คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรับประกัน: โจทก์ขอสิ่งนอกเหนือจากที่จำเลยรับประกัน ศาลไม่อาจบังคับได้
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่ารถยนต์ที่จำเลยขายให้โจทก์มีความชำรุดบกพร่องของระบบเกียร์อันเป็นวัสดุที่จำเลยรับประกันไว้ว่าจะซ่อมหรือเปลี่ยนให้ โจทก์จึงบังคับให้จำเลยซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ให้โจทก์ใหม่เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์กลับขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนเท่ากับราคารถยนต์พิพาทที่โจทก์ซื้อไปจากจำเลยหรือให้จำเลยนำรถยนต์คันใหม่ที่มีลักษณะเหมือนรถยนต์พิพาทและมีสภาพใช้งานได้ดีมาเปลี่ยนให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากที่จำเลยได้รับประกันไว้ โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงรับประกันดังกล่าวได้จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับตามสัญญาประกันภัย: โจทก์ขอสิ่งนอกเหนือการซ่อม/เปลี่ยนชิ้นส่วนที่รับประกัน
ตามคำฟ้องของโจทก์อ้างว่ามีความชำรุดบกพร่องของระบบเกียร์อันเป็นวัสดุที่จำเลยรับประกันไว้ว่าจะซ่อมหรือเปลี่ยนให้ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ โจทก์จึงบังคับให้จำเลยซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ให้โจทก์ใหม่เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติเท่านั้น แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์กลับขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 438,000 บาท เท่ากับราคารถยนต์พิพาท หรือให้จำเลยนำรถยนต์คันใหม่ที่มีลักษณะเหมือนรถยนต์พิพาทและมีสภาพใช้งานได้ดีมาเปลี่ยนให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือจากที่จำเลยได้รับประกันไว้โจทก์ไม่อาจบังคับจำเลยโดยอาศัยข้อตกลงรับประกันดังกล่าวได้ จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์และการรับประกันความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟ มิใช่ความเสียหายจากอุบัติเหตุ
บัตรรับประกันในการซื้อขายรถมีข้อยกเว้นความรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุเมื่อสาเหตุไฟลุกไหม้เกิดจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ของรถยนต์คันพิพาทได้รับความเสียหายมิได้เกิดจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนกับรถคันอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่นในถนนแม้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของโจทก์และจำเลยแต่มิใช่เกิดจากอุบัติเหตุจำเลยจึงต้องรับผิด แม้ในบัตรรับประกันจะระบุว่าโจทก์จะต้องนำรถมาซ่อมที่ห้างจำเลยเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปจอดไว้ที่ห้างจำเลยเพื่อซ่อมจำเลยปฏิเสธไม่ยอมรับผิดอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุโจทก์จึงต้องนำรถยนต์คันพิพาทไปจ้างบริษัทอื่นซ่อมดังนี้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าซ่อมแก่โจทก์ ค่ายกเครื่องค่าเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าค่าเคาะพ่นสีค่ายกรถและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีการซ่อมและเปลี่ยนใหม่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเครื่องยนต์และเป็นส่วนประกอบเพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆดังกล่าวไม่ถือว่าอยู่นอกเหนือเงื่อนไขของการรับประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คเพื่อรับประกันหนี้: ความรับผิดของผู้สลักหลังต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาท เป็น เช็ค ที่ สั่ง ให้ ใช้ เงิน แก่ ผู้ถือ การ ที่ จำเลย ที่ 2 ลงลายมือชื่อ ไว้ ที่ ด้านหลัง เช็ค ย่อม เป็น การ สลักหลัง เป็น ประกัน ( อาวัล ) สำหรับ ผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ทรง อย่างเดียว กับ ผู้สั่งจ่าย .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจำกัดของไปรษณีย์ในการขนส่งของรับประกันตามกฎหมายและข้อบังคับ
อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2515 และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช 2520 มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 131, 141,143, 146 และ 147 สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกัน ซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้ การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า 3,950 บาท ขอรับประกันได้ไม่เกิน 3,950 บาท
ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 141 ส่วนมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช 2477 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393-2394/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดไปรษณียภัณฑ์ตามกฎหมายและข้อบังคับ: การรับประกันสูงสุด 3,950 บาท
อำนาจหน้าที่และความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการขนไปรษณียภัณฑ์ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ.2515และไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520มิใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. จากข้อบังคับของไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ131,141,143,146และ147สิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณียภัณฑ์รับประกันมีเฉพาะจดหมายรับประกันซึ่งจดหมายรับประกันนี้จะจดแจ้งราคาหรือไม่ก็ได้การขอให้รับประกันจะขอให้รับประกันเกินกว่าราคาที่แท้จริงของสิ่งของที่บรรจุอยู่ไม่ได้และสิ่งของที่บรรจุอยู่หากมีราคามากกว่า3,950บาทขอรับประกันได้ไม่เกิน3,950บาท. ความรับผิดของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในการใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหักสูญหายต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศพุทธศักราช2520ข้อ141ส่วนมาตรา30แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์พุทธศักราช2477เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับไปรษณียภัณฑ์อื่นอันมิใช่จดหมายรับประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขาย: เอกสารรับรองสินค้าและการรับประกันความเสียหายบ่งชี้ไม่ใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
โจทก์ทำเอกสารให้จำเลยไว้ในฐานะเป็นตัวแทนขายสินค้าทุกชนิดรับรองว่าเฉพาะสินค้าท่อยาง หากเสียหายภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์ยินดีรับคืน โดยตัวแทนผู้จำหน่ายไม่ต้องรับผิดชอบแต่ประการใดทั้งสิ้นทั้งโจทก์ยังต้องใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ให้แก่ตัวแทนและผู้ที่ซื้อไปดำเนินกิจการด้วย ดังนี้ การซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาเจาะบ่อน้ำบาดาล: การรับประกันคุณภาพน้ำและการบอกเลิกสัญญาเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
ข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยนั้น. จะต้องเป็นข้อสัญญาที่ผู้ให้สัญญาไม่มีทางปฏิบัติได้เลย.
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาโจทก์เจาะบ่อน้ำบาดาล เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาที่ให้รับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนดเวลา 4 ปีนั้น. เป็นเงื่อนไขที่สามารถปฏิบัติได้. หาเป็นการพ้นวิสัยไม่. การที่จำเลยไม่สามารถเจาะบ่อน้ำบาดาลให้โจทก์ใช้ได้ถึง 4 ปีตามสัญญา. จึงไม่ใช่กรณีการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย.
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 13 ถือว่ารายการแนบท้ายหมายจ.5, จ.6 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย และในรายการแนบท้ายดังกล่าว ข้อ 6(14)(15). ผู้รับจ้างคือจำเลย ก็ได้สัญญาให้โจทก์ได้ใช้น้ำในประมาณตามที่กำหนด. และรับรองให้โจทก์ได้ใช้น้ำบริโภคได้เป็นกำหนดเวลา 4 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการของโจทก์รับมอบงานงวดสุดท้าย.และในรายการแนบท้าย ข้อ 6(16) ก็ได้ระบุว่า ถ้าหากการดำเนินการของผู้รับจ้างได้ผลเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างตามข้อ (14)และ (15). ผู้ว่าจ้างจะถือว่าผู้รับจ้างได้กระทำการให้ผู้ว่าจ้างถูกต้องเรียบร้อยเสร็จบริบูรณ์แล้ว. ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา.ไม่สามารถจะให้โจทก์ได้ใช้น้ำจนครบกำหนด 4 ปี. โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 5 ได้. เพราะในสัญญาข้อนี้ได้ระบุไว้ว่า 'ฯลฯหรือผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญานี้ได้ ฯลฯ'. ซึ่งข้อความนี้หาได้จำกัดเฉพาะสัญญาข้อ 5 ก. ข. ค. ไม่.
โจทก์จ้างจำเลยขุดบ่อน้ำบาดาล จำเลยรับประกันปริมาณและคุณภาพน้ำให้ใช้บริโภคได้มีกำหนด 4 ปี. เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391. การให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจะต้องคืนเงินค่าจ้างเหมาที่ได้รับไปแล้วแก่โจทก์. ส่วนโจทก์ก็จะต้องคืนสิ่งของต่างๆ ที่จำเลยนำมาติดตั้งให้โจทก์แก่จำเลย.แต่ได้ปรากฏว่าสิ่งของต่างๆ ที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยนั้น โจทก์ได้นำไปใช้แล้วเป็นเวลาถึง 18 เดือน. ทั้งจำเลยก็ได้ลงทุนลงแรงขุดเจาะน้ำบาดาลจนให้โจทก์มีน้ำใช้บริโภคได้. การคืนเงินของจำเลยแก่โจทก์.จึงต้องหักจำนวนเงินค่าเสื่อมราคาสิ่งของเพื่อชดเชยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม กับค่าการงานในการติดตั้งให้จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19481/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนจัดหาเรือ - ความรับผิดชอบของผู้จัดหาและการรับประกันจากผู้ผลิต
ขณะทำสัญญา Construction, Sale and Purchase Agreement เรือใบคาตามารัน Silkline ยังไม่มีการสร้างขึ้น และจากคำเบิกความของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกแนวคิดและมอบหมายให้ผู้อื่นออกแบบเบื้องต้นซึ่งจำเลยทั้งสองได้จัดซื้อแบบดังกล่าวและได้จัดหาลูกค้าที่ต้องการให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนในการสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์และเข้าทำสัญญากับอู่ต่อเรือที่จะให้ได้มาซึ่งเรือคาตามารันที่มีลักษณะจำเพาะตามรูปแบบที่เรียกว่า Silkline ดังกล่าว เจือสมกับข้อความในสัญญาดังกล่าวซึ่งระบุว่า เรือใบคาตามารัน Silkline ที่มีการทำสัญญากันนั้นเป็นเรือใบคาตามารันที่มีลักษณะจำเพาะตามแบบเขียนแนบท้ายสัญญาซึ่งเป็นแนวคิดเท่านั้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่า ขณะทำสัญญา ยังไม่เคยมีการสร้างเรือใบคาตามารันในรูปแบบที่เรียกว่า Silkline ตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวมาก่อน
เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาที่ระบุว่า จำเลยทั้งสองซึ่งต่อไปในสัญญาเรียกว่าตัวแทนได้ตกลงในการจัดการหรือจัดเตรียมเรือใบคาตามารันตามแบบท้ายสัญญาซึ่งเป็นแบบเขียนตามแนวคิดโดยระบุว่าลิขสิทธิ์หรือการป้องกันในลักษณะเดียวกันในส่วนของแบบเขียน แนวคิด แบบการต่อเรือที่ถูกจัดเตรียมโดยตัวแทนยังคงเป็นของตัวแทนเพียงผู้เดียว และในสัญญายังระบุถึงความรับผิดชอบของตัวแทนว่าตัวแทนเป็นผู้ตระเตรียมในส่วนของอู่ต่อเรือในการต่อเรือใบคาตามารันให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบเขียนและกำหนดเวลาและตระเตรียมในส่วนของอู่ต่อเรือในการรับประกันฝีมืองานช่างที่ใช้ในการต่อเรือดังกล่าวโดยการรับประกันทั้งหมดที่ได้รับจากผู้ขายโดยอู่ต่อเรือ ตัวแทนจะต้องโอนให้แก่เจ้าของเรือโดยตรง และการรับประกันจะต้องมีผลบังคับในวันที่ทำการส่งมอบและมีการชำระเงินงวดสุดท้ายเต็มจำนวนโดยสมบูรณ์ และต้องมีระยะเวลาในการรับประกันโดยสมบูรณ์ตามที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ ทั้งนี้ตามสัญญาข้อ 5 อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาระบุให้ตัวแทนเริ่มต้นทำการจัดซื้อวัสดุต่าง ๆ ให้แก่อู่ต่อเรือหลังจากที่ตัวแทนได้รับเงินตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 21 สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขาย แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตามสัญญาต้องจัดหาอู่ต่อเรือ จัดซื้อวัสดุในการต่อเรือจากเงินที่ได้รับตามสัญญา ควบคุมดูแลให้การต่อเรือเป็นไปตามแบบแนบท้ายสัญญา และต้องดำเนินการให้ผู้ผลิตคืออู่ต่อเรือเป็นผู้รับผิดชอบในการรับประกันฝีมือแรงงานช่างที่ใช้ในการต่อเรือภายหลังมีการส่งมอบสมบูรณ์แล้ว ในสัญญาข้อ 3 ระบุถึงหลักเกณฑ์ในการส่งมอบว่า การส่งมอบเรือดังกล่าวขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าของเรือในความสมบูรณ์ตามเอกสารแนบท้ายสัญญา แบบเขียน และกำหนดการ และเมื่อมีการชำระเงินทั้งหมดโดยสมบูรณ์และเต็มจำนวนให้กับตัวแทนตามสัญญา โดยตามสัญญาข้อ 5 ระบุว่า สัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการส่งมอบเรือใบคาตามารันให้แก่เจ้าของและมีการชำระเงินงวดสุดท้ายทั้งหมด
เมื่อทางนำสืบของคู่ความได้ความว่า การต่อเรือดังกล่าวไม่มีปัญหาเรื่องการผิดแบบแปลนและกำหนดเวลาแล้วเสร็จ ทั้งปรากฏตามสัญญาจ้างต่อเรือว่า มีการรับประกันสำหรับเรือ ฝีมือแรงงาน และการติดตั้งวัสดุจากอู่ต่อเรือเวฟมาสเตอร์ฯ ในสัญญาดังกล่าวด้วย อันแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว ทั้งการที่ ซ. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปรับมอบเรือแทนโจทก์ได้เดินทางไปรับมอบเรือดังกล่าวจากอู่เรือดังกล่าว ที่ประเทศมาเลเซีย แล้วนำล่องทะเลกลับมาที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่า ซ. พึงพอใจในเรือที่ต่อส่งผลให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญางวดสุดท้ายให้แก่จำเลยทั้งสองในวันรุ่งขึ้น ถือว่าโจทก์ได้รับมอบเรือไว้ตามหลักเกณฑ์ในการส่งมอบที่ระบุในสัญญาแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงสิ้นสุดและจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดชอบในเรือดังกล่าว โดยเป็นความรับผิดชอบต่อไปของอู่ต่อเรือตามการรับประกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398-399/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายตู้โทรศัพท์: การรับประกันความเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจร และสิทธิการเรียกร้องเงินประกัน
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินคืนแก่โจทก์ด้วยเหตุลาภมิควรได้ โดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือ การที่จำเลยทั้งสองเรียกเอาหลักประกันการปฏิบัติผิดสัญญาจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันโจทก์และธนาคารจ่ายเงินให้จำเลยทั้งสองไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แล้วธนาคารใช้สิทธิไล่เบี้ยหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่า เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้น ณ ที่ทำการธนาคาร ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการจ่ายเงินให้จำเลยทั้งสองแล้วหักเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ที่จำเลยทั้งสองอ้างในฎีกาว่า มูลคดีนี้เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำสัญญาซื้อขายตู้สาขาโทรศัพท์นั้นเห็นว่า โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นข้อพิพาทเรื่องผิดสัญญาซื้อขายโดยตรง สัญญาดังกล่าวเป็นแต่เพียงเหตุที่มาของการหักเงินชำระแก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น
of 2