พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกตลอดชีวิตกับโทษจำคุกมีกำหนดเวลา ต้องพิจารณาโทษที่แท้จริงหลังลดโทษแล้ว
คำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต" ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริงๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวม ศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น แต่คดีนี้โทษจำคุกตลอดชีวิตของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายที่ศาลล่างทั้งสองนำมารวมกับโทษที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นนั้น มิใช่โทษจำคุกตลอดชีวิตที่จะนำมาลงแก่จำเลยทั้งสองจริงๆ เนื่องจากยังจะต้องมีการลดโทษให้จำเลยทั้งสองกึ่งหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุกตลอดชีวิตของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และโทษจำคุก 12 ปี และ 8 ปี ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมารวมกันแล้ว คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิตก่อนลดโทษให้จำเลยทั้งสองนั้น จึงไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 91 (3) แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้รวมโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 กรณีอัตราโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี
บทบัญญัติที่ว่า กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) หมายความถึง อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย หาใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดในการลงโทษไม่ คดีนี้ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 91 (2) แม้ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็หาทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษและผลกระทบต่อการรวมโทษ: ความผิดต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษเท่านั้น
ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อความปรากฏแก่ศาลเองหรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตาม มาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังแล้วแต่กรณี ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้ คดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 117/2547 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 117/2547 ของศาลชั้นต้น การกระทำความผิดของจำเลยคดีหลังนี้ จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายกระทง และข้อยกเว้นการปรับบท ป.อ. มาตรา 91(2) กรณีคดีความผิดไม่เกี่ยวพันกัน
ป.อ. มาตรา 91 (2) เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป และกรณีที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี รวมโทษจำคุกทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 20 ปี นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกในกรณีกระทำความผิดหลายกรรมที่เกี่ยวพันกันและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 หรือคดีที่เกี่ยวพันกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์ได้แยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หรือเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 25 จึงจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) แต่การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษต่อทั้ง 15 คดีนั้น ไม่เกี่ยวพันกันจนอาจจะฟ้องรวมกันเป็นคดีเดียวกันได้หรือจะรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแต่ละคดีและให้นับโทษต่อกันตาม ป.อ. มาตรา 22 แล้วมีกำหนดระยะเวลาจำคุกเกินกว่า 20 ปี ก็ย่อมพิพากษาให้บังคับเช่นนี้ได้ กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 91 (2)
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) หมายถึงโทษจำคุกสุทธิภายหลังจากมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษทุกกระทงความผิดรวมกันทั้งสิ้นแล้วไม่เกินกำหนด 20 ปี คดีนี้โทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้สำหรับทุกกระทงความผิดเมื่อรวมกันแล้วจะมีกำหนด 21 ปี เมื่อลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว โทษจำคุกสุทธิจะมีกำหนดเพียง 10 ปี 6 เดือน ไม่เกิน 20 ปี จึงไม่จำต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แต่ศาลชั้นต้นได้ปรับบท ป.อ. มาตรา 91 (2) เสียก่อนและให้จำคุกจำเลยเพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน โดยมิได้วินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองสำหรับปัญหานี้จึงไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยไม่แก้โทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 91 (2) หมายถึงโทษจำคุกสุทธิภายหลังจากมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษทุกกระทงความผิดรวมกันทั้งสิ้นแล้วไม่เกินกำหนด 20 ปี คดีนี้โทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้สำหรับทุกกระทงความผิดเมื่อรวมกันแล้วจะมีกำหนด 21 ปี เมื่อลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว โทษจำคุกสุทธิจะมีกำหนดเพียง 10 ปี 6 เดือน ไม่เกิน 20 ปี จึงไม่จำต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แต่ศาลชั้นต้นได้ปรับบท ป.อ. มาตรา 91 (2) เสียก่อนและให้จำคุกจำเลยเพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปี จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน โดยมิได้วินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองสำหรับปัญหานี้จึงไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยไม่แก้โทษที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกและปลอมแปลงเอกสารของพนักงานธนาคาร และเงื่อนไขการรวมโทษเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีนี้และคดีก่อน จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่ด้วยในทุกคดีโดยถือโอกาสที่เป็นพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับเอกสารและทรัพย์โดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของลูกค้าผู้ฝากเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตนคดีนี้และคดีก่อนจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคแรก การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ด้วย และเมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 วรรคสอง เป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกิน 20 ปี ไม่ได้แต่คดีก่อนเมื่อรวมโทษจำคุกทุกคดีและทุกกระทงโดยไม่รวมโทษจำคุกในคดีนี้ด้วยปรากฏว่าจำเลยถูกลงโทษจำคุก 23 ปี 6 เดือน ซึ่งเกิน 20 ปีแล้วจึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่รับเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง และการรวมโทษทางอาญา
จำเลยยื่นฎีกาส่งผ่านเรือนจำเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยอาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 224 แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบ ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับว่า พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยและไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยทราบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์ - ความผิดหลายกรรมต่างวาระ - การลดโทษและการรวมโทษ
สัญญาณโทรศัพท์เป็นกรรมวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องที่ศูนย์ชุมสายประจำภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทยผู้เสียหาย แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องรับปลายทางในต่างประเทศ เครื่องรับปลายทางจะแปลงสัญญาณกลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดที่จำเลยต่อพ่วงเป็นตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากสายโทรศัพท์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ต่อผู้เสียหายรายเดียวกันลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลังจากกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดยถอดเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้อันเป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้น ๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไปต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,12(1),18 วรรคสอง,48,62 วรรคหนึ่ง,81 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก,336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน ทั้งการที่จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อนเมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 91(2)
จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์ต่อผู้เสียหายรายเดียวกันลักษณะการกระทำความผิดอย่างเดียวกัน สถานที่เกิดเหตุเดียวกันและมีเจตนาประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกัน แต่จำเลยกระทำความผิดแต่ละครั้งต่างวันต่างเวลากัน มิได้กระทำต่อเนื่องติดต่อกัน และหลังจากกระทำแต่ละครั้งบรรลุวัตถุประสงค์สมดังเจตนาแล้ว จำเลยก็เลิกกระทำโดยถอดเครื่องโทรศัพท์ออกจากสายสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่อพ่วงเชื่อมติดกันไว้อันเป็นการเลิกกระทำความผิดในครั้งนั้น ๆ โดยเด็ดขาด การกระทำความผิดครั้งต่อไปต้องนำเครื่องโทรศัพท์ไปพ่วงกับสายสัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายใหม่ทุกครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งจึงแยกต่างหากจากกันอันเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11,12(1),18 วรรคสอง,48,62 วรรคหนึ่ง,81 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก,336 ทวิ มิได้เกี่ยวพันกัน ทั้งการที่จะบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จะต้องเป็นกรณีที่หลังจากลดโทษแต่ละกระทงความผิดแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นที่จะลงแก่จำเลยเกิน 20 ปี มิใช่วางโทษทุกกระทงก่อนเมื่อเกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกได้เพียง 20 ปี แล้วจึงลดโทษภายหลัง กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 91(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7932/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษจำคุกหลายกระทงเมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตและข้อจำกัดโทษจำคุกรวม
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) หมายถึงกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต โดยคำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต"นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวมศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 1 ได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดชีวิตแต่เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 หนึ่งในสามแล้ว คงเหลือจำคุก 33 ปี4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษในความผิดอีกฐานหนึ่งมารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ได้ เพราะรวมโทษทุกกระทำความผิดแล้วก็ไม่เกิน 50 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและการรวมโทษกระทงอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลย 2 กระทง กระทงแรกจำคุกตลอดชีวิต กระทงที่สองจำคุก 1 ปี เมื่อความผิดกระทงแรกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว จึงไม่จำต้องนำโทษกระทงอื่นมาลงอีก แต่ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) บัญญัติตอนท้ายไว้ความว่า เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งหมายความว่า หากกระทงหนึ่งกระทงใดมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ศาลลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น ความผิดกระทงแรกศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อลดโทษให้จำเลยแล้ว คงลงโทษจำคุก 33 ปี 4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษจำคุกในความผิดกระทงที่สองมารวมอีกได้ ซึ่งเมื่อรวมกับโทษกระทงที่สองหลังจากลดโทษให้จำเลยจำคุก 8 เดือน รวมเป็นโทษจำคุก 33 ปี 12 เดือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญา: ลดโทษรายกระทงก่อนแล้วค่อยรวมโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโทษโดยไม่สมเหตุผล
ฎีกาของจำเลยที่ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีเพียง 2 เม็ด จำเลยมิได้นำมาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลล่างทั้งสองรวมโทษจำคุกจำเลยทั้งสองกระทงก่อนแล้วจึงลดโทษนั้นไม่ถูกต้อง เพราะหากลดโทษให้แต่ละกระทงก่อนจะเหลือโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน เมื่อรวมโทษทั้งสองกระทงเข้าด้วยกันแล้วนำโทษจำคุกเฉพาะ 6 เดือน มารวมกันเป็น 1 ปีย่อมจะทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากโทษจำคุก 12 เดือนคำนวณได้ 360 วัน แต่โทษจำคุก 1 ปี จะมีถึง 365 วันหรือ 366 วันแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสองปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้