พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจาร แม้เด็กจะยินยอม ก็เป็นความผิดตามกฎหมาย
แม้ก่อนเกิดเหตุเด็กหญิง ท. จะทะเลาะกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาและหนีออกจากบ้านไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพักก็ตาม แต่โจทก์ร่วมยังเคยไปตามหาเด็กหญิง ท. ที่หอพักดังกล่าว แต่ไม่พบ ย่อมแสดงให้เห็นว่าแม้ในขณะที่เด็กหญิง ท. พักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพักดังกล่าวนั้น บิดามารดาก็ยังเอาใจใส่ติดตามตัวอยู่ พฤติการณ์บ่งชี้แสดงให้เห็นว่าเด็กหญิง ท. ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ดังนั้น การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มารับเด็กหญิง ท.ที่หอพักแล้วพาไปนั่งรถเล่นกับพาไปนั่งฟังเพลงต่อที่ห้องพักของเพื่อนจำเลย และขณะอยู่ในห้องพักจำเลยได้กอดจูบเด็กหญิง ท. จึงเป็นการพาเด็กหญิง ท. ออกจากหอพักไปเที่ยวเล่นโดยเจตนามุ่งหมายที่จะล่วงเกินทางเพศหรือกระทำอนาจารแก่เด็กหญิง ท. โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากบิดามารดาของเด็กหญิง ท. นั่นเอง ซึ่งผลของการกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ของบิดามารดาที่มีต่อเด็กหญิง ท. ได้ถูกพรากจากไปโดยปริยาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 กฎหมายมีเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้อำนาจปกครองของบิดามารดาถูกพรากจากไปเสียโดยปริยาย แม้การกระทำของจำเลยนั้น เด็กจะเต็มใจหรือสมัครใจไปกับจำเลยด้วย ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดไม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 กฎหมายมีเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้อำนาจปกครองของบิดามารดาถูกพรากจากไปเสียโดยปริยาย แม้การกระทำของจำเลยนั้น เด็กจะเต็มใจหรือสมัครใจไปกับจำเลยด้วย ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ยินยอม แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ศาลลงโทษตามบทมาตรา 319 วรรคหนึ่ง
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมนั้น จำเลยมิได้รับอนุญาตจากบิดามารดาและผู้ปกครองดูแลผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6520/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมให้เช่าทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมรายอื่น ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขต
โจทก์กับจำเลยร่วมทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทร่วมกัน เดิมโจทก์ให้บริษัทจำเลยใช้อาคารพิพาทประกอบการค้า ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยออกจากอาคารพิพาท แต่หลังจากนั้นจำเลยร่วมทั้งสองให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท แม้การทำหนังสือสัญญาเช่าระหว่างจำเลยร่วมทั้งสองจำเลยดังกล่าวโจทก์จะไม่ทราบ แต่การให้เช่าอาคารพิพาทถือเป็นการจัดการธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของรวมและนอกจากจะไม่เสียหายแล้วกลับมีประโยชน์ยิ่งกว่า เพราะเดิมโจทก์เพียงให้จำเลยอาศัยโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่จำเลยร่วมทั้งสองให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทโดยคิดค่าเช่า กรณีไม่เป็นการใช้ทรัพย์สินในทางขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะไม่ตกลงยินยอมด้วยก็ตามแต่จำเลยร่วมทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินได้เช่นกันจึงมีสิทธิทำสัญญาให้จำเลยเช่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า: การยินยอม/ให้อภัย, เหตุหย่าต่อเนื่อง, และอายุความฟ้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสืบพยานหลักฐานที่คู่ความประสงค์จะสืบหรือไม่เพียงใด เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การและคำแถลงของโจทก์และจำเลยแล้ว เห็นว่า มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วว่ามีเหตุฟ้องหย่าประการใดประการหนึ่งตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์ได้ยินยอมหรือให้อภัยเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยาแล้วหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้จะเป็นเพียงเหตุหย่าเหตุหนึ่งในจำนวนเหตุหย่าหลายเหตุตามฟ้องก็ตาม ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานหลักฐานโจทก์ และจำเลยซึ่งถือเสมือนว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยจะนำมาสืบนั้นเป็นพยานหลักฐานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้า ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยินยอมและให้อภัยที่จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือจะไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสาเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ ส. เนื่องจากโจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนกระทั่งเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงนำคดีมาฟ้อง พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้
การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ต่อเนื่อง ดังนั้นตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529
การยินยอมและให้อภัยที่จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1517 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือจะไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสาเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ ส. เนื่องจากโจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนกระทั่งเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงนำคดีมาฟ้อง พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้
การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ต่อเนื่อง ดังนั้นตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอม/ให้อภัยในเหตุฟ้องหย่า การอุปการะเลี้ยงดูฉันภริยา และอายุความฟ้องหย่า
การยินยอมและให้อภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 หมายถึง คู่สมรสฝ่ายที่ยินยอมและให้อภัยได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้น แต่แสดงเจตนาให้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าอนุญาตให้กระทำหรือไม่ใช้สิทธิฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนเมื่อปี 2545 โจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงได้นำคดีมาฟ้อง อันเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ ส. จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้
การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ที่ต่อเนื่อง ตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัด และไม่คาดคิดว่าจำเลยจะจริงจังกับ ส. เพราะขณะนั้นจำเลยยังมีหญิงอื่นอีกหลายคน จนเมื่อปี 2545 โจทก์ทราบว่าจำเลยกับ ส. มีบุตรด้วยกันจึงได้นำคดีมาฟ้อง อันเป็นเหตุผลที่โจทก์ไม่ฟ้องหย่าจำเลยแต่แรกที่ทราบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ ส. จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เคยยินยอมหรือให้อภัยในเรื่องที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยด้วยเหตุหย่าดังกล่าวได้
การอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นเป็นเหตุฟ้องหย่าที่มีพฤติการณ์ที่ต่อเนื่อง ตราบที่จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง ส. ฉันภริยา เหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ก็ยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปีแล้ว โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามมาตรา 1529
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับเมื่อสิ่งปลูกสร้างสูญหาย สิทธิใช้ที่ดินเดิมสิ้นสุดลง แม้มีพฤติการณ์ยินยอมก่อนหน้า
ตึกแถวที่จำเลยเช่าจากโจทก์สูญหายไปทั้งหมดเพราะแตกร้าวและต้องรื้อถอนออกไป สัญญาเช่าตึกแถวจึงเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะประกอบการค้าหรืออยู่อาศัยในที่ดินซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของตึกแถวโดยโจทก์ไม่ยินยอมได้อีก แม้โจทก์จะรู้เห็นและมิได้โต้แย้งที่จำเลยปลูกสร้างเพิงลงในที่ดินซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของตึกแล้วและยังเก็บค่าเช่าต่อมาอีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ต้องยินยอมตลอดไป เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อโดยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์ จำเลยจึงต้องออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมโดยปริยายให้ผู้อื่นใช้ยานพาหนะก่อความผิด ทำให้เจ้าของไม่มีสิทธิขอคืน
ผู้ร้องเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 เคยใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปซื้อของและเคยจับได้ว่าจำเลยที่ 1 แอบเอารถจักรยานยนต์ของกลางไปขับในเวลากลางคืน ซึ่งไม่ปรากฏผู้ร้องได้ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำดังกล่าวขึ้นอีกแต่อย่างใด แต่กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 1 สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดได้อีก ทั้งที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกับผู้ร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ได้ตลอดเวลาตามที่จำเลยที่ 1 ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยที่ 1 จะนำไปใช้ในกิจการใด การที่จำเลยที่ 1 นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับแข่งกับพวกบนทางเดินรถสาธารณะในเวลากลางคืน ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 โดยปริยาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สมรส: การยินยอมและสัตยาบันหนี้ของคู่สมรส ทำให้เป็นหนี้ร่วมกัน
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยได้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส แม้ตอนที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องจะมิได้ร่วมอยู่ด้วยและไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินกู้มาใช้ในกิจการใดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องขับรถยนต์พาจำเลยไปที่บ้านโจทก์หลายครั้งและผู้ร้องขอผัดผ่อนการชำระหนี้เงินกู้รายนี้ เมื่อโจทก์ทวงถาม พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวเชื่อได้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นและยินยอมให้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวแล้ว หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดกับจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสได้ทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดบ้านดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในสัญญา แม้ไม่ได้ลงชื่อ แต่รู้เห็นยินยอมและมีส่วนได้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านลงในที่ดินของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันในสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ลงชื่อคู่สัญญาในสัญญาจ้างผู้เดียวก็ตาม หนี้ค่าก่อสร้างบ้านที่จำเลยทั้งสองมุ่งหมายจะได้อยู่อาศัยต่อไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในสัญญา: สามีมีส่วนรู้เห็นยินยอมในสัญญาจ้างก่อสร้าง ย่อมมีหน้าที่รับผิดร่วมกับภรรยา
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างบ้านลงบนที่ดินของจำเลยทั้งสองเพื่อพักร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ทั้งข้อเท็จจริงตามที่ฟังได้ความยังปรากฏว่าระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำเลยทั้งสองยังร่วมกันเข้าไปตรวจดูความเรียบร้อยของงาน มีการสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องและแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ แม้จำเลยที่ 2 จะลงลายมือในสัญญาฐานะผู้ว่าจ้างก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ หนี้ค่าก่อสร้างบ้านจึงผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2