พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน, การยอมรับสภาพหนี้, ผลกระทบการตายของผู้กู้ต่ออายุความ, การฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาอย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีดังกล่าวยอมรับว่าที่ดินพิพาทที่นำยึดเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลย ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตาม มาตรา193/15 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 เป็นเหตุที่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดในวันดังกล่าวตาม มาตรา 193/15 จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2539โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ วันที่ 4 กันยายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการก่อสร้างอาคาร, อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมดแม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆแทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมดและตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มว่าจำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีประกันภัย: ผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยตัวแทนและผลของการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลผู้ต้องเสียหาย แล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย จึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายและได้เรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์กับออกเอกสารให้โจทก์ถือไว้เป็นหลักฐาน ทั้งยังได้นำรถคันดังกล่าวไปตีราคาค่าซ่อมอีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้อง อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ จนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดซึ่งในกรณีนี้ได้แก่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือปฏิเสธความรับผิดจากจำเลยซึ่งถือเป็นวันที่เป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง จึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 เดิม(มาตรา 193/15 ที่แก้ไขใหม่) ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่น ๆ ที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตามแต่เมื่อฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นพิพาทอื่นมาด้วยเช่นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีประกันภัย: การสะดุดหยุดของอายุความจากการยอมรับสภาพหนี้และการนับอายุความใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอก ผู้ต้องเสียหายแล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย จึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา 882 วรรคแรก วินาศภัยเกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2532 ต่อมาพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายเรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนและได้นำรถคันที่ถูกรถคันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนไปตีราคาค่าซ่อม ถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความจนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดได้แก่วันที่จำเลยมีหนังสือปฏิเสธความรับผิดไปยังโจทก์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 จึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตาม มาตรา 181 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน และผลของการยอมรับสภาพหนี้โดยตัวแทน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายแก่บุคคลผู้ต้องเสียหายแล้วฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัยจึงต้องอยู่ภายใต้อายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามมาตรา882วรรคแรก พนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจความเสียหายและได้เรียกเก็บเงินค่าแจ้งเหตุจากโจทก์กับออกเอกสารให้โจทก์ถือไว้เป็นหลักฐานทั้งยังได้นำรถคันดังกล่าวไปตีราคาค่าซ่อมอีกด้วยพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิม(มาตรา193/14(1)ที่แก้ไขใหม่) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ได้ล่วงไปก่อนนั้นย่อมไม่นับเข้าในอายุความจนเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดซึ่งในกรณีนี้ได้แก่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือปฏิเสธความรับผิดจากจำเลยซึ่งถือเป็นวันที่เป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลงจึงเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181เดิม(มาตรา193/15ที่แก้ไขใหม่) ส่วนประเด็นข้อพิพาทอื่นๆที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตามแต่เมื่อฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นพิพาทอื่นมาด้วยเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่อาจที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ไม่มีลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
การยอมรับสภาพหนี้ไม่ใช่การทำสัญญา เมื่อ พ. แต่เพียงฝ่ายเดียว ยอมรับโดยสมัครใจว่าตนเป็นลูกหนี้โจทก์ตามจำนวนหนี้ที่ยอมรับ จึงรับฟังได้ว่า พ. รับสภาพหนี้ที่มีต่อโจทก์โดยชอบ และการยอมรับดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน พ. ให้ต้องปฏิบัติตามที่ยอมรับนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ก็ตาม แต่โจทก์ก็มีมูลหนี้ตามที่ พ. ยอมรับนั้นแล้ว จึงมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกร้องเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ไม่มีลายมือชื่อกรรมการ การฟ้องเรียกหนี้ชอบด้วยกฎหมาย
การยอมรับสภาพหนี้ไม่ใช่การทำสัญญา เมื่อ พ. แต่ เพียงฝ่ายเดียว ยอมรับโดย สมัครใจว่าตน เป็นลูกหนี้โจทก์ตาม จำนวนหนี้ที่ยอมรับ จึงรับฟังได้ ว่า พ. รับสภาพหนี้ที่มีต่อ โจทก์โดยชอบและการยอมรับดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน พ. ให้ต้อง ปฏิบัติตามที่ยอมรับนั้น แม้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ก็ตาม แต่ โจทก์ก็มีมูลหนี้ตามที่ พ. ยอมรับนั้นแล้ว จึงมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกร้องเงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสภาพหนี้จากการละเมิด ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่มีการระงับข้อพิพาทโดยชอบธรรม
เมื่อหนี้ที่โจทก์เรียกร้องมีมูลมาจากการทำละเมิด โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้คืนทรัพย์สินอันต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือให้ใช้ราคาทรัพย์นั้น การที่จำเลยได้ทำหนังสือไว้ต่อโจทก์ มีใจความว่ายอมจะใช้ราคาทรัพย์สินที่เสียหาย ดังนี้ ถือได้ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ยอมรับสภาพต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องไม่เป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีข้อความที่แสดงว่าผู้ทำหนังสือดังกล่าวระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้หลังขาดอายุความ ถือเป็นการยอมรับสภาพหนี้ใหม่ และมีผลผูกพันตามกฎหมาย
ข้อความในเอกสารซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองทำขึ้นไว้ที่สถานีตำรวจมีแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนชำระเงินตามเช็คเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการชำระเงิน ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์หรือยอมเลิกคดีอาญาที่ได้แจ้งความไว้นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนผันแต่ฝ่ายเดียวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป ด้วยการยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยที่1รับสภาพความรับผิดโดยสัญญา และเป็นการที่จำเลยที่ 1 ให้ประกันแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไว้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันความรับผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความรับผิดต้องใช้หนี้ตามสัญญานั้น
เมื่อหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ได้ล่วงพ้นอายุความ 1 ปีไปแล้วจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคสาม, 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
เมื่อหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ได้ล่วงพ้นอายุความ 1 ปีไปแล้วจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคสาม, 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย