คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รวมสำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาหลายสำนวนรวมกัน ศาลไม่ต้องวินิจฉัยข้ออุทธรณ์เป็นรายสำนวน
คดีอาญาที่รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หามีกฎหมาย บทใดกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยคดีเป็นรายสำนวนไม่ คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็น รายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260-10273/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: พิจารณาจากระยะเวลาโครงการ ไม่ใช่ระยะเวลาสัญญาจ้าง และการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวน
จำเลยที่6เป็นเพียงกิจการร่วมค้าระหว่างจำเลยที่1และที่2และจำเลยที่6ได้จดทะเบียนในฐานะเป็นผู้ประกอบการต่อกรมสรรพากรเท่านั้นจำเลยที่6จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะถูกฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ศาลแรงงานวินิจฉัยจากพยานโจทก์ทั้งสิบสี่และจำเลยที่1และที่2แล้วฟังว่าจำเลยที่1และที่2เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบสี่จำเลยที่1และที่2อุทธรณ์อ้างว่าการวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจ้างที่โจทก์ทั้งสิบสี่อ้างส่งศาลเป็นการไม่ชอบเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่14)ลงวันที่16สิงหาคม2536ข้อ46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างและในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอนส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ทำสัญญาจ้างไว้นั้นซึ่งมีงานอยู่3ประเภทแต่ในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่าซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีคำว่างานนั้นย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน2ปีดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่หากหมายถึงระยะเวลาการจ้างก็ต้องระบุไว้ในวรรคสามซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างการที่นำระยะเวลางานมากำหนดในวรรคสี่จึงทำให้เห็นได้ว่าหมายถึงระยะเวลาของงานทั้งสามประเภทนั่นเองเมื่องานที่จำเลยที่1และที่2ต้องกระทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมีกำหนดระยะเวลาสามปีเกินกว่า2ปีแม้จะเป็นงานในโครงการเฉพาะหรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจำเลยที่1และที่2ก็ไม่ได้รับยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้คดีทั้งสิบสี่สำนวนซึ่งมีโจทก์แต่ละคนเป็นโจทก์แต่ละสำนวนรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าเป็นคดีเดียวกันแล้วข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาจึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสิบสี่สำนวนศาลย่อมนำข้อเท็จจริงนั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความทั้งหมดในสำนวนได้โจทก์ทั้งสิบสี่เป็นคู่ความในสำนวนย่อมได้รับผลจากคำวินิจฉัยด้วยแม้โจทก์บางคนจะไม่ได้เข้าเบิกความก็ตามจึงชอบที่ศาลแรงงานพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์อื่นที่ไม่ได้เข้าเบิกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในคดีอาญา แม้รวมสำนวนการไม่มาศาลยังคงมีผล
การไต่สวนมูลฟ้องหรือการสืบพยานโจทก์ในคดีอาญา โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องมาศาลในนัดต่อมา หากศาลเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องหรือการสืบพยานโจทก์ไปเนื่องจากยังไม่เสร็จในนัดแรก และการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เข้ากับคดีที่โจทก์ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้อง ก็เป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษา เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ร่วมทั้งสามแม้โจทก์ที่ 3 มาศาล ก็หาทำให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องมาศาล ตามกำหนดนัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อศาลมิได้รวมสำนวนคดีทุจริต และโทษรวมเกินกำหนดตามกฎหมาย
คดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโจทก์อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ ถ้าโจทก์ยกฟ้องและศาลสั่งให้พิจารณารวมกันศาลลงโษได้ไม่เกินกำหนดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 หากศาลมิได้สั่งให้พิจารณารวมกันและลงโทษทุกกรรมเต็มตามกำหนดในมาตราดังกล่าวทั้งสองสำนวน ศาลก็จะนับโทษต่อไม่ได้ เมื่อคดีที่ขอให้นับโทษต่อศาลจำคุก 20 ปีเต็มตามกำหนดในมาตรา91 คดีถึงที่สุดแล้ว และคดีนี้ศาลก็จำคุก 20 ปี ดังนี้ นับโทษต่อไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน และการพิจารณาโทษบรรเทาตามมาตรา 78
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหกสำนวน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้องฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎีกา ของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึงข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใดไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมสำนวนความผิดเกี่ยวเนื่องกัน ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงในทุกสำนวน และวินิจฉัยการบรรเทาโทษ
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้กระทำผิดในเรื่องเดียวกันหกสำนวน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้องฟังรวมเป็นคดีเดียวกันเมื่อศาลฎีกาได้ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัย แม้ฎีกาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึงข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใดไม่เป็นความผิด ศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214-1219/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมสำนวน - อำนาจวินิจฉัยศาลฎีกา - ข้อเท็จจริง - ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ กระทำผิดในเรื่องเดียว กันหกสำนวนซึ่ง เกี่ยวเนื่องกันและศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียว กัน การฟังพยานหลักฐานก็ต้อง ฟังรวมเป็นคดีเดียว กันเมื่อศาลฎีกาได้ ยกปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ร่วมสำนวนที่ 3 ที่ 4และที่ 6 ขึ้นวินิจฉัยแม้ฎี กาของจำเลยในข้ออื่นจะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในสำนวนของโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ และย่อมมีอำนาจพิจารณาไปถึง ข้อเท็จจริงในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ซึ่ง ต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ด้วย หากการกระทำของจำเลยในสำนวนใด ไม่เป็นความผิดศาลฎีกาก็ย่อมยกฟ้องได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057-4062/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกที่ถูกต้องเมื่อมีการรวมสำนวนคดีอาญา และการหักวันต้องขังตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญารวมเจ็ดสำนวน ศาลชั้นต้นสั่งรวมพิจารณาและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทุกสำนวนและให้นับโทษต่อกันตามลำดับสำนวนทุกสำนวน เช่นนี้ จำเลยจะขอให้ศาลหักวันต้องขังให้จำเลยในแต่ละสำนวนทั้งเจ็ดสำนวนไม่ได้ เป็นการขัดกับความจริงและทำให้จำเลยได้รับโทษจำคุกไม่เป็นไปตามคำพิพากษาเพราะจำเลยถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาตามหมายของศาลฉบับเดียวเท่านั้น และศาลชั้นต้นก็ได้ออกหมายจำคุกนับตั้งแต่วันที่จำเลยถูกคุมขังเป็นต้นไปซึ่งเท่ากับหักวันที่จำเลยถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 22 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2957-2966/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีแรงงานและการสอบถามคำให้การจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสิบสำนวนเป็นนิติบุคคลรายเดียวกัน ศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 1 ถึงสำนวนที่ 9 ซึ่งจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนาย และคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้ว ต่อมาศาลสั่งรวมพิจารณาสำนวนที่ 10 เข้ากับสำนวนทั้งเก้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายและคำให้การในสำนวนที่ 10 ซึ่งน่าจะเป็นเพราะหลงลืมหรือพลั้งเผลอ ดังนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 39 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสอบถามคำให้การด้วยวาจาของจำเลยสำนวนที่ 10 และบันทึกไว้หากจำเลยไม่ยอมให้การ ศาลไม่ปฏิบัติเกี่ยวกับจำเลยสำนวนที่ 10 ตามที่กฎหมายกำหนดหน้าที่ และสั่งสืบพยานโจทก์สำนวนที่ 10 ไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสำนวนที่ 10ประสงค์จะให้การหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238-1239/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีและการรอการลงโทษตามมาตรา 56 ประมวลกฎหมายอาญา กรณีโทษแต่ละสำนวนไม่เกิน 2 ปี
ในกรณีที่ศาลรวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่จำเลยคนเดียวกันถูกฟ้องตั้งแต่ 2 สำนวนขึ้นไป คำว่า "ในคดีนั้น" ในตอนต้นของมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมายถึงคดีแต่ละสำนวนเป็นรายคดี เมื่อกำหนดโทษจำคุกที่ศาลลงแก่จำเลยในแต่ละสำนวนตามที่ได้ลดโทษให้แล้วไม่เกิน 2 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษได้ถ้าเห็นเป็นการสมควร
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2518 )
of 3