คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้ายงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839-4840/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างขาดงานและมีประวัติอาญา
ผู้คัดค้านเป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่ส่งสินค้าให้ลูกค้าของผู้ร้องซึ่งโดยสภาพของงานเห็นได้ว่าการส่งสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าให้ตรงเวลาเป็นส่วนสำคัญของงาน ผู้คัดค้านขาดงานหมายถึงผู้คัดค้านหยุดงานไปโดยไม่ลาและไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน อันเป็นการละทิ้งการงานไป ผู้คัดค้านมีสถานะเป็นลูกจ้างของผู้ร้องมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างโดยสม่ำเสมอและไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ แต่ในปี 2544 ผู้คัดค้านขาดงานถึง 10 วัน ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการหาคนมาทำงานแทนโดยกะทันหัน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านส่อชี้ถึงความไม่รับผิดชอบต่องานในหน้าที่พนักงานขับรถซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้าสู่กิจการของผู้ร้อง ประกอบกับปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางและคำร้องของ ศ. ภริยาผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ที่จังหวัดจันทบุรี จึงมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจให้ผู้คัดค้านยึดถือรถยนต์ น้ำมันรถ และสินค้าของผู้ร้องเพื่อไปส่งให้แก่ลูกค้าต่อไป ซึ่งเป็นเหตุอันเกิดแต่ตัวผู้คัดค้านที่เป็นกรรมการลูกจ้างเอง มีเหตุสมควรที่จะย้ายงานผู้คัดค้านจากพนักงานขับรถไปทำงานในแผนกตัดและซอยเทป แต่ทั้งนี้ให้ผู้คัดค้านได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเสนอเงินช่วยเหลือเพื่อแลกกับการลาออกและการสั่งย้ายงานเพื่อกลั่นแกล้ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 แล้วว่า ก่อน ณ. ผู้จัดการโรงงานจะมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานที่บริษัท พ. และบริษัท ม. ณ. ได้ยื่นข้อเสนอว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำ หากโจทก์ทั้งแปดลาออกจำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ เมื่อโจทก์ทั้งแปดไม่ยอมลาออก จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมาในบริษัทดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ได้นำสืบตามฟ้องแล้วและศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์แล้วเช่นกันส่วนที่ศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเสนอเงินช่วยเหลือโจทก์ถ้าโจทก์ลาออกนั้นเป็นเพียง ยกข้อเท็จจริงขึ้นมาเพื่อให้มีเหตุผลสนับสนุนในการรับฟัง ข้อเท็จจริงได้หนักแน่นขึ้นว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งแปด ไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นการรับฟัง ข้อเท็จจริงนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานและค่าจ้างในเวลาพัก: สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างไม่จัดเวลาพักตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 อุทธรณ์ว่า คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ย้ายไปทำงานในหน้าที่ใหม่ทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ต้องรับภาระในการทำงานหนักขึ้นและขาดประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานจึงขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้นศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 5ย้ายมาทำงานในหน้าที่ใหม่แล้ว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 5 ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานน้อยลงจากเดิมและลักษณะงานที่โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ต้องทำในหน้าที่ใหม่ไม่หนักขึ้นกว่าเดิม อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 5 ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักวันละ1 ชั่วโมง แม้จะไม่ชอบด้วยประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 6 แต่ก็เป็นเรื่องที่ลูกจ้างจะฟ้องขอให้บังคับนายจ้างปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหรือจ่ายค่าจ้างในเวลาพัก เมื่อการสั่งโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างไม่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างลูกจ้างจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายจ้างและให้ลูกจ้างกลับไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ทำงานโดยมิได้จัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2537 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2537 และวันที่16 กุมภาพันธ์ 2537 ตามลำดับ และจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในเวลาพักให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 วันละ 1 ชั่วโมงตราบใดที่จำเลยยังให้โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ทำงานโดยมิได้จัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 อยู่ตลอดไปโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ย่ามมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าจ้างดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะจัดให้มีเวลาพัก1 ชั่วโมงแต่สำหรับโจทก์ที่ 3 ได้ออกจากงานไปแล้วจึงมีสิทธิที่จะได้ค่าจ้างดังกล่าวจนถึงวันสุดท้ายก่อนออกจากงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานพนักงานระดับเดียวกัน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ทั้งหกแม้ตามสำเนาใบสมัครงานของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3และโจทก์ที่ 5 จะระบุว่าโจทก์ที่ 1 สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานห้องซักผ้า โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 และโจทก์ที่ 5สมัครทำงานในตำแหน่งพนักงานซักรีดผ้าเครื่องใหญ่ก็ตามก็เป็นเรื่องโจทก์แสดงความประสงค์จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เท่านั้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศรับสมัครพนักงาน ในตำแหน่งดังกล่าว เมื่อจำเลยรับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 เข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญา ว่าจะให้โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่อย่างเดียว เช่นเดียวกับเมื่อจำเลย รับโจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 เข้าทำงาน โดยเฉพาะ โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 6 นั้นเมื่อสมัครเข้าทำงานกับจำเลย ก็มิได้ระบุว่าจะขอทำงานในตำแหน่งใดแผนกใด ดังนี้ การที่จำเลยจะรับโจทก์ทั้งหกเข้าทำงานและให้ทำงานในตำแหน่ง พนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดมา ก็ไม่เป็นการผูกมัดจำเลย ว่าจะต้องให้โจทก์ทั้งหกทำงานในตำแหน่งพนักงานรีดผ้าเครื่องใหญ่ตลอดไป นอกจากนี้ งาน ใน ตำแหน่งรีดผ้าเครื่องใหญ่แผนกห้องผ้าหรือซักรีด และงานตำแหน่งพนักงานทำความสะอาด แผนกทำความสะอาด ต่างก็อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถเป็นพิเศษ พนักงานในแผนกหนึ่งย่อมสามารถสับเปลี่ยน ไป ทำงานในอีกแผนกหนึ่งได้ และเหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ ไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็เพราะพนักงานรีดผ้า โดยเครื่องรีดและพับผ้าอัตโนมัติที่จำเลยติดตั้งใหม่ ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากดังแต่ก่อน และเป็นเรื่องที่จำเลย จัดการบริหารงานบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย ส่วนค่าจ้างและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งหก เมื่อย้ายไปอยู่แผนกทำความสะอาดก็มิได้ลดลงกว่าเดิม ทั้งจำเลยย้ายโจทก์ทั้งหกไปอยู่แผนกทำความสะอาดนี้ มิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การที่จำเลย ย้ายโจทก์ทั้งหกจากแผนกห้องผ้าหรือซักรีดไปอยู่แผนกทำความสะอาดจึงไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างของโจทก์ทั้งหก จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีอำนาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671-675/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยและบริษัท บ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีผู้บริหารชุดเดียวกัน แต่บริษัทดังกล่าวก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันการที่จำเลยเลิกกิจการแล้วมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานที่บริษัท บ. โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยต้องมีเหตุผลอันสมควร การย้ายงานที่ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และสิทธิในการรับโบนัส/ขึ้นเงินเดือน
ผู้บังคับบัญชาถามโจทก์ว่า วันเสาร์นี้ว่างหรือไม่ จะให้พาชาวต่างประเทศไปชมโรงงาน โจทก์ซึ่งปกติเป็นคนพูดเสียงดังได้ตอบทันทีด้วยเสียงอันดังและต่อหน้าพนักงานอื่นว่าว่าง แต่ไม่ไป เพราะไม่ได้โอ.ที. อยู่บ้านทำบัญชีดีกว่า เพียงเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่า กิริยาวาจาของโจทก์เป็นการไม่สุภาพเรียบร้อย
โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนเพราะกระทำผิดวินัยฐานมีกิริยาวาจาไม่สุภาพเรียบร้อยเพียงประการเดียว เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดวินัย และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนข้ออื่น ๆ อีกหลายข้อที่จำเลยยังไม่ได้พิจารณา ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยพิจารณาจ่ายเงินโบนัสและการขึ้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของการพิจารณาในเรื่องทั้งสองนั้นใหม่
ตามคำสั่งจ้างโจทก์ หนังสือสัญญาจ้าง และข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีอำนาจที่จะพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ไปดำรงตำแหน่งในส่วนงานต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม หาได้จ้างโจทก์ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะไม่ เมื่อได้ความว่าตำแหน่งใหม่เท่ากับตำแหน่งเดิม ค่าจ้างเท่าเดิม การย้ายโจทก์จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยมีสิทธิและอำนาจที่จะย้ายโจทก์ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาโบนัส/ขึ้นเงินเดือนใหม่
ผู้บังคับบัญชาถามโจทก์ว่า วันเสาร์นี้ว่างหรือไม่ จะให้พาชาวต่างประเทศไปชมโรงงาน โจทก์ซึ่งปกติเป็นคนพูดเสียงดังได้ตอบทันทีด้วยเสียงอันดังและต่อหน้าพนักงานอื่นว่าว่าง แต่ไม่ไป เพราะไม่ได้ โอ.ที. อยู่บ้านทำบัญชีดีกว่า เพียงเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่า กิริยาวาจาของโจทก์เป็นการไม่สุภาพเรียบร้อย
โจทก์ไม่ได้รับการพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนเพราะกระทำผิดวินัยฐานมีกิริยาวาจาไม่สุภาพเรียบร้อยเพียงประการเดียว เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำผิดวินัย และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายโบนัสและขึ้นเงินเดือนข้ออื่นๆ อีกหลายข้อที่จำเลยยังไม่ได้พิจารณา ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยพิจารณาจ่ายเงินโบนัสและการขึ้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ของการพิจารณาในเรื่องทั้งสองนั้นใหม่
ตามคำสั่งจ้างโจทก์ หนังสือสัญญาจ้าง และข้อบังคับของจำเลยจำเลยมีอำนาจที่จะพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ไปดำรงตำแหน่งในส่วนงานต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม หาได้จ้างโจทก์ในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะไม่ เมื่อได้ความว่าตำแหน่งใหม่เท่ากับตำแหน่งเดิม ค่าจ้างเท่าเดิม การย้ายโจทก์จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จำเลยมีสิทธิและอำนาจที่จะย้ายโจทก์ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานให้บริษัทอื่นถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ลักษณะงานเดิม
การที่จำเลยให้โจทก์ไปทำงานกับอีกบริษัทหนึ่ง แม้การทำงานของโจทก์ในบริษัทใหม่จะเป็นการทำงานเช่นเดิมในสถานที่เดิมก็เป็นงานของบริษัทใหม่ โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลย ถือว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน อันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานข้ามบริษัทในเครือถือเป็นการเลิกจ้าง และสิทธิในการรับค่าชดเชย รวมถึงค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
เหตุที่จำเลยย้ายโจทก์ไปทำงานที่บริษัทอื่นก็เนื่องมา จากจำเลยไม่พอใจผลงานของโจทก์ แม้บริษัทนั้นจะอยู่ในเครือเดียวกันกับจำเลยแต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกันในการเข้าทำงานโจทก์ก็ต้องทำสัญญาเป็นการตกลงจ้างกันใหม่ การย้ายดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ต่อไปหรือให้โจทก์ออกจากงาน ถึงหากโจทก์จะสมัครใจทำงานใหม่ก็เป็นการสมัครใจหลังจากที่จำเลยไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ต่อไปแล้วและหาได้มีข้อความใดเป็นการตกลงให้นับระยะเวลาทำงานกับจำเลยต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานกับบริษัทใหม่ไม่ จึงมิใช่เป็นการสมัครใจย้ายที่ทำงานของโจทก์ หากเป็นผลจากการเลิกจ้างของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลย
เมื่อจำเลยจ่ายค่าพาหนะและค่าคอมมิชชั่นให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน มิใช่เป็นครั้งคราว หรือโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากโจทก์มิได้ไปติดต่อลูกค้านอกสถานที่ทำงานจะไม่ได้รับค่าพาหนะและค่าคอมมิชชั่น และจำเลยได้จ่ายเช่นนี้มาตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานจนเลิกจ้างจึงถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน อันเป็นค่าจ้างเพียงแต่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นเท่านั้น จึงต้องนำเงินนี้มารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
ข้อบังคับของจำเลยมีความว่า พนักงานที่ทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี มีสิทธิพักผ่อนประจำปี โดยได้รับค่าจ้างเต็มวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ ได้ใช้จะเก็บสะสมไว้ในปีต่อไปไม่ได้ดังนี้พนักงานที่ทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี กับ 1 วัน ก็ย่อมมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ไม่จำต้องทำงานต่อไปจนครบอีก1 ปี และการที่พนักงานมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นก็เป็นแต่เพียงจะนำไปเก็บสะสม ไว้ใช้ในปีต่อไปไม่ได้เท่านั้นเองหาเสียสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอีกไม่
of 2