พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด จึงเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และที่วรรคสองระบุให้การเปลี่ยนเงินนี้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินนั้น หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในวันออกใบแจ้งหนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57 บาท โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีซื้อขายสินค้าข้ามประเทศ: การพิจารณาอำนาจศาลเพื่อรับฟ้องคดีสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
กรณีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้เสนอให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 9 ซึ่งประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อการนำเข้าสินค้าขัดข้อง
เมื่อเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการอนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งจำเลยได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย จำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาต ก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด ถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อการส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ซื้อในการดำเนินการนำเข้าสินค้า
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา เข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน โดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์ แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขาย ไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย แต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ ดังกล่าวข้างต้น ส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์ จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการ แต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึด จึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ผู้ซื้อมีหน้าที่ดำเนินการนำเข้าเมื่อมีข้อตกลงในสัญญา
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนโดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขายไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ดังกล่าวข้างต้นส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึดจึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ การรับรองเอกสาร และการมอบอำนาจทางกฎหมาย
โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้บังคับครอบคลุมไปถึงเมืองฮ่องกงที่เป็นอาณานิคม ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม นั้นต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัย หรือคู่ความอีกฝ่ายยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารแท้จริงหรือไม่จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นเอกสาร ตามวิธีการในวรรคสามนี้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเบิกความเป็นพยานว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจตามเอกสารหมาย จ.10 และ จ.11 โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลจึงไม่มีเหตุอันควรสงสัย และเมื่อจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า เอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจแท้จริงจึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจได้ทำถูกต้องตามป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อบรรเทาความเสียหายและเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญา และไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้องผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ พิจารณาจากข้อเท็จจริงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์วีดีโอเทป12 เรื่องตามฟ้อง โดยโจทก์ได้โฆษณาเผยแพร่ภาพยนตร์วีดีโอเทปทั้ง12 เรื่อง ครั้งแรกที่เมืองฮ่องกงแล้ว ประเทศไทยและประเทศอังกฤษต่างเป็นภาคีในอนุสัญญากรุงเบอร์น ค.ศ. 1886 ประเทศอังกฤษได้นำเอาฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมเข้าผูกพันกับอนุสัญญาดังกล่าวประเทศไทยและฮ่องกงจึงมีความผูกพันกับอนุสัญญาดังกล่าว ทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ภาพยนตร์วีดีโอเทปอันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวภาพยนตร์วีดีโอเทปทั้ง 12 เรื่อง จึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526 แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องตามข้อความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 42 ว่า กฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่กล่าวในฟ้องเพียงว่า ทั้งประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า กฎหมายอยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่าทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของประเทศทั้งสองได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์มีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยถูกต้องพอสมควรตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42 เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: สิทธิปรับราคาตามอัตราแลกเปลี่ยน และผลของการไม่ยินยอมปรับราคา
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้า กับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกันและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิทางทหารและการพิจารณาคดี: การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและข้อตกลงระหว่างประเทศ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ละเมิดขับรถยนต์โดยประมาท ชนรถโจทก์ได้รับความเสียหาย. จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การ.ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ. ต่อมามีหนังสือมาถึงผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปล. อ้างว่าเป็นหนังสือของกงสุลมีใจความว่า จำเลยได้รับความคุ้มครองโดยเอกสิทธิตามข้อตกลงทางทหารระหว่างไทยกับสหรัฐ ไม่ต้องขึ้นศาลไทย. ศาลชั้นต้นเชื่อหนังสือฉบับนี้ ให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน.ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อหนังสือดังกล่าวมาสู่ศาลลอยๆ ไม่มีผู้ใดรับรองว่าเป็นหนังสือของกงสุลอเมริกันอันแท้จริง และจำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามข้อตกลงทางทหารหรือไม่.ข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นอย่างใดไม่ปรากฏ ที่ศาลล่างเชื่อว่าเป็นหนังสือของกงสุลอเมริกัน และเชื่อข้อเท็จจริงตามหนังสือนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นฟ้องด้วย. จึงให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้ง 2 ศาล. ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ได้ข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่า. จำเลยได้รับเอกสิทธิไม่ต้องขึ้นศาลไทยจริงหรือไม่. แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: การเสนอและสนองสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารได้เปิดเพื่อชำระราคาสินค้าของลูกค้าของธนาคารนั้นย่อมถือว่าเป็นคำเสนอ เมื่อได้มีการส่งสินค้ามาตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วก็ย่อมถือได้ว่ามีคำสนองก่อให้เกิดสัญญาขึ้น