พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8229/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรขึ้นอยู่กับความแน่นอนของมูลหนี้และการอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยได้โต้แย้งแบบแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีอากรที่ขาด โดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินแล้ว ก็เท่ากับจำเลยได้ยอมรับรองแบบแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 นั้นโดยปริยาย นอกจากนั้นหลังจากรับแจ้งการประเมินครั้งใหม่แล้วจำเลยยังยื่นอุทธรณ์การประเมินซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยขอถือตามคำอุทธรณ์ฉบับเดิม จึงชอบที่โจทก์ที่ 1 จะเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 ฉ ซึ่งบัญญัติให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สิทธิในการอุทธรณ์ของผู้นำของเข้าเช่นจำเลยมิได้จำกัดไว้เฉพาะกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามมาตรา 112 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ แต่ยังรวมถึงการประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ที่เกิดขึ้นแก่ผู้นำของเข้าทุกกรณี เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนที่จะมีการนำคดีมาสู่ศาล เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านการประเมินอากร จึงยังไม่แน่นอนว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามที่ถูกประเมินหรือไม่ และถือว่าโจทก์ที่ 1 ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับอากรขาเข้า
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น แม้จะถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ที่จำเลยยื่นต่อโจทก์ที่ 1 เป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (1) ด้วย แต่การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้สืบเนื่องจากข้อพิพาทในเรื่องราคาสินค้าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าอากรขาเข้าเป็นหลัก และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้านั้น ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 กำหนดฐานภาษีไว้ตามมูลค่าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรสามิตที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรได้ทำการประเมินราคาเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้าใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. ฉะนั้น ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ต่อโจทก์ที่ 1 หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 วินิจฉัยให้ราคาสินค้าและค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินไว้ลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ก็ต้องลดลงโดยผลของกฎหมายดังกล่าว โดยจำเลยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรแต่อย่างใด เมื่อยังไม่แน่นอนว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าเป็นเท่าใด ความรับผิดของจำเลยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่แน่นอนไปด้วย โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น แม้จะถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ที่จำเลยยื่นต่อโจทก์ที่ 1 เป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (1) ด้วย แต่การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้สืบเนื่องจากข้อพิพาทในเรื่องราคาสินค้าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าอากรขาเข้าเป็นหลัก และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้านั้น ป.รัษฎากร มาตรา 79/2 กำหนดฐานภาษีไว้ตามมูลค่าของสินค้านำเข้าโดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรสามิตที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรได้ทำการประเมินราคาเพื่อเสียภาษีอากรขาเข้าใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. ฉะนั้น ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ต่อโจทก์ที่ 1 หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 วินิจฉัยให้ราคาสินค้าและค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินไว้ลดลง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ก็ต้องลดลงโดยผลของกฎหมายดังกล่าว โดยจำเลยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากรแต่อย่างใด เมื่อยังไม่แน่นอนว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าเป็นเท่าใด ความรับผิดของจำเลยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่แน่นอนไปด้วย โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรวมคดีมูลหนี้หลายราย การจำหน่ายคดี และสิทธิในการฟ้องใหม่
มูลหนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้ง 7 ข้อหา เป็นมูลหนี้ที่โจทก์ได้ซื้อและรับโอนสิทธิเรียกร้องรวมทั้งหนี้สินที่จำเลยทั้งสี่มีอยู่กับเจ้าหนี้เดิมจำนวน 7 ราย แต่เจ้าหนี้เดิมของจำเลยทั้งสี่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน มูลหนี้ที่จำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เดิมแต่ละรายไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และมีจำนวนเงินที่แยกออกจากกันได้ จึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมข้อหาทั้ง 7 ข้อหาเป็นคดีเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียว จึงไม่ถูกต้อง ศาลล่างชอบที่จะจำหน่ายคดีโดยให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ในมูลหนี้แต่ละรายได้ และการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นอำนาจทั่วไปของศาล เมื่อเห็นว่าฟ้องของโจทก์ไม่ชอบที่จะฟ้องรวมกัน ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีเสียได้ เพื่อให้โจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่ให้ถูกต้องภายในอายุความ มิใช่ต้องยกฟ้องโจทก์ และการที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโจทก์มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นถึงอำนาจฟ้องของโจทก์หรือเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาของคดี โจทก์ย่อมสามารถนำคดีมาฟ้องใหม่ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทรัสต์รีซีทไม่ระงับหนี้เดิมจาก L/C: มูลหนี้ต่อเนื่องจากเดิม
การที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อนได้ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ ซึ่งสินค้าตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวก็คือสินค้าตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั่นเอง สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทำความตกลงกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นเรื่องที่คู่สัญญามีเจตนาจะก่อหนี้ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในมูลหนี้เดิมแต่อย่างใด คงเป็นมูลหนี้ในประเภทและจำนวนเดียวกัน ดังนั้น มูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: มูลหนี้ต่างกันจากคดีอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมีโจทก์เป็นผู้เสียหาย ซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และให้ชดใช้ราคาน้ำมันแก่โจทก์ คำฟ้องคดีอาญาดังกล่าว แม้จะถือว่าเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่ผู้เสียหายจะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องของทั้งสองคดีเป็นคนละอย่าง ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งแรงงาน: แม้คำขอชดใช้ค่าเสียหายเหมือนกัน แต่หากมูลหนี้ต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการจังหวัดระยองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมีโจทก์เป็นผู้เสียหาย ศาลจังหวัดระยองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาน้ำมันเป็นเงิน 540,940 บาท แก่โจทก์ซึ่งเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่ผู้เสียหายจะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน คดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการจังหวัดระยองขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด ส่วนคดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องล้มละลายได้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
มูลหนี้ตามคำฟ้องเป็นหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยต้องผูกพันในผลของคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียในที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5685/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกรอกข้อความในสัญญากู้เงินและค้ำประกันภายหลังการลงลายมือชื่อ ไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นเอกสารปลอม หากมีมูลหนี้จริง
หนังสือสัญญากู้เงินมีการกรอกข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์จำนวน 400,000 บาท และหนังสือสัญญาค้ำประกันมีการกรอกข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันเป็นการกรอกข้อความที่มีมูลหนี้กันจริงแม้จะเป็นการกรอกข้อความภายหลังที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันแล้ว ก็ไม่ทำให้หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม หนังสือสัญญาทั้งสองฉบับจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าสัญญากู้ไม่มีมูลหนี้เนื่องจากชำระค่าแชร์ครบถ้วน ไม่เป็นการนำสืบการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจำเลยจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไป และต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้ หาใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินไม่
การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเอกสารสัญญากู้เงินเพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีมูลหนี้ที่แท้จริง และอำนาจศาลในการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เป็นเรื่องการเล่นแชร์กัน การที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์และจำเลยประมูลแชร์ได้ โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ให้จำเลยทำสัญญากู้เงินเพื่อเป็นประกันว่าจะส่งชำระค่าแชร์ในงวดที่เหลือต่อไปและต่อมาการเล่นแชร์สิ้นสุดลงโดยจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เป็นการนำสืบตามที่จำเลยให้การต่อสู้ และเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่มาของการทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ เพราะจำเลยส่งชำระค่าแชร์ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เท่ากับเป็นการนำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง จำเลยจึงมีสิทธินำสืบได้มิใช่เป็นการนำสืบถึงการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้เสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน แต่กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลเป็นพับซึ่งเป็นผลให้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นตกเป็นพับไปด้วย จึงไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้เสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมหนี้สินเชื่อจากสถาบันการเงินและค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกาชี้ว่ามูลหนี้เกี่ยวข้องกัน สามารถรวมฟ้องและคิดค่าขึ้นศาลตามอัตราสูงสุดได้
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจด้วยการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าซึ่งทำได้หลายวิธี จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็คสัญญาขายลดตั๋วเงินและกู้ยืมตามตั๋วสัญญาใช้เงินกับโจทก์ แม้จะเรียกชื่อวิธีการก่อให้เกิดหนี้ต่างกัน แต่ทุกวิธีล้วนเป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันการชำระหนี้ทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ที่ก่อหนี้ทั้งหมดโดยมิได้แบ่งแยกว่าประกันหนี้ประเภทใด มูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงนำสินเชื่อทุกชนิดมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องมาเป็นคดีเดียวกันได้ การที่โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องสูงสุดตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) (ก) ชอบแล้ว