พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางภาระจำยอม การสิทธิภาระจำยอมยังคงอยู่แม้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญา
เดิม ค.สามีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของ พ.ทางด้านทิศตะวันออกออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า10 ปี ที่ดินของ พ.ดังกล่าวจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ค.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382 ต่อมา พ.ขอให้ ค.ย้ายทางภาระจำยอมเดิมมายังทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของ พ. ซึ่งประสงค์จัดสรรที่ดินขาย ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแทนทางเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1392 เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์มาจาก ค. และโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินจาก พ.ซึ่งมีทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ให้เปิดทางพิพาทและจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมประการหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391วรรคแรก
โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมมิใช่ถือวิสาสะ จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค.เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภาระจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ
เหตุที่ พ.ขอให้ ค.ย้ายทางภาระจำยอมนั้นเนื่องจาก พ.จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภาระจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภาระจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ ค.เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้
โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค.กับโจทก์ แม้ว่า ค.จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมมิใช่ถือวิสาสะ จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค.เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภาระจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ
เหตุที่ พ.ขอให้ ค.ย้ายทางภาระจำยอมนั้นเนื่องจาก พ.จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภาระจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภาระจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ ค.เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้
โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค.กับโจทก์ แม้ว่า ค.จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทางภารจำยอม การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง และผลของการย้ายทางภารจำยอม
เดิม ค. สามีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของ พ. ทางด้านทิศตะวันออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี ที่ดินของ พ.ดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ค. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382ต่อมา พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมเดิมมายังทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของ พ. ซึ่งประสงค์จัดสรรที่ดินขายทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินสามยทรัพย์มาจาก ค. และโจทก์ที่ 2ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินจาก พ. ซึ่งมีทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์ให้เปิดทางพิพาทและจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการจดทะเบียนภารจำยอมนั้นถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 วรรคแรก โจทก์ทั้งสองใช้ทางเดินในที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมมิใช่ถือวิสาสะจนได้ภารจำยอมโดยอายุความแล้ว แม้โจทก์ที่ 1 จะทราบหรือไม่ทราบระหว่างโจทก์ที่ 1 หรือ ค. เจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์ที่ 1 รับโอนที่ดินมา ผู้ใดเป็นผู้ได้สิทธิภารจำยอมตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เหตุที่ พ.ขอให้ค. ย้ายทางภารจำยอมนั้นเนื่องจากพ. จะนำที่ดินแปลงที่เป็นภารยทรัพย์มาจัดสรรขาย ดังนั้นการย้ายทางภารจำยอมไปใช้ทางพิพาทจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ พ. การย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการที่ค. เจ้าของที่ดินแปลงที่เป็นสามยทรัพย์ตกลงจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ พ.ก็เป็นค่าตอบแทนในส่วนที่ค.จะได้ใช้ทางพิพาทกว้างขึ้นจากเดิมนั้น คู่กรณีย่อมสามารถตกลงกันด้วยความสมัครใจได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงสามารถสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงดังกล่าวเพื่ออธิบายประกอบให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคู่กรณีได้ โจทก์ทั้งสองได้ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ และโจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ มิใช่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่าง ค. กับโจทก์แม้ว่า ค. จะผิดสัญญาการชำระเงินหรือไม่ก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทของโจทก์ทั้งสองที่มีอยู่สิ้นไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองทุกแปลง ตามรายละเอียดในแผนที่เอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์อ้างส่ง แต่ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ระบุเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่ครบทุกแปลงโดยไม่ระบุที่ดินตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 ด้วย ย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 1 แปลงดังกล่าวนั้นไร้ผล เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการย้ายทาง ฎีกาชี้ว่าการใช้ทางต่อเนื่องโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของสิทธิ ทำให้เกิดภารจำยอมได้ แม้มีการย้ายทาง
ทางที่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินแปลงอื่นโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบมาตรา 1382 แล้ว ต่อมามีการย้ายทาง ไปยังส่วนอื่นของที่ดินแปลงนั้น ก็ต้องถือว่าทางนั้นตกเป็นภารจำยอมแทนทางภารจำยอมเดิมตามมาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภารจำยอม: ศาลพิจารณาความสะดวก, ประโยชน์เจ้าของที่ดิน, และเจตนารมณ์ประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ทางภารจำยอมเดิมเป็นที่ต่ำยามฝนตกน้ำท่วมขังต้องใช้ไม้พาดเป็นทางเดินส่วนทางที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์สร้างขึ้นใหม่เป็นคอนกรีตเดินได้ทุกฤดูกาลสะดวกกว่าทางภารจำยอมเดิมแม้จะคดโค้งหักงอเป็นข้อศอกแต่ก็ไม่ทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นมากนักเมื่อพิจารณาถึงความสะดวกของเส้นทางดังกล่าวซึ่งมีมากกว่าทางภารจำยอมเดิมประกอบกับประโยชน์ที่เจ้าของภารยทรัพย์ได้รับจากการปลูกสร้างบ้านในบริเวณที่เหมาะสมภายในที่ดินของตนโดยไม่ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไว้ให้เสียหายรวมตลอดถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1392ที่ต้องการให้เป็นหลักประนีประนอมอันดีระหว่างประโยชน์ของเจ้าของภารยทรัพย์และความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ไม่ให้ถือเคร่งตามสิทธิเกินไปการย้ายทางภารจำยอมไปยังทางที่สร้างขึ้นใหม่จึงไม่ทำให้ความสะดวกของจำเลยลดน้อยลงโจทก์จึงเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายภารจำยอม: ศาลพิจารณาความสะดวกของผู้ใช้ทางและผลกระทบต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
ตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่าการย้ายภารจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612ของจำเลยที่ 5 ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงประการใดบ้าง เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าการย้ายภารจำยอมดังกล่าวทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงเท่านั้นและทางที่เปิดเป็นภารจำยอมขึ้นใหม่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24612ก็ปรากฏว่าเป็นทางเชื่อมต่อกับที่ดินว่างเปล่าพื้นเทคอนกรีตในที่ดินโฉนดเลขที่ 1157 ของจำเลยที่ 1 ออกสู่ถนนโดยสะดวกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ดำเนินการปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทเดิมตั้งแต่ปี 2525 หากทางพิพาทเป็นทางที่โจทก์ที่ 2และที่ 3 ผ่านเข้าออกโดยสะดวกอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ที่ 2 และที่ 3ก็น่าจะรีบดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำทางพิพาทในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2ก็เพิ่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2527โดยมีโจทก์ที่ 3 ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และโจทก์ที่ 2และที่ 3 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 มาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังซึ่งเป็นเวลาหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างตึกแถวนานถึง 2 ปี และเป็นเวลาหลังจากทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเป็นเวลาหลังจากโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10ไปแล้วอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทางพิพาทที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ใช้ผ่านเข้าออกมาแต่เดิมนั้นไม่ใช่ทางที่ผ่านเข้าออกโดยสะดวกถือได้ว่าการย้ายภารจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5 ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ลดน้อยลง นอกจากนี้ก็ปรากฏว่าตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทกว้างประมาณ 3 ถึง 4 เมตร จำนวนตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาก็มีถึง 12 คูหา ซึ่งเห็นได้ว่าหากมีการรื้อตึกแถวในส่วนที่รุกล้ำเข้ามาทุกคูหาย่อมเกิดความเสียหายมาก การย้ายภารจำยอมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และเป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภารจำยอม: การยินยอมของเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ทางภารจำยอมย้ายไปยังเส้นทางใหม่ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ต่อมาจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทางภารจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภารจำยอมแทนทางเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายทางภารจำยอม: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี ทำให้เกิดภารจำยอม เมื่อเจ้าของภารยทรัพย์ขอเปลี่ยนเส้นทาง ย่อมเกิดภารจำยอมใหม่ตามเส้นทางที่ตกลง
การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทกว่า 10 ปี ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยขอให้โจทก์ย้ายทางภารจำยอมมายังส่วนอื่นของที่ดินจำเลยเพื่อประโยชน์ของจำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ ทางเส้นใหม่นี้จึงตกเป็นทางภารจำยอมแทนทางเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมอาจเกิดจากการใช้ทางโดยถือสิทธิ อายุความ และการย้ายทางที่กฎหมายอนุญาต
ภารจำยอมนั้นอาจเกิดจากการยินยอมให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อนครั้นเมื่อได้เริ่มใช้ทางตามที่ตกลงกันนั้นแล้ว หากผู้ใช้ใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตลอดมา ผู้ใช้ทางอาจได้ภารจำยอมมาโดยอายุความได้
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมเกิดจากการใช้ทางโดยอาการเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องกัน อาจได้มาโดยอายุความ แม้มีการย้ายทาง
ภารจำยอมนั้นอาจเกิดจากการยินยอมให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อน ครั้นเมื่อได้เริ่มใช้ทางตามที่ตกลงกันนั้นแล้ว หากผู้ใช้ใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตลอดมา ผู้ใช้ทางอาจได้ภารจำยอมมาโดยอายุความได้
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
บิดาโจทก์ได้ใช้ทางเดินบนที่ดินของจำเลยโดยอาการที่ถือว่าตนมีสิทธิจะใช้ และได้ย้ายทางเดินดังกล่าวจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นถึงสองครั้ง เนื่องจากจำเลยปลูกบ้านทับทางเดิม การย้ายทางของบิดาโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1392 เมื่อคดีปรากฏว่าบิดาโจทก์เข้าใช้สิทธิผ่านที่ดินของจำเลยติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึง พ.ศ.2504 จึงได้เปลี่ยนไปใช้ทางพิพาทตลอดมาจนบิดาโจทก์ตายเมื่อ พ.ศ.2509 แล้ว โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมารวมเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่ดินของจำเลยย่อมตกอยู่ในภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภารจำยอม ทางจำเป็น และสิทธิในการเปลี่ยนย้ายทาง
เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวแต่ต่อมาได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงและแบ่งขายไป อายุความได้ภารจำยอมในทางเดินภายในที่ดินแปลงเหล่านี้ ต้องเริ่มนับแต่เมื่อได้มีการแบ่งแยกที่ดินและโอนกรรมสิทธิ์กันแล้ว
เมื่อที่ดินโฉนดเดียวได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลง และที่ดินบางแปลงไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงที่ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินโฉนดเดิมได้ในฐานะที่เป็นทางจำเป็น
เจ้าของที่ดินที่ทางจำเป็นผ่านอาจเปลี่ยนย้ายทางจำเป็นได้ ถ้าไม่ทำให้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องเสียความสะดวกในการออกสู่ทางสาธารณะ
เมื่อที่ดินโฉนดเดียวได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลง และที่ดินบางแปลงไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงที่ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินโฉนดเดิมได้ในฐานะที่เป็นทางจำเป็น
เจ้าของที่ดินที่ทางจำเป็นผ่านอาจเปลี่ยนย้ายทางจำเป็นได้ ถ้าไม่ทำให้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องเสียความสะดวกในการออกสู่ทางสาธารณะ