คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอกทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กองทุนหมู่บ้านมีอำนาจร้องทุกข์ ยักยอกทรัพย์โดยจำเลย การจับกุมและการฟ้องคดี
การที่จำเลยยักยอกเงินจัดสรรผลกำไรสุทธิที่ได้มาจากการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ค. โดยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นผู้เสียหายในอันที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โดยถือว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของกองทุนหมู่บ้าน ค. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของสมาชิกและจำเลย การร้องทุกข์ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านจึงเป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อรวมโทษแล้วเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน บ. มีเจตนาเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน บ. ที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน บ. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีนี้และคดีอาญาอีก 32 คดี จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 111/2547 ของศาลชั้นต้น รวมแล้วเกิน 20 ปี จนคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นไม่นับโทษต่อจากโทษในคดีดังกล่าวได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลจะต้องออกหมายบังคับคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร เมื่อมีความเกี่ยวพันกันหลายคดี และจำเลยได้รับโทษเกิน 20 ปี
โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นรายสำนวนในความผิดปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอม และยักยอกรวม 34 คดี โดยลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ คดีดังกล่าวจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2)
การที่จำเลยร้องขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เป็นการบังคับคดีที่ศาลต้องออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์ – การครอบครองทรัพย์ก่อนกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานยักยอกเงินของผู้เสียหายระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 จำนวนเงิน 2,000 บาท และ 3,150 บาท โดยเงินดังกล่าวจำเลยได้รับจากผู้สมัครเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ เป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายก่อนวันที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องเกิดหลังการครอบครองทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดได้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.13 และ 1.14 ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดฐานยักยอกเงินของผู้เสียหาย ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ตามลำดับ โดยเงินดังกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับจากผู้สมัครเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ เป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายก่อนวันที่จำเลยทั้งสองได้ครอบครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การเรียงกระทงความผิด และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละกระทงระบุถึงวันเวลาที่จำเลยนำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามราคาที่ระบุไว้รวม 14 ครั้ง และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เดือนมีนาคม 2544 จำเลยได้เบียดบังเงินค่าสินค้าของผู้เสียหายที่ลูกค้าแต่ละรายชำระให้ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยไปตามจำนวนที่กล่าวในฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,720 บาท เป็นคำฟ้องที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยได้รับเงินค่าผ่อนชำระค่าสินค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยย่อมจะทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินจากลูกค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด เพราะจำเลยเป็นผู้รับชำระจากลูกค้าด้วยตนเองอีกด้วย ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเรียงกระทงเป็นลำดับไปว่า ตามวันเวลาที่ระบุในฟ้องจำเลยได้นำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าแต่ละรายตามราคาที่ระบุไว้รวม 14 ครั้ง ด้วยกัน และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยยักยอกเงินค่าสินค้าของลูกค้าทั้ง 14 ราย ไปเมื่อวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เดือนมีนาคม 2544 แต่เงินค่าสินค้าที่จำเลยยักยอกไปแต่ละครั้งนั้น เกิดจากการที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแต่ละรายต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นเงินค่าสินค้าแต่ละชนิดที่ลูกค้าชำระให้ต่างคราวกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 14 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์หลายกรรมต่างกัน การเรียงกระทงลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละกระทงระบุถึงวันเวลาที่จำเลยนำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้ารวม 14 ครั้ง และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดเดือนมีนาคม 2544 จำเลยได้เบียดบังเงินค่าสินค้าของผู้เสียหายที่ลูกค้าแต่ละรายชำระให้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,720 บาท ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิด อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว แม้ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงมิได้บรรยายว่าจำเลยได้รับเงินค่าผ่อนชำระสินค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด จึงรวมเป็นเงินที่จำเลยเบียดบังไป ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยย่อมทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินค่าสินค้าจากลูกจ้างงวดละเท่าใด เพราะจำเลยเป็นผู้รับชำระจากลูกค้าด้วยตนเอง ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงจึงไม่เคลือบคลุม
เงินค่าสินค้าที่จำเลยยักยอกไปแต่ละครั้ง เกิดจากการที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแต่ละรายต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นเงินค่าสินค้าแต่ละชนิดที่ลูกค้าชำระให้ต่างคราวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายเจตนาทุจริต หากเป็นการนำทรัพย์ฝากไว้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้นำทรัพย์รวม 44 รายการ ฝากจำเลยไว้เมื่อประมาณปี 2532 ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยหาได้นำทรัพย์มาคืนให้โจทก์ไม่ โดยจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการยักยอกทรัพย์ ดังนี้ แม้ความผิดฐานยักยอกจะต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย แต่การยักยอกทรัพย์ย่อมมีความหมายถึงการบังอาจเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นฝากไว้ไปโดยมีเจตนาทุจริตอยู่ในตัวอยู่แล้ว ฉะนั้น โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยทุจริตหรือโดยทุจริตแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังเงินที่ได้รับมอบหมายให้เก็บ – ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ vs. ความผิดฐานหน้าที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้เก็บเงินค่าวัสดุก่อสร้างจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยเก็บเงินดังกล่าวแล้วมิได้นำส่งโจทก์ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กลับเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้มีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพย์สินของโจทก์และจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 353 ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 353 ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์กรณีซ่อมรถ: ผู้ครอบครองรถยนต์เบียดบังอะไหล่เป็นของตนเอง
ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองรถยนต์เพื่อทำการซ่อมที่อู่ของจำเลย จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ การที่จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขายจึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ได้
of 55