พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของรัฐเมื่อวางเงินค่าทดแทนครบถ้วน ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องที่ดินคืน
กรุงเทพมหานครจำเลยได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,9,11,13 การที่จำเลยเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ตกเป็นของจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยได้วางเงินค่าทดแทนไว้ต่อธนาคารในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ จึงไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทในภายหลังอีก ทั้งจำเลยได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์แล้ว ที่ดินพิพาทย่อมมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละที่ดินให้รัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ และการตั้งตัวแทนในการสละ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองไว้ แต่ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ทำหนังสือสละการครอบครอง ที่พิพาทตกเป็นของรัฐและแผ่นดินแล้ว เป็นการต่อสู้โดยอ้างกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เอกสารมีข้อความตอนท้ายว่า ตามที่ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินที่ข้าพเจ้ายึดถือครอบครองอยู่นี้ เป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว โจทก์มีความยินดีและเต็มใจไม่ขัดข้องที่ทางราชการจะจัดเป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว แต่จะขอ ถือกรรมสิทธิ์ในผลอาสินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้ถือครอบครองมาแต่เพียงอย่างเดียวหนังสือดังกล่าวแสดงไว้ ชัดเจนว่าได้มีการสละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว คงสงวนไว้แต่เพียงสิทธิเหนือพื้นดินเท่านั้นต่อมาทางราชการได้เข้าพัฒนาที่ดินของโจทก์อย่างเปิดเผยและวางแผนดำเนินงานเป็นขั้นตอนติดต่อกันทุกปี นับแต่โจทก์ได้สละการครอบครองโดยใช้งบประมาณแผ่นดินก่อสร้างถนนอาคารเอนกประสงค์ จัดหาม้าหินอ่อนมาวางบริการนักท่องเที่ยวสร้างถังขยะสาธารณะก่อสร้างบ้านพักรับรอง ติดตั้งป้ายชื่อหาดโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน และโจทก์ปล่อยให้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาที่พิพาทเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยไม่ปรากฏว่าทางราชการได้หลอกลวงโจทก์ให้สละการครอบครองที่พิพาท กรณีฟังได้ว่าโจทก์ได้สละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นของรัฐหรือแผ่นดินแล้ว การสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่ทางราชการโดยจะขอถือกรรมสิทธิ์เฉพาะผลอาสินแต่เพียงอย่างเดียวนั้นมีผลให้ที่ดินที่โจทก์สละการครอบครองกลายเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เมื่อการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าเป็นกิจการที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ การที่ อ.สามีโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสละการครอบครองที่ดินพิพาทถือได้ว่าโจทก์ได้ตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองที่พิพาทแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7438/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้ามและเวนคืน: สิทธิในที่ดินและพืชผลตกเป็นของรัฐเมื่อมีการเวนคืนถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ได้ที่ดิน 2 แปลง และปลูกบ้านกับต้นยูคาลิปตัสตามฟ้องภายหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2497 ใช้บังคับแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังนี้จึงเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ. 2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆ โดยไม่ต้องปลูกใหม่เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไปต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ. 2521เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือและให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ดังนี้ การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ. 2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆ โดยไม่ต้องปลูกใหม่เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไปต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ. 2521เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือและให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ดังนี้ การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีพิพาทที่ดินระหว่างรัฐกับเอกชน ต้องอาศัยพยานหลักฐานทางศาลมากกว่าพยานจากคณะกรรมการสอบสวน
แม้จะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนและคำสั่งฉบับพิพาทจะเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม แต่การฟังพยานหลักฐานของศาลย่อมต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พยานหลักฐานของจำเลยคือบันทึกถ้อยคำที่บุคคลให้การไว้ต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ทางราชการแต่งตั้งขึ้นย่อมรับฟังได้ แต่น้ำหนักของพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้อยกว่าการที่ฝ่ายจำเลยจะนำบุคคลดังกล่าวมาเบิกความในศาล เพราะเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยไม่มีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกคำให้การนั้น บันทึกคำให้การดังกล่าวจึงมีน้ำหนักน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์สิทธิโดยชอบก่อนอ้างสิทธิเหนือรัฐ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เพราะเป็นที่ดินสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ แม้โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน เพราะโจทก์จะยกเอาการครอบครองขึ้นยันต่อรัฐได้ต่อเมื่อโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาโดยชอบตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด และกฎหมายบัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองนั้นไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำกินในป่าสงวนสิ้นสุดเมื่อหมดอายุอนุญาต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องรัฐ
โจทก์ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสืออนุญาตแล้วสิทธิการทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยของโจทก์ตามเงื่อนไขของกฎหมายย่อมสิ้นสุดไปแล้วจำเลยที่1จึงมีสิทธิเข้าไปทำประโยชน์ได้ทั้งกรณีมิใช่เป็นการยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้ระหว่างราษฎรด้วยกันแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่เป็นส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจึงมีผลเท่ากับโจทก์อ้างสิทธิครอบครองมาใช้ยันรัฐนั่นเองซึ่งโจทก์ไม่อาจกระทำได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิครอบครองระหว่างราษฎร vs. สิทธิรัฐ
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 ห้ามมิให้ที่ดินประเภทดังกล่าวโอนแก่กัน ประกอบกับพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 14 ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้ผู้ที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองไม่สามารถใช้ยันรัฐได้แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรบกวนโดยบุคคลอื่น เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาให้จำเลยอาศัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: รัฐมีสิทธิเรียกเก็บ แม้การขายทอดตลาดถูกเพิกถอน
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยบริบูรณ์ทางทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้ และได้ให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่มีบทบัญญัติไว้ให้จำเลยคืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: การเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกคืนค่าธรรมเนียมที่ชำระแล้ว
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์การที่โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งของศาล เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินจึงเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามป. ที่ดินฯ มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 ตัวแทนจำเลย 1 เรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายแม้ต่อมาศาลฎีกาจะมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้และให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ตัวแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลที่ดินฯก็ไม่มีบทบัญญัติให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินแก่โจทก์ และเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวจำเลยที่ 1 ก็ได้ส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมจากหนี้ภาษีค้างชำระ: คดีพิพาทสิทธิเรียกร้องของรัฐ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ว่า น.เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ในคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า น.เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ หากว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริง ศาลจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนั้นศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญของคดี ถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 7(2)