พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินย้อนหลังต้องเป็นไปตามกรอบเวลา 5 ปีนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบ
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 19 บัญญัติให้ ผู้รับประเมินจะต้องยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยมาตรา 24 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปี และค่าภาษีที่จะต้องเสียให้พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ผู้รับประเมินโดยไม่ชักช้า นอกจากนี้ มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) ยังบัญญัติว่า ผู้รับประเมินผู้ใดยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ ดังนั้น การแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินย้อนหลังในกรณีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์แล้ว จะต้องกระทำภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในปีภาษีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์ โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แล้ว พนักงานของจำเลยจึงมีหน้าที่ประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้อง หรือไม่บริบูรณ์ ก็ต้องประเมินภาษีย้อนหลังภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ ไม่ใช่ประเมินภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ จำเลยแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึงปีภาษี 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปีแล้ว การประเมินและคำชี้ขาดการประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แม้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ และการอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอน
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า และจำเลยได้ครอบครองอยู่ในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จึงเป็นกรณีครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินดังกล่าว
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม กรณีส่งออกสินค้าอัตรา 0% และไม่มีภาษีเปลี่ยนแปลง
โจทก์กรอกรายการยอดขายที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0ขาดไป 1,000,000 บาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี ให้ถูกต้องครบถ้วน แต่ถ้าไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนก็ยังคงมีหน้าที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งให้ถูกต้อง โดยไม่ต้องชำระภาษีแต่อย่างใด ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/4 คดีนี้ โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศอันเป็นการส่งออกตามนัยมาตรา77/1 (14) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3) แต่ตามมาตรา 80/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรกำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเปลี่ยนแปลงไป ที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 แห่งป.รัษฎากร ดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 (4) และ 89/1 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกสินค้าและหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม แม้ไม่มีภาษีเปลี่ยนแปลง
โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนิเซีย อันเป็นการส่งออกตามประมวลรัษฎากรมาตรา77/1(14)โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81(3)แต่ตามมาตรา81/1(1)กำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ0ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยกรอกรายการยอดขายขาดไป1,000,000บาทแต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นเปลี่ยนแปลงไปที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมมาตรา83/4จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา83(4)และ89/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเมื่อไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ตามมาตรา 71(1) แม้มีการยื่นภายหลัง
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) นั้น เมื่อโจทก์ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534 ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินตามมาตรา71 (1) ทันที การที่ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินจะมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมาถึงโจทก์หรือโจทก์จะได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และปี 2534ต่อเจ้าพนักงานประเมินในภายหลัง ย่อมไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวแต่ประการใด ถ้อยคำในกฎหมายหาได้บัญญัติหรืออาจแปลความว่า เมื่อปรากฏว่าผู้เสียภาษีอากรได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการประเมินเสร็จสิ้น แม้จะเป็นการยื่นภายหลัง 150 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา69 แห่ง ป.รัษฎากรก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินจะต้องใช้อำนาจประเมินด้วยวิธีคำนวณกำไรสุทธิเท่านั้น จะใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71 (1) ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือของยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ไม่ได้เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50แก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อถูกเรียกตรวจสอบ หรือได้ยื่นภายหลังจากที่เจ้าพนักงาน-ประเมินใช้อำนาจประเมินหรือทำการประเมินเสร็จสิ้นแล้วดังที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คลาดเคลื่อน และการลดเบี้ยปรับจากความผิดพลาดในการยื่นแบบ
ในเดือนกรกฎาคม 2535 โจทก์มียอดซื้อเพียง 19,562.69 บาทและมีภาษีซื้อ 1,369.38 บาท โดยยอดซื้อดังกล่าวมียอดซื้อที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เพียง 2,144.87 บาท ขอภาษีคืนตามกฎหมายได้เพียง 150.13 บาท แต่โจทก์ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 แสดงรายการภาษีไว้ผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยแสดงตัวเลขยอดซื้อไว้เป็น 19,562,069 บาท ยอดภาษีซื้อ 1,369,344.83 บาท ภาษีขายไม่มี และขอภาษีคืนเป็นจำนวนเงิน 1,369,344.83 บาท ดังนั้นการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์จึงเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป โจทก์จึงต้องเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 89(4) แม้จะเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาหรือไม่โจทก์ก็ยังคงต้องรับผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ตรวจพบข้อผิดพลาดแล้วโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่เกี่ยวข้องทราบ และได้ให้ความร่วมมือกับจำเลยด้วยดี ทั้งข้อผิดพลาดของโจทก์ก็ยังมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยจึงสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์ลงอีกร้อยละ 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนภาษี: นับจากวันยื่นแบบแสดงรายการ แม้ทายาทจะยื่นภายหลัง
การที่ผู้ต้องเสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว แม้ต่อมาเมื่อผู้ต้องเสียภาษีตาย ทายาทจะไปยื่นเสียภาษีอีกก็ตาม การนับกำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19ก็ต้องนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีครั้งแรก กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ออกหมายเรียกก่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 เป็นเรื่องการกำหนดเงินได้สุทธิ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากมีการไต่สวนแล้ว ส่วนกรณีที่จะออกหมายเรียกมาไต่สวนนั้น เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 หรือ 23 แล้วแต่กรณี ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประเมินภาษีการค้า: กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการค้าเป็นสำคัญ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) ซึ่งกำหนดว่าการประเมินภาษีการค้าให้กระทำได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดง รายการการค้า หมายความว่า ในกรณีที่มีกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้หลายวันก็ให้นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลานั้น ส่วนในกรณีที่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าได้กำหนดไว้แน่นอนเป็นวันหนึ่งวันใดโดยเฉพาะเพียงวันเดียว แล้ว ก็ย่อมต้องถือว่าวันที่กำหนดไว้แน่นอนนั้นเป็นวันสุดท้าย การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้กำหนดไว้แน่นอนนั้น
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้าเรื่องกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการการค้าและการชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกครั้งที่มีการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและชำระภาษีในวันนำเข้าซึ่งเป็นเพียงวันเดียวที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วการนับระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (2) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้มีเอกสารสิทธิทางการฑูต ซื้อสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บนซึ่งไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่เปลี่ยนเป็นการยื่นบัญชีเล็ดเยอร์ใบประทวนของใช้ในบ้านเมืองแทนเมื่อจะปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ต้องถือว่าวันปล่อยของออกคือวันที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแม้โจทก์จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแต่เจ้าพนักงานทำการประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนการประเมินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย มาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร.
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้าเรื่องกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการการค้าและการชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกครั้งที่มีการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและชำระภาษีในวันนำเข้าซึ่งเป็นเพียงวันเดียวที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วการนับระยะเวลาตามมาตรา 88 ทวิ (2) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้มีเอกสารสิทธิทางการฑูต ซื้อสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บนซึ่งไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า แต่เปลี่ยนเป็นการยื่นบัญชีเล็ดเยอร์ใบประทวนของใช้ในบ้านเมืองแทนเมื่อจะปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ต้องถือว่าวันปล่อยของออกคือวันที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแม้โจทก์จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแต่เจ้าพนักงานทำการประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันปล่อยของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนการประเมินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย มาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันภาษีตาม พรฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 แม้เลิกกิจการแล้วก็สามารถใช้สิทธิได้หากยื่นแบบภายในกำหนด
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 เป็นบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรสำหรับเงินได้รายรับที่มีอยู่ก่อนปีภาษี 2527 หรือในปีภาษี 2527หรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม2527 ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2529เป็นระยะเวลา 6 เดือน หากผู้ใดยื่นคำขอเสียภาษีภายในเวลาดังกล่าวและได้ชำระภาษีอากรภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดนั้นแล้ว ก็เป็นอันได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบไต่สวน การประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากร ตลอดจนได้รับยกเว้นความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรความตอนท้ายของบทบัญญัติมาตรานี้บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าผู้ใดที่ยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์และเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่ได้รับการผ่อนผันสำหรับเงินได้หรือรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสียไว้นั้น
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับแล้ว เมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2529อันเป็นเวลาภายในระยะเวลาตามที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติไว้ จำเลยจึงไม่ต้องเสียภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน
การคำนวณภาษีอากรตามมาตรา 30 ดังกล่าวกำหนดไว้เป็น2 กรณีกรณีแรกเป็นเรื่องคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด กรณีหลังหากไม่มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องคำนวณจากยอกเงินได้ถัวเฉลี่ยย้อนหลังตามจำนวนปีที่มีเงินได้หรือรายได้แต่ไม่เกิน 5 ปีก่อนปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเสร็จสิ้นการชำระบัญชีในวันที่31 ธันวาคม 2527 เท่านั้น จึงจะถือว่ามีทรัพย์สินสุทธิที่จะเปรียบเทียบเงินได้เฉลี่ย
จำเลยแจ้งเลิกกิจการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2526 และเสร็จสิ้นการชำระบัญชีวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 การที่จำเลยยื่นคำขอเสียภาษีอากรต่อเจ้าพนักงานประเมินโดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ถัวเฉลี่ย 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523-2526โดยเปรียบเทียบกับยอดทรัพย์สินสุทธิในวันที่ 30 กันยายน 2526ซึ่งเป็นวันเลิกกิจการ เป็นการเสียภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว.
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีของจำเลยเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับแล้ว เมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2529อันเป็นเวลาภายในระยะเวลาตามที่มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติไว้ จำเลยจึงไม่ต้องเสียภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน
การคำนวณภาษีอากรตามมาตรา 30 ดังกล่าวกำหนดไว้เป็น2 กรณีกรณีแรกเป็นเรื่องคำนวณจากมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด กรณีหลังหากไม่มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องคำนวณจากยอกเงินได้ถัวเฉลี่ยย้อนหลังตามจำนวนปีที่มีเงินได้หรือรายได้แต่ไม่เกิน 5 ปีก่อนปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดลงก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2527 โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเสร็จสิ้นการชำระบัญชีในวันที่31 ธันวาคม 2527 เท่านั้น จึงจะถือว่ามีทรัพย์สินสุทธิที่จะเปรียบเทียบเงินได้เฉลี่ย
จำเลยแจ้งเลิกกิจการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2526 และเสร็จสิ้นการชำระบัญชีวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 การที่จำเลยยื่นคำขอเสียภาษีอากรต่อเจ้าพนักงานประเมินโดยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายได้ถัวเฉลี่ย 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523-2526โดยเปรียบเทียบกับยอดทรัพย์สินสุทธิในวันที่ 30 กันยายน 2526ซึ่งเป็นวันเลิกกิจการ เป็นการเสียภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเลี่ยงภาษี การยื่นแบบไม่ครบถ้วนแตกต่างจากไม่ยื่นเลย ศาลยกฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า (ภ.ด.(พ) 4) ทำให้ภาษีการค้าขาดไป ไม่ใช่กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าแล้วยื่นไม่ครบแต่ประการใด แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในกรณีความผิดที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ทวิ หาใช่กรณีที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าอันเป็นเท็จโดยวิธียื่นขาดไปไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 37 ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยื่นเสียภาษีการค้าตลอดมาทุกเดือน เพียงแต่บางเดือนจำเลยยื่นไม่ครบ บางเดือนก็ยื่นเกินกว่ารายรับ จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192