พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7478/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ผลิตและขายยาปลอม ต้องลงโทษฐานผลิตยาปลอมตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุด
ความผิดฐานผลิตยาแผนปัจจุบัน ยาปลอม และยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยากับความผิดฐานขายและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาปลอมและที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา เมื่อยาที่จำเลยผลิต ขาย และมีไว้เพื่อขายดังกล่าวล้วนเป็นจำนวนเดียวกันและถูกเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานผลิตยาปลอมตาม พ.ร.บ. ยาฯ มาตรา 117 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์เรียงกระทงลงโทษจำเลยมานั้นจึงเป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขายยาแผนโบราณปลอม ศาลฎีกายืนโทษ แต่ปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานผลิต ขาย และมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับใบอนุญาตฐานผลิต ขาย และมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนโบราณที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและฐานผลิตขาย และมีไว้เพื่อขายซึ่งยาแผนโบราณอันเป็นยาปลอมนั้น ยาแผนโบราณที่จำเลยผลิตขาย และมีไว้เพื่อขายดังกล่าวล้วนเป็นจำนวนเดียวกัน และถูกยึดไว้เป็นของกลางในคราวเดียวกันโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานขายยาแผนโบราณปลอมตามพระราชบัญญัติยาฯมาตรา 117 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายยาแผนโบราณปลอมต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานขายยาแผนโบราณปลอมให้สูงกว่าโทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายยาแผนโบราณปลอมต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานขายยาแผนโบราณปลอมให้สูงกว่าโทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีขายยาปลอม และข้อจำกัดในการโต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ
พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 นิยามคำว่า 'ขาย' ไว้ว่าหมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ในการค้าหรือมีไว้เพื่อขาย ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจขายยาปลอมโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายาดังกล่าวเป็นพร้อมกับระบุชื่อผู็ผลิตและเลขทะเบียนตำรับยาที่แสดงไว้ว่าไม่เป็นความจริง เช่นนี้ ฟ้องของโจทก์พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 หาจำต้องระบุว่าจำเลยขายยาปลอมให้แก่ใคร เมื่อใด จำนวนเท่าใด เลขตำรับยานั้นความจริงเป็นยาอะไรไม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จำเลยจะโต้เถึยงในชั้นฎีกาว่าจำเลยกระทำโดยไม่รู้ว่าเป็นยาปลอมหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว และที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษก็เป็นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน.
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จำเลยจะโต้เถึยงในชั้นฎีกาว่าจำเลยกระทำโดยไม่รู้ว่าเป็นยาปลอมหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว และที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษก็เป็นฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษยาปลอมต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้กระทำรู้ว่าเป็นยาปลอม
การจะปรับบทลงโทษผู้กระทำการตามวรรคหนึ่งของมาตรา 119 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 อันเป็นบทหนัก ต้องปรากฏว่าผู้กระทำได้ขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาโดยรู้ว่าเป็นยาปลอม ตามฟ้องมิได้กล่าวว่าจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเป็นยาปลอม และจำเลยก็ไม่ได้ให้การรับว่าได้รู้ว่าของกลางเป็นยาปลอมแต่แรก เพิ่งรู้เมื่อได้พิสูจน์แล้ว จะถือว่าจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเป็นยาปลอมหาได้ไม่ จึงลงโทษจำเลยตามวรรคหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายยาปลอม ต้องพิสูจน์ได้ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นยาปลอมตั้งแต่แรก
การปรับบทลงโทษผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าผู้กระทำได้ขายหรือสั่งเข้ามาโดยรู้ว่าเป็นยาปลอม ตามฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเป็นยาปลอม และจำเลยก็ไม่ได้ให้การรับว่าได้รู้ว่าของกลางเป็นยาปลอมแต่แรก เพิ่งรู้ภายหลังเมื่อได้พิสูจน์แล้วจึงลงโทษจำเลยตามวรรคหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแทน, ยาปลอม, การละเมิดเครื่องหมายการค้า: โจทก์ต้องมีอำนาจฟ้องชัดเจน และการแจ้งความโดยสุจริตไม่ถือเป็นการละเมิด
เมื่อโจทก์อ้างว่าได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนผู้อื่นมีเอกสารยืนยัน แต่กลับปรากฎแก่ศาลว่า เอกสารที่ว่านี้หามีการมอบอำนาจเช่นนั้นไม่ สิทธิฟ้องคดีแทนก็ตกไป คงเหลือแต่ที่ฟ้องในนามของตัวเอง
ในฟ้องโจทก์กล่าวแต่เพียงว่าสลาก กล่องใส่ยา สำลีในชวด ปลอมแต่ไม่กล่าวว่ายกที่จำเลยสั่งเข้ามาขายนั้นปลอม ดังนี้ เรื่องยาปลอมก็ไม่เป็นประเด็น กลับต้องถือว่าเป็นยาแท้
การที่โจทก์รับมอบให้ขายยาแต่ผู้เดียวนั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้มอบ โจทก์หามีสิทธิห้ามคนอื่นมิให้จำหน่ายยาเช่นนั้นไม่
อนึ่ง แม้ยาที่จำเลยจำหน่ายจะมีสลาก กล่อง และสำลีปลอม ก็ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งเป็นแต่ผู้จำหน่ายฟ้องโจทก์จึงไม่มีมูลที่จะว่ากล่าวกับจำเลย
การปลอมและเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะจับกุมเอง แม้ไม่มีผู้แจ้งความ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปแจ้งความ จึงเป็นการช่วยเหลือให้ความสดวกแก่เจ้าพนักงาน ถ้าทำโดยสุจริตไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง ย่อมไม่ต้องรับผิด การที่ตำรวจยึดยา เป็นเรื่องใช้ดุลพินิจของเขา การยึดยาก่อนพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลจะถือว่าโจทก์ละเมิดมิได้
ในฟ้องโจทก์กล่าวแต่เพียงว่าสลาก กล่องใส่ยา สำลีในชวด ปลอมแต่ไม่กล่าวว่ายกที่จำเลยสั่งเข้ามาขายนั้นปลอม ดังนี้ เรื่องยาปลอมก็ไม่เป็นประเด็น กลับต้องถือว่าเป็นยาแท้
การที่โจทก์รับมอบให้ขายยาแต่ผู้เดียวนั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้มอบ โจทก์หามีสิทธิห้ามคนอื่นมิให้จำหน่ายยาเช่นนั้นไม่
อนึ่ง แม้ยาที่จำเลยจำหน่ายจะมีสลาก กล่อง และสำลีปลอม ก็ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งเป็นแต่ผู้จำหน่ายฟ้องโจทก์จึงไม่มีมูลที่จะว่ากล่าวกับจำเลย
การปลอมและเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะจับกุมเอง แม้ไม่มีผู้แจ้งความ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปแจ้งความ จึงเป็นการช่วยเหลือให้ความสดวกแก่เจ้าพนักงาน ถ้าทำโดยสุจริตไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง ย่อมไม่ต้องรับผิด การที่ตำรวจยึดยา เป็นเรื่องใช้ดุลพินิจของเขา การยึดยาก่อนพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลจะถือว่าโจทก์ละเมิดมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตยาปลอมเพื่อขาย ถือเป็นความผิดหลายกระทง ศาลลงโทษตามบทที่มีโทษหนักกว่า
ความผิดหลายกระทงต้องกระทำต่างกรรมต่างวาระกันทำยาปลอมเครื่องหมายการค้า เพื่อขาย เป็นความผิดหลายบทตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 236(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา273) และ พระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493 มาตรา 37 วรรคแรกไม่ใช่หลายกระทงศาลลงโทษตามพระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ.2493 มาตรา37 ซึ่งโทษหนักกว่ามาตรา236
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยาปลอมตาม พ.ร.บ.ขายยา: ปริมาณตัวยาสำคัญเท่ากับตัวยาเอง
คำว่า "ไม่ตรงกับตำหรับ" ตามความใน ม.19(2) แห่ง พ.ร.บ.ขายยา พ.ศ. 2493 นั้นมิได้หมายถึงแต่เฉพาะตัวเนื้อยาอย่างเดียว แต่หมายถึงปริมาณของตัวเนื้อยาด้วย เมื่อจำเลยขายยาที่มีปริมาณผิด ไป 100 เท่า ดังนี้ก็มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยาปลอม: ปริมาณยาผิดเพี้ยน ถือว่า 'ไม่ตรงกับตำรับ' ตามกฎหมายขายยา
คำว่า' ไม่ตรงกับคำรับ' ตามความใน มาตรา 19(2) แห่งพระะราชบัญญัติขายยา พ.ศ.2493 นั้นมิได้หมายถึงแต่เฉพาะตัวเนื้อยาอย่างเดียว แต่หมายถึงปริมาณของตัวเนื้อยาด้วยเมื่อจำเลยขายยาที่มีปริมาณผิดไป 100 เท่า ดังนี้ก็มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4494/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเครื่องหมายการค้าและยาปลอม, ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน, การพิสูจน์เจตนาผู้กระทำผิด
พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา 119 วรรคสอง กำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดฐานขายหรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาปลอมโดยไม่รู้ว่าเป็นยาปลอมไว้ให้ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงห้าพันบาท ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องคดีและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) แต่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงขาดอายุความ
ผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ร่วมและพนักงานของโจทก์ร่วมเบิกความตรงกันว่า เหตุที่พยานทั้งสองทราบว่าสินค้ายาของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมก็โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าจริง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอยู่ 4 ประการ ซึ่งเมื่อพิจารณากล่องบรรจุสินค้า ฉลาก และขวดยาของสินค้ายาของปลอมและที่แท้จริงเปรียบเทียบกันแล้วเห็นว่าคล้ายกันมาก ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ทราบว่ายาของปลอมมีลักษณะอย่างไรก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นคนชี้ส่วนสำคัญให้ดู ทั้งเภสัชกรและผู้ตรวจวิเคราะห์ยาของกลางก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า หากเห็นแต่ยาของกลางเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาที่แท้จริงหรือยาปลอม และพนักงานสอบสวนก็ไม่สามารถระบุว่ายาใดเป็นยาปลอมหรือยาที่แท้จริงเพราะไม่ทราบรายละเอียดของตัวยาที่ผสมอยู่ แสดงว่าสินค้ายาคาโตซาลที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางคล้ายกับสินค้าที่แท้จริงมาก ถ้าไม่ทราบถึงรายละเอียดข้อแตกต่างมาก่อนก็เป็นการยากที่จะสังเกตได้เอง ดังนี้แม้จำเลยจะเป็นสัตวแพทย์และเป็นผู้มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก็ไม่แน่ว่าจะได้สังเกตว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า
ผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ร่วมและพนักงานของโจทก์ร่วมเบิกความตรงกันว่า เหตุที่พยานทั้งสองทราบว่าสินค้ายาของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมก็โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าจริง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอยู่ 4 ประการ ซึ่งเมื่อพิจารณากล่องบรรจุสินค้า ฉลาก และขวดยาของสินค้ายาของปลอมและที่แท้จริงเปรียบเทียบกันแล้วเห็นว่าคล้ายกันมาก ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ทราบว่ายาของปลอมมีลักษณะอย่างไรก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นคนชี้ส่วนสำคัญให้ดู ทั้งเภสัชกรและผู้ตรวจวิเคราะห์ยาของกลางก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า หากเห็นแต่ยาของกลางเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นยาที่แท้จริงหรือยาปลอม และพนักงานสอบสวนก็ไม่สามารถระบุว่ายาใดเป็นยาปลอมหรือยาที่แท้จริงเพราะไม่ทราบรายละเอียดของตัวยาที่ผสมอยู่ แสดงว่าสินค้ายาคาโตซาลที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางคล้ายกับสินค้าที่แท้จริงมาก ถ้าไม่ทราบถึงรายละเอียดข้อแตกต่างมาก่อนก็เป็นการยากที่จะสังเกตได้เอง ดังนี้แม้จำเลยจะเป็นสัตวแพทย์และเป็นผู้มีสินค้าของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก็ไม่แน่ว่าจะได้สังเกตว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า