พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาการรับโอนบัตรภาษีที่มีข้อตกลงรับผิดชอบการทุจริตของผู้โอนสิทธิ ถือเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้
จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในปัญหาตามข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์อันเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายห้าม
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่กรมศุลกากรโจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีที่ว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ มิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
การที่กรมศุลกากรโจทก์ออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยเกิดจากการทุจริตของบริษัท ท. ผู้ขอโอนสิทธิให้แก่จำเลย และจำเลยนำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรหมดแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามบทกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป
ข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่กรมศุลกากรโจทก์ตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีที่ว่า ในกรณีเกิดการทุจริตในการขอรับชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด ๆ จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการ มิใช่ความตกลงยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนอันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามจึงใช้บังคับได้ไม่เป็นโมฆะ
การที่กรมศุลกากรโจทก์ออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยเกิดจากการทุจริตของบริษัท ท. ผู้ขอโอนสิทธิให้แก่จำเลย และจำเลยนำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรหมดแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์ตามข้อสัญญาที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตามบทกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดอันเกิดแต่สัญญา และเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยใช้เงินตามบัตรภาษีแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือทวงถามวันที่ 23 มกราคม 2547 ครบกำหนดจำเลยชำระหนี้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับเงินค่างานของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการห้ามฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่าง
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312วรรคแรก หมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้อง การใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก..." การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4416/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางจำเป็นและผลผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิม
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทางจำเป็นจึงเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป
ทางจำเป็นรายพิพาทเจ้าของเดิมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5853 ซึ่งล้อมอยู่ได้รับเงินค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางจำเป็นไปแล้วโดยโจทก์ตกลงจะไม่เรียกร้องค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินเดิมหรือจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านซึ่งปลูกในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 อีกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว กรณีเช่นนี้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 ย่อมได้มาซึ่งทรัพยสิทธิทางจำเป็น จึงรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่จากเจ้าของที่ดินเดิม แม้จำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มาจากจำเลยในคดีเดิม จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอก โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันโดยคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าใช้ทางจำเป็นจากจำเลยอีก
ข้อบังคับของอาคารชุดโจทก์ระบุให้เจ้าของบ้านและบริวารหรือผู้มีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ทางเข้าออกซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางร่วมกับเจ้าของรวม แต่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าวด้วย แม้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 แต่จำเลยเป็นบุคคลภายนอก มิใช่เจ้าของรวมในอาคารชุดโจทก์ ทั้งการใช้ทางจำเป็นของจำเลยก็เป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นของโจทก์
ทางจำเป็นรายพิพาทเจ้าของเดิมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5853 ซึ่งล้อมอยู่ได้รับเงินค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางจำเป็นไปแล้วโดยโจทก์ตกลงจะไม่เรียกร้องค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินเดิมหรือจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านซึ่งปลูกในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 อีกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว กรณีเช่นนี้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 ย่อมได้มาซึ่งทรัพยสิทธิทางจำเป็น จึงรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่จากเจ้าของที่ดินเดิม แม้จำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มาจากจำเลยในคดีเดิม จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอก โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันโดยคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าใช้ทางจำเป็นจากจำเลยอีก
ข้อบังคับของอาคารชุดโจทก์ระบุให้เจ้าของบ้านและบริวารหรือผู้มีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ทางเข้าออกซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางร่วมกับเจ้าของรวม แต่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าวด้วย แม้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 แต่จำเลยเป็นบุคคลภายนอก มิใช่เจ้าของรวมในอาคารชุดโจทก์ ทั้งการใช้ทางจำเป็นของจำเลยก็เป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงพื้นที่ - การแสดงเจตนาขอรับโอนสิทธิ - ค่าเสียหายจากการละเมิด - เงินมัดจำ
สัญญาเช่าระบุว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า1ปีแรกผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าพิจารณารับโอนสิทธิการเช่าสถานที่เช่าได้โดยผู้ให้เช่ายินดีโอนสิทธิการเช่าที่ผู้ให้เช่ามีอยู่กับบริษัทม. และให้ผู้เช่าผ่อนชำระกับบริษัทม. ต่อไปข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าเมื่อครบกำหนด1ปีแรกหากจำเลยประสงค์จะรับโอนสิทธิการเช่าก็ทำได้แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าไว้ก็ตามแต่ตามเจตนารมณ์ของการทำสัญญาโจทก์จำเลยก็พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องแสดงเจตนารับโอนสิทธิการเช่าในระยะเวลาพอสมควรนับแต่เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า1ปีแรกเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสัญญาเช่าครบกำหนด1ปีแรกวันที่20พฤศจิกายน2531และครบกำหนดระยะเวลาเช่า3ปีวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์โอนสิทธิการเช่าเมื่อวันที่7มิถุนายน2533ซึ่งแม้จะเป็นเวลาก่อนครบกำหนดอายุสัญญาเช่าประมาณ5เดือนแต่ก็เป็นเวลาภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่า1ปีแรกล่วงพ้นไปแล้วถึง1ปี6เดือนจะพึงเห็นได้ว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรที่จะคาดหมายได้ว่าจำเลยยังคงประสงค์ที่จะขอรับโอนสิทธิการเช่าอยู่อีกทั้งโจทก์ก็ยืนยันว่าเมื่อครบสัญญา1ปีแรกแล้วโจทก์ได้ถามส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยว่าจะตกลงรับโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ก็ตอบว่าขณะนั้นพื้นที่บริษัทม.โอนสิทธิการเช่ากันตารางเมตรละ60,000บาทจำเลยจะต้องรับโอนสิทธิการเช่าจากโจทก์ตารางเมตรละ65,000บาทจึงไม่ต้องการรับโอนดังนั้นการที่จำเลยปล่อยระยะเวลาให้ล่วงพ้นกำหนดการเช่า1ปีแรกออกไปถึง1ปี6เดือนประกอบกับจำเลยเคยบอกโจทก์ว่าไม่ต้องการรับโอนสิทธิการเช่าจึงฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะรับโอนสิทธิการเช่าพื้นที่ตามสัญญาแล้วคำมั่นของโจทก์ที่จะต้องให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าจึงสิ้นผลผูกพันเมื่อการเช่าพื้นที่พิพาทครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยจึงต้องส่งมอบพื้นที่เช่าคืนโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจำเลยอยู่ในสถานที่เช่าเป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์และพื้นที่พิพาทก็ดีขึ้นกว่าระยะแรกที่เปิดศูนย์การค้าสมควรกำหนดค่าเสียหายเดือนละ300,000บาทจำเลยอุทธรณ์ว่ายังไม่ตรงกับความจริงและสูงเกินไปอันเป็นการกล่าวอ้างเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายน้อยลงแต่จำเลยไม่ได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ตรงความจริงอย่างไรและเป็นจำนวนสูงเกินไปเพียงใดหรือที่ถูกต้องเหมาะสมควรเป็นอย่างไรเพราะเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วแม้ในชั้นฎีกาจำเลยจะฎีกาในปัญหาเดียวกับในชั้นอุทธรณ์โดยเพิ่มเติมข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเข้ามาก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เงินมัดจำและเงินที่วางต่อสำนักงานวางทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าเช่าค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาและค่าโทรศัพท์ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าไม่ใช่เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยต่อโจทก์จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า: หน้าที่คืนเงินประกันไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
การคืนเงินประกันให้จำเลยเป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่า ไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่า จึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ให้เช่าจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่ โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้ตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า: หน้าที่คืนเงินประกันไม่ใช่สาระสำคัญ
การคืนเงินประกันให้จำเลยเป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ให้เช่าจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้ตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่: หนังสือแจ้งให้วางเงินไม่ใช่หนังสือให้รับโอนสิทธิ
แม้ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามที่โจทก์ขอและจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ซึ่งมีผลทำให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดก็ตาม แต่การที่จำเลยยื่นคำร้องในภายหลังต่อมาว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และเหตุที่จำเลยไม่ได้มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์ เพราะจำเลยจำวันนัดคลาดเคลื่อนไป ขอให้ไต่สวนคำร้องขอให้ออกหมายบังคับคดีของโจทก์และมีคำสั่งยกหมายบังคับคดี พร้อมกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อน ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวเท่ากับเป็นกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติป.วิ.พ. ลักษณะ 2 การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งต้องด้วยมาตรา 296 วรรคแรกที่ให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งให้ยกหรือแก้ไขหมายบังคับคดีนั้นเสียได้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า โจทก์จะดำเนินการให้จำเลยได้รับสิทธิการเช่าห้องเลขที่ 191 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในอาคารห้องเลขที่ดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วงหรือจากโจทก์ หากสามารถโอนสิทธิการเช่าได้เมื่อใดภายในก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ690,000 บาท ทั้งหมดในคราวเดียว แต่ให้หักชำระจากเงินที่ชำระไว้เดือนละ5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญานี้ออกเสียก่อน แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิ การชำระเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยต้องนำมาวางต่อศาล ผิดนัดในข้อนี้ ยอมให้บังคับคดีและจำเลยจะต้องออกจากห้องพิพาท และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากห้องพิพาททันที แต่ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยระบุให้จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลฝ่ายเดียวภายใน 2 เดือน โดยไม่ระบุว่าฝ่ายโจทก์จะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยเมื่อใดเพียงแต่กล่าวว่าหลังจากจำเลยวางเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็จะได้เร่งดำเนินการให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิดังโจทก์อ้าง แม้จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวและมิได้นำเงินมาวางศาลจนล่วงพ้น 2 เดือน นับแต่วันรับ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า โจทก์จะดำเนินการให้จำเลยได้รับสิทธิการเช่าห้องเลขที่ 191 จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงในอาคารห้องเลขที่ดังกล่าวหรือผู้ที่ได้รับสิทธิการเช่าช่วงหรือจากโจทก์ หากสามารถโอนสิทธิการเช่าได้เมื่อใดภายในก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 จำเลยยอมชำระเงินส่วนที่เหลือ690,000 บาท ทั้งหมดในคราวเดียว แต่ให้หักชำระจากเงินที่ชำระไว้เดือนละ5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญานี้ออกเสียก่อน แก่โจทก์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิ การชำระเงินจำนวนดังกล่าวจำเลยต้องนำมาวางต่อศาล ผิดนัดในข้อนี้ ยอมให้บังคับคดีและจำเลยจะต้องออกจากห้องพิพาท และขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากห้องพิพาททันที แต่ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยระบุให้จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลฝ่ายเดียวภายใน 2 เดือน โดยไม่ระบุว่าฝ่ายโจทก์จะโอนสิทธิการเช่าให้จำเลยเมื่อใดเพียงแต่กล่าวว่าหลังจากจำเลยวางเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์ก็จะได้เร่งดำเนินการให้จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือให้ทำการรับโอนสิทธิดังโจทก์อ้าง แม้จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวและมิได้นำเงินมาวางศาลจนล่วงพ้น 2 เดือน นับแต่วันรับ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาจ้างแรงงานและการรับโอนสิทธิภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้าง
ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518เป็นกรณีต่อเนื่องมาจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องโดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างที่มีส่วนในการเลือกผู้แทนผู้เข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และเห็นได้ว่าความในมาตรา 20 เป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 และต่อมาตกลงกันได้ตามมาตรา 18 และ 22 เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้องดังกล่าวมา กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จเสียใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 ได้ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานระดับบริหารและได้ทำข้อตกลงให้ยกเลิกระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานระดับบริหารของบริษัทซึ่งมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ข้อตกลงดังกล่าวนี้จึงใช้บังคับได้และมีผลผูกพันโจทก์
ในปี 2522 บริษัท จ. และบริษัทในเครือออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 และการโอนย้ายโจทก์ระหว่างบริษัทในเครือของบริษัท จ.กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องกันไปเสมือนได้ทำอยู่ในบริษัทเดียวกัน และคงให้สิทธิต่าง ๆ เช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5 ก็ได้ระบุไว้เช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงรับโอนโจทก์มาพร้อมสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องเงินบำเหน็จตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งใช้บังคับได้สิทธิของโจทก์มีเพียงใด จำเลยที่ 1 ก็คงรับโอนมาเพียงนั้น เอกสารหมาย ล.1จึงผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานระดับบริหารและได้ทำข้อตกลงให้ยกเลิกระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานระดับบริหารของบริษัทซึ่งมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ข้อตกลงดังกล่าวนี้จึงใช้บังคับได้และมีผลผูกพันโจทก์
ในปี 2522 บริษัท จ. และบริษัทในเครือออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 และการโอนย้ายโจทก์ระหว่างบริษัทในเครือของบริษัท จ.กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องกันไปเสมือนได้ทำอยู่ในบริษัทเดียวกัน และคงให้สิทธิต่าง ๆ เช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5 ก็ได้ระบุไว้เช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงรับโอนโจทก์มาพร้อมสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องเงินบำเหน็จตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งใช้บังคับได้สิทธิของโจทก์มีเพียงใด จำเลยที่ 1 ก็คงรับโอนมาเพียงนั้น เอกสารหมาย ล.1จึงผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5745/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนและการรับโอนสิทธิหน้าที่จากสัญญาเดิม ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ช. เจ้าของที่ดินเดิมและ ช. ให้จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนดเวลารวม 12 ปีเช่นนี้สัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ช. กับจำเลยยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวที่ทำกัน 4 ฉบับ ๆ ละ3 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งผูกพันจำเลยกับ ช. คู่สัญญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินและตึกแถวจาก ช. ได้รับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น ซึ่งมีผลเป็นการตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทน ช. ผู้ให้เช่าเดิมต่อไป อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งทำให้จำเลยในฐานะบุคคลภายนอกและเป็นผู้เช่าตึกแถวจาก ช. มีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ย่อมต้องผูกพันที่จะให้จำเลยเช่าต่อไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ เพราะในกรณีเช่นนี้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์จะอ้างว่าได้ที่ดินและตึกแถวโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิสัญญาเช่าและการยินยอมก่อสร้างนอกเหนือสัญญา สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอน
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายในเขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้น มิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้างท่าเทียบเรือ ล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ ให้เช่าจะต้องยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ.ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองโจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้า ที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาต กรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลย ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500ตันกรอสส์ ก็เป็น การเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้น กว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิม แม้โจทก์จะมีหนังสือ ถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเองก็ตาม.