คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระยะเวลาทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน: ระยะเวลาทำงานจริงสำคัญกว่าสัญญาจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำงานมีกำหนดเวลา 1 ปี แล้วจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดเวลาโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กับค่าชดเชย ซึ่งศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนค่าชดเชยศาลแรงงานกลางมิได้มีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยจึงไม่ครบทุกประเด็นแห่งคดีอันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 เป็นกรณีลูกจ้างที่ได้ทำงานจริงและมีระยะเวลาติดต่อกันครบตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยจึงจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย มิใช่เอาระยะเวลาจ้างตามสัญญาจ้างมากำหนดว่าหากโจทก์ทำงานครบเวลาตามสัญญาจ้างแล้วโจทก์มีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยมากำหนด เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยได้เพียง 3 เดือนเศษ ย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างใหม่เพื่อเลี่ยงค่าชดเชยเป็นโมฆะ ระยะเวลาทำงานเดิมนับรวมได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 นับถึงวันที่ 17 มีนาคม 2544 ที่มีการทำสัญญาจ้างงานใหม่ โจทก์ทำงานติดต่อกันมาถึง 5 ปีเศษ สัญญาจ้างใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นโจทก์เป็นลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่แล้ว สัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น ระยะเวลาการทำงานของโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างเดิมจึงต้องนับรวมเข้ามาด้วย โจทก์มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญกรณีลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่ ต้องคำนวณจากระยะเวลาทำงานจริงตามข้อบังคับ
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริง ๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเศษของปีที่เกิน 6 เดือน ให้นับเป็น 1 ปี เพราะฉะนั้นโจทก์จึงมีอายุการทำงาน 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้คิดเงินบำนาญให้โจทก์ขาดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดตามกำหนด สิทธิค่าชดเชยพิจารณาจากระยะเวลาทำงานรวม
เมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างถึงวันที่ครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานที่มีการแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วงโดยมีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกัน เพื่อแสดงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ถือว่านายจ้างมีเจตนาไม่ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำเหน็จจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: หลักเกณฑ์การโอนเงินบำเหน็จและระยะเวลาการทำงาน
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กำหนดให้โอนเงินบำเหน็จที่สมาชิก มีสิทธิที่จะได้รับจากกองทุนเงินบำเหน็จพนักงาน ส่งเข้ากองทุนเป็นเงินสมทบของสมาชิกแต่ละราย ณ วันที่ได้รับอนุมัติให้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนตามสิทธิที่พึงได้รับ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การโอนเงินบำเหน็จส่งเข้ากองทุนเป็นเงินสมทบ ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากข้อความในข้อ 23 วรรคสอง ที่กล่าวถึงกรณีจำเลยไม่สามารถโอนเงินจากกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานเข้า สมทบกองทุนให้ครบตามวรรคแรกก็ให้จำเลยทยอยโอนเงินส่วนที่ขาดเข้าสมทบกองทุนให้ครบภายใน 5 ปี นับแต่ วันที่กองทุนได้รับการจดทะเบียนข้อบังคับดังกล่าว จึงไม่ใช้บังคับในการพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จ ส่วนการจะจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาข้อบังคับดังกล่าวตอนต่อไปของข้อ 23 วรรคแรกที่ว่า การคิดคำนวณ เงินบำเหน็จให้ใช้อัตราเงินเดือนที่สมาชิก (โจทก์) ได้รับในเดือนที่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับ จดทะเบียนกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานมาโดยการนับจำนวนปีที่ทำงานมาให้นับแต่วันที่บรรจุเป็นพนักงาน จนถึงวันที่นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับจดทะเบียนกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และเศษของปีให้นับรวมเข้าด้วย โดยใช้หลักเกณฑ์การคำนวณเงินบำเหน็จตามข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2524 ฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวข้อ 6 (2) กำหนดให้พนักงานที่ลาออกซึ่งมีอายุการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ และกำหนดว่าการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณเงินบำเหน็จ ให้นับตั้งแต่วันที่ทดลองงาน จนถึงวันสิ้นสุดการเป็นพนักงาน เมื่อโจทก์มีเวลาทำงานหรืออายุการทำงาน 6 ปี 6 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับ เงินบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาทำงานต่อเนื่องเพื่อคำนวณค่าชดเชย แม้มีการทำสัญญาจ้างเป็นช่วงสั้นๆ หากมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย
การที่ศาลแรงงานกลางอาศัยบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 20 นำระยะเวลาตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์แต่ละฉบับมานับรวมกันเพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยนั้น เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จำเลยมีเจตนาที่จะจ้างโจทก์ทำงานให้จำเลยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2542 ติดต่อกันไปแต่มีการแบ่งเป็นสัญญาช่วงสั้น ๆ หลายช่วง มีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเป็นช่วง ๆ ต่อเนื่องกันไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานติดต่อกัน โดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงเข้ากรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 20 ให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และค่าชดเชย: การจ่ายค่าจ้างถึงวันสุดท้ายที่ทำงาน และการคำนวณค่าชดเชยตามระยะเวลาทำงาน
สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ และลูกจ้างก็มีหน้าที่ตอบแทนคือต้องทำงานให้แก่นายจ้างเช่นเดียวกัน นายจ้างได้บอกเลิกสัญญาจ้างแก่ลูกจ้างเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 โดยให้ลูกจ้างหยุดทำงานตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ฉะนั้นนายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพียงวันที่ 20 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่จำต้องจ่ายค่าจ้างหลังจากนั้นอีกเพราะสัญญาแรงงาน สิ้นสุดลงและลูกจ้างพ้นจากฐานะการเป็นลูกจ้างและไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว
จำเลยแสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยทำเป็นหนังสือเลิกจ้างระบุให้มีผลเป็นการเลิกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ระบุไว้
การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลเพียงทำให้ นายจ้างต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็มิใช่ค่าจ้าง เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างก็สิ้นสุดลงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชยภายใต้กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับ ณ ขณะเลิกจ้าง
นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว คงจ่ายแต่เฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้าง เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลา สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงไม่เป็นค่าจ้าง
นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่จ่ายค่าจ้างให้ตั้งแต่วันดังกล่าว การเลิกจ้างจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 ในวันที่จำเลยเลิกจ้าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การที่ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยเพียงใด จึงเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมและการคำนวณค่าจ้างพักร้อนตามระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้าง การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนตามสัดส่วนระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน
of 4