คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกระทรวงที่มอบอำนาจผู้ว่าฯ แม้รัฐมนตรีพ้นตำแหน่งแล้ว คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์
รัฐมนตรีมีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ นาย ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวของนาย ธ. คงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยุบสภา อบจ. รัฐมนตรีช่วยฯ ทำได้หากได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการ
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด บ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ ดังนี้ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลยุติธรรมได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 80วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมิได้กำหนดห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกระทำการแทน ดังนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานของกรมการปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจปฏิบัติราชการภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าทดแทนเวนคืน: ต้องไม่พอใจคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี แต่เมื่อปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่ม ดังนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งที่โจทก์จะอ้างว่ายังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่ม
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงที่นำมาสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย และที่โจทก์กับจำเลยนำสืบ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนอันเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มค่าทดแทนแล้ว
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย และที่โจทก์กับจำเลยนำสืบฟังได้ว่ารัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้วเป็นตารางวาละ 45,000 บาท ซึ่งมากกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มเป็นตารางวาละไม่ต่ำกว่า 40,000 บาทจึงไม่มีข้อโต้แย้งที่โจทก์จะอ้างว่ายังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีฯ ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งข้อเท็จจริงที่นำมาสู่การวินิจฉัยปัญหาก็ปรากฏตามคำฟ้องโจทก์คำให้การจำเลยและที่โจทก์กับจำเลยนำสืบซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในสำนวนโดยการดำเนินการกระบวนพิจารณาโดยชอบศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีแก้ไขราคาเวนคืนและการอุทธรณ์ หากรัฐมนตรีวินิจฉัยช้า ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องร้องได้
การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิขึ้น โดยให้อำนาจในกรณีที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการได้ประกาศราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่จะเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนแล้ว ถ้าปรากฏว่าราคาของที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ และราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าหน้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 หรือราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการได้กำหนดและประกาศไปแล้วตามมาตรา 9 ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลตามมาตรา 18 รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนใหม่ เงินค่าทดแทนที่ดินของผู้ถูกเวนคืนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดใหม่นี้จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 หากผู้ถูกเวนคืนโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ถูกเวนคืนได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ยังวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืนไม่เสร็จ ผู้ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีในการเวนคืนและการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน
เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว... พ.ศ.2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว... พ.ศ.2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืน และถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม จึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาด เท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 นั่นเองแม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้ดจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน และการกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสม
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวพ.ศ. 2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูก เวนคืนและถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่โจทก์เห็นว่าเงินทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมจึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาดเท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 นั่นเอง แม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์, คำวินิจฉัยรัฐมนตรี, และการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มเติม
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินพิพาทจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้ตารางวาละ 35,000 บาท เป็นตารางวาละ 63,000 บาท เมื่อรัฐมนตรีฯ ได้มีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนให้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มแล้ว เงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯกำหนดให้โจทก์จึงเป็นเงินค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้ว ไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีฯต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทอีก
เงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำไป จึงไม่อาจถือได้ว่าอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7561/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: จำเลยมีอำนาจฟ้องได้หากเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และโจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีก่อนฟ้อง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษ และในข้อ 17 ระบุว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นจำเลยได้
ปัญหาว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่า ที่ดินโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเป็นการไม่ดำเนินการผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหานี้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตาม มาตรา 9เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนเสียก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาในส่วนนี้ของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์เสียก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำเกินไปนั้นไม่อาจถือได้ว่าได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิฟ้องคดีขาดอายุตามกฎหมายเมื่อฟ้องพ้นกำหนด 1 ปี หลังรัฐมนตรีฯ วินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์เห็นว่าราคาค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรม จึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2536 ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสองคือ ภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 18 มกราคม 2538 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2538 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ไม่ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
of 5