คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับฝากเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและลักทรัพย์นายจ้าง การมีอำนาจฟ้องของโจทก์ที่รับฝากเงิน
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝากหรือจากการเอาเงินของผู้ฝากไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา672ว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกับที่ฝากแต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนดังนั้นเงินที่ฝากไว้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นเงินของโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของส. ในใบคำขอใช้บริการบัตรเอ.ที.เอ็ม.แล้วนำมายื่นต่อโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมออกบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม. ส่งมาให้ธนาคารโจทก์ร่วมสาขาท. แล้วจำเลยลักบัตรนั้นรวมทั้งซองบรรจุรหัสเพื่อใช้กับบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม. ในชื่อของส.ไปต่อจากนั้นจำเลยจึงได้นำบัตรกรุงศรีเอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวไปถอนเงินของโจทก์ร่วมที่เป็นนายจ้างของจำเลยจากเครื่องฝาก-อัตโนมัติครั้งละ10,000บาทรวม16ครั้งการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264วรรคแรก,268วรรคแรก,335(11)วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนิติบุคคลต่อการรับฝากเงินโดยผ่านตัวแทน และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องดอกเบี้ย
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 14 กรกฎาคม2524 ข้อ 2 (2), ข้อ 3 (1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต และการผูกพันรับผิดในฐานะตัวแทนที่เชิด
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการนั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 จะเป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิด และจำเลยที่ 1 กระทำอย่างใดอันถือได้ว่าได้แต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้บิดาของโจทก์ผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่ แต่มารดาโจทก์ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองก็เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มารดาโจทก์ผู้เดียวจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ โจทก์ฝากเงินกับบริษัทจำเลยที่ 1 โดยพนักงานของจำเลยที่ 1เป็นผู้รับเงินไป แต่ไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการของจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คระบุจำนวนเงินเท่ากับเงินฝากแต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1มอบให้โจทก์แม้จะมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1แต่การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ได้นำดอกเบี้ยเงินฝากมาชำระให้โจทก์ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหลงเข้าใจว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนในการรับฝากเงินและสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยตัวแทนของบริษัทเงินทุน และความรับผิดในสัญญาฝากทรัพย์
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้นจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่14 กรกฎาคม 2524 ข้อ 2(2), ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถาบันการเงินต้องรับผิดต่อการรับฝากเงิน แม้กรรมการกระทำผิดระเบียบภายใน
ขณะที่โจทก์นำเงินไปฝากที่บริษัทจำเลยมี อ.ช. และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกันกระทำการแทนจำเลยได้ กรรมการทั้งสามคนได้รับฝากเงินและออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์ อันเป็นการกระทำในเวลาทำการตามปกติของจำเลย แสดงว่าจำเลยเป็นผู้รับฝากเงินเอง ที่จำเลยอ้างว่ากรรมการของจำเลยทั้งสามคนมิได้นำเงินที่รับฝากเข้าบัญชีจำเลยก็ดี กฎหมายบังคับว่าหลักฐานการรับฝากเงินต้องออกเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินก็ดี การรับฝากเงินโจทก์กรรมการอื่นไม่ทราบเรื่อง และโจทก์ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ดีล้วนเป็นเรื่องที่กรรมการของจำเลยทั้งสามคนกระทำผิดระเบียบและกฎหมายเองทั้งสิ้น จำเลยจะนำมาเป็นเหตุอ้างให้พ้นจากความรับผิดต่อลูกค้าไม่ได้ เมื่อเช็คที่โจทก์ได้รับจากจำเลยเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยย่อมต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล แม้กรรมการจะทำธุรกรรมส่วนตัว หากสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ฝาก ย่อมผูกพันนิติบุคคลตามหลักตัวแทนเชิด
การที่โจทก์นำเช็คเงินสดจำนวน 2,000,000บาท ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเรียกเก็บเงินแล้วไปที่บริษัทจำเลย พนักงานของจำเลยได้รับฝากเงินจำนวนดังกล่าวแล้วดำเนินการออกเช็คพิพาท ซึ่ง พ.กับง.กรรมการของบริษัทจำเลยร่วมกันลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายพร้อมกับแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยรับฝากเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และโจทก์ได้รับของขวัญและของที่ระลึกต่าง ๆมีชื่อบริษัทจำเลยพร้อมตราประทับจากบริษัทจำเลย ทั้งจำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาและเพื่อการเคหะ จำเลยสามารถกู้ยืมเงินและรับเงินจากประชาชนโดยตกลงจ่ายดอกเบี้ยไม่เกินอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอันเป็นวิธีการจัดหามาซึ่งเงินทุนของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยและอยู่ในวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยเชิดพ.และง. เป็นตัวแทน จำเลยต้องผูกพันรับผลการกระทำของพ.และง. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนของบริษัทรับฝากเงินเกินอำนาจ บริษัทต้องรับผิดต่อผู้ฝาก แม้จะไม่มีการประทับตรา
บริษัทจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาและเพื่อการเคหะ โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ โดยไม่มีการประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ทักท้วงไปยังเลขานุการของจำเลยที่ 2 ก็ได้รับ คำตอบว่าใช้ได้เมื่อถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยพนักงานของจำเลยที่ 1 ก็นำดอกเบี้ยไปชำระให้แก่โจทก์ ซองใส่เอกสารที่มอบให้โจทก์เป็นของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวทำให้บุคคลภายนอกโดยทั่วไปเชื่อว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาโจทก์ไม่ได้ตกลงหรือรู้เห็นด้วยว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนจะ จ่ายหรืออาจเรียกได้ จึงมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายอันจะเป็นการนอกวัตถุประสงค์ ของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ได้มอบหรือนำเงินเข้าบัญชีให้ จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็น ตัวแทนไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ได้มาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการ และแม้หากตัวแทนจะอาศัยตำแหน่งหน้าที่อ้างชื่อจำเลยที่ 1 หาประโยชน์ใส่ตนก็ตามจำเลยที่ 1 ก็จะอ้างเอาการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็น ตัวแทนของตนกระทำการทุจริตหรือไม่ส่งมอบเงินแก่ตน นั้นมาบอกปัดความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล และความผูกพันของกรรมการต่อการกระทำของบริษัท
การที่พนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ไปเข้าฝากในบัญชีเงินฝากที่มีชื่อจำเลยที่ 2 ม. และ ก. เป็นเจ้าของบัญชีนั้น แม้จะไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำโดยจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และกรรมการคนอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 2ได้เปิดบัญชีเงินฝาก แทนจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการภายในของจำเลยที่ 1 ไม่จำต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้ว จึงมีหน้าที่คืนเงินให้โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อแก้ตัวให้หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ได้ การที่โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 เดือน แล้วรับเช็คมาเป็นการชำระหนี้คืนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสมุดคู่ฝากและจำเลยที่ 1 รับเช็คจากโจทก์แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีของธนาคารพาณิชย์เอง โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีเงินฝาก จึงไม่ใช่เป็นการฝากเงินในกิจการของธนาคารพาณิชย์ แต่เป็นการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาหรือเพื่อเคหะตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจเงินทุน บริษัทต้องรับผิดในฐานะตัวแทนเชิด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 27และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2528 ข้อ 2(2) ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับฝากเงินจากโจทก์แล้วมิได้ออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการ พัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราของจำเลยที่ 1 ประทับไว้ จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามบทกฎหมายและประกาศดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์ที่พนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โดยรับฝากเงินแล้วออกเป็นเช็คให้เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเอง โดยจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสีย มิใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่จะต้องบังคับตามมาตรา 161 ซึ่งศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตและผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ประกอบการ
จำเลยที่ 1 จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนจะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 และข้อกำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าโจทก์นำเงินไปฝาก ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการ แสดงว่าจำเลยที่ 1ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้สำนักงานของตนเป็นสถานที่รับฝากเงิน หากจำเลยที่ 1 รับฝากเงินไม่ได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ กับ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505มาตรา 8 และอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แต่พนักงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 กลับรับฝากเงินของโจทก์ไว้โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเองโดยจำเลยที่ 1 เชิด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจ ของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสียจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 151แต่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 161 กล่าวคือศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.
of 3