คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับฟังพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานหลักฐานและการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันในคดีแรงงาน
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารรายงานการเก็บเงินจากต่างจังหวัดเป็นพยาน แต่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวเข้าสืบประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ และศาลแรงงานกลางยอมให้โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวและรับไว้เป็นพยาน ถือเป็นพยานที่ศาลแรงงานกลางเรียกมาสืบเพื่อความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานที่ได้รับมอบอำนาจ แม้บัญชีระบุพยานจะระบุชื่อโจทก์และผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานคนละอันดับ ศาลรับฟังได้ตามหลัก ป.วิ.พ.
บัญชีระบุพยานโจทก์ระบุว่าอันดับ 1 โจทก์อ้างตนเองเป็นพยาน อันดับ 2 นางพเยาว์ เจิมท่า เมื่อนางพเยาว์เป็นโจทก์คดีนี้ซึ่งได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทน การที่บัญชีระบุพยานโจทก์อ้างทั้งโจทก์และนางพเยาว์ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันเป็นคนละอันดับทำให้เห็นได้ว่าพยานอันดับ 1 ที่ทนายโจทก์มุ่งประสงค์จะอ้างเป็นพยานคือ ส. ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังบันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความต่อหน้าศาลในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ชอบด้วยกฎหมายหากจำเลยไม่ค้าน
โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานโจทก์ และโจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคล โดยโจทก์ได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้ายทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีกตามข้อกำหนด ข้อ 29 วรรคท้าย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบอกเล่าประกอบหลักฐานอื่นได้, การรับฟังพยานขัดแย้ง, พฤติการณ์หลบหนีเป็นผลของการกระทำผิด
บันทึกคำให้การพยานชั้นสอบสวนแม้จะเป็นพยานบอกเล่าก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ หาใช่ต้องห้ามมิให้รับฟังไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานร่วมกระทำความผิด: การอ้างคำให้การของบุคคลที่ไม่ใช่จำเลยไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ล. มิได้เป็นจำเลยในคดีนี้ กรณีจึงมิต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 ซึ่งห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์หลักฐานสัญญาเงินกู้ และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ
ในนัดพิจารณาก่อนทนายจำเลยแถลงว่าคงติดใจสืบ อ. อีกเพียงปากเดียวแต่วันนี้ไม่มาศาล ขอเลื่อนไปสืบพยานปากนี้ในนัดหน้า หากนัดหน้าไม่สามารถนำมาสืบได้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน แต่เมื่อถึงวันนัด ฝ่ายจำเลยไม่ได้นำตัว อ. มาสืบโดยอ้างลอย ๆ ว่าไม่สามารถติดตามตัวมาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลย จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยอ้างแถบบันทึกเสียงพร้อมบันทึกข้อความซึ่งอ้างว่าถอดข้อความจากแถบบันทึกเสียงเป็นพยานนั้น จำเลยอ้างส่งแถบบันทึกเสียงเข้ามาลอย ๆ ในขณะที่ทนายจำเลยถามค้านตัวโจทก์ ทั้งในระหว่างพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมรับว่าเสียงในแถบบันทึกเสียงดังกล่าวเป็นของโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานนอกบัญชีรายชื่อเพื่อความยุติธรรม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย.เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย.เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีแรงงานและการรับฟังพยานที่ไม่ระบุชื่อ ศาลแรงงานพิพากษายืนตามเดิม
ที่โจทก์แถลงขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อจำเลยก็เนื่องมาจากจำเลยยื่นคำให้การระบุชื่อจำเลยแทนชื่อบริษัทที่โจทก์ฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คงต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยผิดตัว เพียงแต่ระบุชื่อจำเลยผิดเท่านั้น
การที่โจทก์แถลงขอแก้ไขชื่อจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงถือว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อย โจทก์สามารถแถลงขอให้แก้ไขได้ทันที การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้แก้ไขจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความในคดีแรงงานมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522แล้ว จึงนำบทบัญญัติมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจศาลแรงงานสามารถเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
แม้โจทก์จะอ้างตนเองและนำ ย. เข้าเบิกความต่อศาลแรงงานโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ แต่ศาลแรงงานก็อนุญาตให้โจทก์และ ย. เข้าเบิกความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี ศาลแรงงานจึงชอบที่จะรับฟังพยานของโจทก์ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์มิได้กระทำผิด จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์ลาออกจากงานเอง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิใช่โจทก์ลาออกเองตามที่จำเลยให้การต่อสู้ แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์กระทำผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84,177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานได้ หากคู่ความตกลงและจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียน
จำเลยเบิกความยอมรับว่า เป็นผู้เขียนข้อความทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งเป็นผู้วาดแผนที่ไว้ในสำเนาแบบแสดงรายการที่ดินแม้เอกสารดังกล่าวจะมิใช่ต้นฉบับที่แท้จริง แต่เป็นภาพถ่ายสำเนามาจากต้นฉบับซึ่งจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียนเอง เมื่อโจทก์ก็ยอมรับไม่โต้เถียงความไม่ถูกต้อง จึงต้องถือว่าคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88: ศาลมีอำนาจหากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ยื่นฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่ในมาตรา 87 (2) นั่นเองได้บัญญัติต่อไปว่า "?แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" เมื่อปรากฏว่าพยานบุคคลที่โจทก์ทั้งสองอ้าง เป็นพนักงานขายซึ่งมีหน้าที่ติดตามหนี้สินรายนี้จากจำเลยที่ 3 อันเป็นพยานสำคัญในคดี ทั้งจำเลยที่ 3 ก็มีโอกาสถามค้านและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างคำเบิกความของพยานโจทก์ปากนี้ได้ ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นนั้น ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของพยานบุคคลที่โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นพยานหลักฐานได้
of 10