คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มาศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต่อหน้าคู่ความที่มาศาล และผลของการมาแสดงตัวหลังอ่านคำพิพากษา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 (3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณามิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าวเมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต้องกระทำต่อหน้าคู่ความที่มาศาล การอ่านให้เสมียนทนายความถือว่าชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา มิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าว เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดี: การส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมายและการพิสูจน์เหตุสมควรที่มาศาลไม่ได้
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นว่า มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสอบถามคำให้การจำเลยและนัดสืบพยานโจทก์ โดยได้ส่งหมายนัดให้โจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในคำฟ้อง และพ.ทนายความโจทก์ตามที่อยู่ที่ปรากฏในใบแต่งทนายความของ พ.ตั้งแต่วันที่ 9โดยมี ช.ซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับโจทก์และทนายความโจทก์เป็นผู้รับหมายไว้แทนการส่งหมายนัดของศาลจึงเป็นไปโดยชอบและต้องถือว่าโจทก์และทนายความโจทก์ได้ทราบวันนัดของศาลก่อนถึงวันนัดแล้ว การที่โจทก์อ้างว่า พ.ทนายความโจทก์ทราบนัดล่าช้าเพราะเหตุสำนักงานใหญ่และสำนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์อยู่คนละที่กันก็ดี และ พ.เดินทางไปภูมิลำเนาเดิมเพื่อพิธีไหว้สารทจีนตั้งแต่ก่อนวันที่รับหมายไว้แทนนั้นก็ดี ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบัติภายในของโจทก์และทนายความโจทก์มิใช่กรณีที่โจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากเข้าใจผิดว่าโจทก์ขาดนัด ศาลมีสิทธิเพิกถอนคำสั่งได้หากโจทก์มาศาลแล้วแต่เข้าห้องพิจารณาผิด
โจทก์ยื่นคำร้องอ้างว่า โจทก์มาศาลแล้วแต่เข้าห้องพิจารณาผิด แม้คำขอจะให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แต่ตามคำร้องก็เป็นเรื่องที่โจทก์ตั้งรูปคดีอ้างว่า ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลง เป็นการร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ซึ่งโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนได้ โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่เนื่องจากโจทก์และทนายโจทก์เข้าห้องพิจารณาผิด ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์มาศาลในวันสืบพยานแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมาศาลตามกำหนดนัด: เหตุสมควรจากวัยชราและการค้นหาห้องพิจารณาคดี
ศาลอาญานัดไต่สวนมูลฟ้องเวลา 13.30 นาฬิกา ทนายโจทก์ซึ่งมีอายุ 73 ปี มาถึงศาลเวลา 13.30 นาฬิกา แล้วเสียเวลาไปกับการหาห้องพิจารณาซึ่งมีเป็นจำนวนมากประมาณ 30 นาที จึงพบ เมื่อทราบว่าศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องไปแล้วทนายโจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ ในเวลาที่ใกล้เคียงกันกับที่ศาลมีคำสั่งนั้น กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมาศาลตามกำหนดนัด: เหตุผลสมควรในการล่าช้าและการไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ศาลอาญานัดไต่สวนมูลฟ้องเวลา13.30นาฬิกาทนายโจทก์ซึ่งมีอายุ73ปีมาถึงศาลเวลา13.30นาฬิกาแล้วเสียเวลาไปกับการหาห้องพิจารณาซึ่งมีเป็นจำนวนมากประมาณ30นาทีจึงพบเมื่อทราบว่าศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องไปแล้วทนายโจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ในเวลาที่ใกล้เคียงกันกับที่ศาลมีคำสั่งนั้นกรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องทำให้ไม่สามารถมาศาลได้จริง การอ้างอุบัติเหตุรถชนใกล้ศาลไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ในคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องเพราะตัวโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด การที่ต่อมาโจทก์มายื่นคำร้องอ้างว่า ระหว่างการเดินทางมาศาลของโจทก์และทนายโจทก์ ได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ของโจทก์ชนท้ายรถยนต์ของผู้อื่น ต้องเสียเวลาตกลงเรื่องค่าเสียหายนั้นมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้โจทก์หรือทนายโจทก์คนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาศาลได้ทันตามกำหนด ทั้งปรากฏว่าที่เกิดเหตุรถยนต์ชนกันอยู่ห่างจากศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยมีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าฝ่ายโจทก์มิได้สนใจต่อเวลานัดของศาล จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมาศาลของจำเลยและการขาดนัดพิจารณาคดี: จำเลยมาศาลแต่กลับก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จ ไม่ถือว่าขาดนัด
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานจำเลยมาศาลแต่ได้กลับไปเสียก่อนที่ศาลจะสืบพยานโจทก์เสร็จ กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะมีคำขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะคู่ความที่จะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 นั้น จะต้องเป็นคู่ความที่ศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมาศาลของทนายแทนโจทก์ในคดีอาญา ไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัด
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์นั้น ในวันนัดสืบพยานจำเลยทนายโจทก์มาศาล แต่ตัวโจทก์ไม่มาจะถือว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด และพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบด้วยมาตรา 181 หาได้ไม่
of 2