คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยื่นเกินกำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะรับเรื่องไว้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้ตามมาตรา 88 วรรคสี่ หากมีเหตุสมควร
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว. เป็นกรรมการคนที่ 4 และพ. เป็นกรรมการคนที่ 5 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือบ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มีพ.และว. กรรมการของโจทก์ 2 คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าพ.และว.มอบอำนาจให้แก่อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่าพ.และว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ ให้อ. ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และว. ไม่ใช่โจทก์และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537ในวันที่ 14 กันยายน 2537 โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนาย ไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งใช้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อน ศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชี ระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน 2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้า จากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนดและพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาต ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญ แห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบและศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนดและคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อภายหลังจากระยะเวลาการยื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆ ไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามป.วิ.พ.มาตรา 247 และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),242 (1), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด & เหตุสมควร ศาลอนุญาตให้ยื่นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว.เป็นกรรมการคนที่ 4 และ พ. เป็นกรรมการคนที่ 5ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือ บ.ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มี พ. และ ว. กรรมการของโจทก์ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่า พ. และ ว.มอบอำนาจให้แก่ อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่า พ.และ ว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และ ว. ไม่ใช่โจทก์ และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ เพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537 ในวันที่ 14 กันยายน 2537โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537 เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งให้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อนศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนด ประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนด และพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88วรรคสี่ แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบ และศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนด: หน้าที่ติดตามคำสั่งศาลและผลกระทบต่อการรับฟ้อง
วันที่ 27 กรกฎาคม 2530 ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2530 ว่า อนุญาตให้ขยายได้ 7 วัน นับแต่วันสุดท้ายดังนี้ แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำสั่ง แต่ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายติดตามทราบคำสั่งศาลว่าอนุญาตให้ขยายเวลาหรือไม่เพียงใดก่อนครบกำหนดยื่นฎีกา โจทก์กลับเพิกเฉย เพิ่งนำฎีกามายื่นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2530 และไม่ใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย เป็นการยื่นเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลอนุญาตขยายเวลา แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ได้ติดตามคำสั่ง ศาลไม่รับพิจารณา
ก่อนครบกำหนดยื่นฎีกาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนด ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องนี้ในวันรุ่งขึ้นแต่ยังอยู่ในระยะเวลายื่นฎีกาว่า อนุญาตให้ขยายได้ 7 วันนับแต่วันสุดท้าย ดังนี้ แม้จะถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำสั่งแต่ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องขวนขวายให้ทราบก่อนครบกำหนดยื่นฎีกาว่าศาลอนุญาตให้ขยายเวลาหรือไม่เพียงใด โจทก์กลับเพิกเฉยและยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: ศาลใช้ดุลพินิจรับได้หากไม่ทำให้คู่ความเสียหายและเป็นประโยชน์แก่ความยุติธรรม
โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเพียง1 วันอ้างเหตุว่าด้วยความพลั้งเผลอไม่จงใจประวิงและเอาเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใดปรากฏตามบัญชีระบุพยานว่าเป็นพยานบุคคลและพยานเอกสารรวมกันเพียง 6 อันดับและเป็นพยานนำ ทั้งโจทก์ได้นำพยานมาศาลในวันนัดเพื่อขอสืบพยานต่อไปตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ปรากฏว่าโจทก์แกล้งประวิงและเอาเปรียบจำเลยในทางคดีทั้งการรับบัญชีระบุพยานของโจทก์ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายตามคำร้องของโจทก์ก็มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมควรรับบัญชีระบุพยานของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและความจงใจของจำเลยก่อนมีคำสั่ง
การที่จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนดศาลจะอนุญาตให้ยื่นได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า การที่จำเลยไม่ได้ยื่นภายในกำหนดนั้น เป็นเพราะจำเลยจงใจหรือไม่จงใจ หรือเพราะมีหรือไม่มีเหตุสมควรประการอื่น ถ้าปรากฎว่าจำเลยมิได้จงใจหรือจำเลยมีเหตุที่เกิดความจำเป็นแก่จำเลยอันสมควรผ่อนผันให้ได้ ก็ให้ศาลรับคำให้การไว้
ในกรณีดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฎชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลต้องพิจารณาเหตุผล หากมิได้จงใจหรือมีเหตุสมควร ศาลควรอนุญาต
การที่จำเลยยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลจะอนุญาตให้ยื่นได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่า การที่จำเลยไม่ได้ยื่นภายในกำหนดนั้น เป็นเพราะจำเลยจงใจหรือไม่จงใจ หรือเพราะมีหรือไม่มีเหตุสมควรประการอื่น ถ้าปรากฏว่าจำเลยมิได้จงใจหรือจำเลยมีเหตุที่เกิดความจำเป็นแก่จำเลยอันสมควรผ่อนผันให้ได้ ก็ให้ศาลรับคำให้การไว้
ในกรณีดังกล่าวนี้ ถ้าข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนดและสิทธิในการต่อสู้คดี ศาลมีอำนาจอนุญาตยื่นได้หากไม่ใช่การจงใจขาดนัด
กรณีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การตามกำหนดและศาลได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้วนั้นเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยมาศาลและแถลงว่าป่วย จึงมิได้ยื่นคำให้การตามกำหนด โจทก์ไม่คัดค้านเช่นนี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งในรายงานพิจารณาอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ภายในเวลากำหนดโดยไม่จำต้องให้จำเลยทำเป็นคำร้องขอเข้ามาได้ไม่เป็นการผิดวิธีพิจารณาอย่างใด
เมื่อจำเลยยื่นคำให้การเกินเวลาที่ศาลนัดไว้ ศาลควรพิจารณาและมีคำสั่งในการที่จำเลยยื่นคำให้การนั้นไว้เสียก่อน
of 2