยที่ 1 กู้โจทก์ไปสองคราวจำนวน 1,300 บาท เป็นเงินเพียง 3,800บาทนั้น เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94