พบผลลัพธ์ทั้งหมด 687 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา แม้ไม่ได้รับเงิน
มูลหนี้เดิมที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นสัญญากู้เงินตามฟ้อง เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ จะอ้างว่าจำเลยไม่ได้รับเงินไปตามสัญญากู้เงินเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
การนำสืบว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องไม่เป็นการต้องห้าม
การนำสืบว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องไม่เป็นการต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ครบองค์ ไม่ระงับหนี้เดิม ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ตกลงกับโจทก์จะระบุว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไว้แล้วมิได้นำส่งให้โจทก์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 446,855.47 บาท ขอยอมรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนโจทก์ และขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้รวม 6 งวด งวดแรกชำระในวันรุ่งขึ้น ส่วนที่เหลือชำระในเดือนต่อ ๆ ไป โดยไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่จะตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้ตามสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และ 852 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ตามสัญญาตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและผลกระทบต่อการล้มละลาย
โจทก์กับจำเลยที่ 2 และ 3 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อบรรษัทเงินทุน อ. แม้วงเงินค้ำประกันจะไม่เท่ากัน โจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อบรรษัทเงินทุน อ. อย่างลูกหนี้ร่วมกับ ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่บรรษัทเงินทุน อ. แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว4,838,567.40 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัทเงินทุน อ. ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน ตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์คนละ 1,612,855.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่บรรษัทเงินทุน อ. จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินชดเชยภาษีอากรโดยเท็จถือเป็นการทำละเมิด จำเลยต้องรับผิดดอกเบี้ยนับจากวันที่ธนาคารได้รับบัตรภาษี
การที่จำเลยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรโดยอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ซึ่งเป็นความเท็จ จนได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปบัตรภาษีไปจากโจทก์นั้น เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สิน อันเป็นการทำละเมิด จำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดหนี้ภาษีอากรของผู้ตาย แม้ไม่มีทรัพย์มรดก หรือได้รับมรดกไม่ครบถ้วน
เดิม ส. เคยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ยังมิได้ชำระและ ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวโดยนำทรัพย์สินกองมรดกที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้แก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรของ ส. แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับในคดีก่อน แม้จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ผู้ตายก็ตาม แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. ให้รับผิดในหนี้ที่ ส. มีอยู่แล้วแก่โจทก์ ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาทโดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017-5023/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจัดหางานรับผิดสัญญาจ้าง: ศาลยืนตามเดิม แม้ไม่อุทธรณ์ฐานะนายจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่บริษัท ซ. ซึ่งเป็นนายจ้างผิดสัญญาการจ้างแก่โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาการจ้างทำงานแทนบริษัทนายจ้างตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้แรงงานให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองผู้ใช้แรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยห้ามไม่ให้นายจ้างกระทำการบางอย่างและให้ลูกจ้างมีสิทธิบางอย่างนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น หาได้บัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายอื่นไม่ คดีนี้โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ และเป็นตัวแทนทำสัญญาการจ้างแทนบริษัท ซ. ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันเป็นการเรียกร้องให้ได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ศาลแรงงานกลางจึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 824 มาใช้บังคับได้
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้แรงงานให้เป็นไปอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองผู้ใช้แรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยห้ามไม่ให้นายจ้างกระทำการบางอย่างและให้ลูกจ้างมีสิทธิบางอย่างนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอื่น หาได้บัญญัติตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายอื่นไม่ คดีนี้โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ และเป็นตัวแทนทำสัญญาการจ้างแทนบริษัท ซ. ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันเป็นการเรียกร้องให้ได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ศาลแรงงานกลางจึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 824 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์แต่เกิดจากความยินยอมของผู้กู้ ไม่ถือเป็นเอกสารปลอม ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นแชร์โดยโจทก์เป็นนายวงแชร์ ตามข้อตกลงเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ จำเลยจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้ภายหลังที่จำเลยได้รับเงินแชร์จากโจทก์ ดังนั้น ข้อความในสัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกก็คือจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องชำระคืนแก่โจทก์ พฤติการณ์เท่ากับว่าจำเลยได้ยินยอมให้โจทก์กรอกจำนวนเงินค่าแชร์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระคืนตามความเป็นจริงนั่นเอง เมื่อได้ความว่า จำเลยจะต้องชำระคืนเงินค่าแชร์เป็นจำนวน 82,800 บาท และโจทก์กรอกจำนวนเงินกู้ลงในสัญญากู้ตรงกับมูลหนี้ที่แท้จริง สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9014/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยร่วมรับผิด: ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
การเสียค่าขึ้นศาลจะต้องเสียในเวลาที่ยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 ประกอบด้วย ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ต่อโจทก์และจำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไว้แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ตามทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์และยื่นอุทธรณ์มาฉบับเดียวกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคนคงต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลเพียงจำนวนเดียว ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ของแต่ละคนเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7633/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและผู้ขนส่งทางทะเลต่อการไม่ปฏิบิติตามสัญญาขนส่งและการชำระราคาสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนของทางทะเลแทนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาตามป.พ.พ. มาตรา 824 ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 มีกรรมการของบริษัท จำนวนและรายชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้เป็นบุคคลชุดเดียวกัน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนิติบุคคลและทำกิจกรรมแยกต่างหากจากกันโดยจำเลยที่ 1 รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งไปสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่วนจำเลยที่ 2 รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งในทวีปเอเชีย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงนามในใบตราส่งแทนจำเลยที่ 3 ไว้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลร่วมกับจำเลยทที่ 3
ใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 3 ออกให้แก่โจทก์ระบุว่า ผู้รับตราส่งคือตามคำสั่งธนาคาร ค. จึงเป็นเงื่อนไขในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 รับที่จะส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่ธนาคาร ค. หรือตามคำสั่งของธนาคาร ค. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนใบตราส่งแล้ว บริษัทผู้ซื้อจะเรียกให้จำเลยที่ 3 ส่งมอบสินค้าให้แก่ตนได้ต่อเมื่อบริษัทผู้ซื้อได้ชำระราคาสินค้าให้แก่ธนาคาร ค. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง และธนาคาร ค. สลักหลังโอนส่งมอบใบตราส่งให้แก่บริษัทผู้ซื้อ เพื่อบริษัทผู้ซื้อจะได้นำใบตราส่งมาเป็นหลักฐานแลกรับเอาสินค้าจากจำเลยที่ 3 อันเป็นวิธีปฏิบัติในการชำระราคาสินค้าในการซื้อขายระหว่างประเทศ การที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัทผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนใบตราส่ง ย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้า จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องร่วมกันชำระราคาสินค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์
ใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 3 ออกให้แก่โจทก์ระบุว่า ผู้รับตราส่งคือตามคำสั่งธนาคาร ค. จึงเป็นเงื่อนไขในสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 รับที่จะส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่ธนาคาร ค. หรือตามคำสั่งของธนาคาร ค. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนใบตราส่งแล้ว บริษัทผู้ซื้อจะเรียกให้จำเลยที่ 3 ส่งมอบสินค้าให้แก่ตนได้ต่อเมื่อบริษัทผู้ซื้อได้ชำระราคาสินค้าให้แก่ธนาคาร ค. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง และธนาคาร ค. สลักหลังโอนส่งมอบใบตราส่งให้แก่บริษัทผู้ซื้อ เพื่อบริษัทผู้ซื้อจะได้นำใบตราส่งมาเป็นหลักฐานแลกรับเอาสินค้าจากจำเลยที่ 3 อันเป็นวิธีปฏิบัติในการชำระราคาสินค้าในการซื้อขายระหว่างประเทศ การที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัทผู้ซื้อโดยมิได้รับเวนคืนใบตราส่ง ย่อมเป็นการไม่ชอบและเป็นการผิดสัญญารับขนของทางทะเลต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้า จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องร่วมกันชำระราคาสินค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกบริษัทประกันภัยเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อรับผิดตามสัญญาประกันภัยร่วมกับผู้เช่าซื้อ
รถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อและรถยนต์ที่เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยเป็นรถยนต์คันเดียวกัน และสิทธิเรียกร้องตามสัญญาทั้งสองเกิดจากการสูญหายของรถยนต์คันเดียวกัน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญหาย จำเลยทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) โดยโจทก์ไม่จำต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยในคดีนี้และไม่จำต้องเป็นคู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่อย่างใด