คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รั้วรุกล้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะเจ้าของที่ดิน ผู้รับโอนสิทธิยังไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว และขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมา จำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวา เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. การยินยอมโดยปริยาย และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เดิมที่ดินแปลงใหญ่ทั้งโฉนดเป็นของจำเลยร่วม จำเลยร่วมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างตึกแถว 10 ห้อง พร้อม ๆ สร้างห้องแถวในที่ดินดังกล่าวผู้รับเหมาได้ทำรั้วกำแพงก่ออิฐถือปูนกว้าง 1 เมตร ยาว 3.50 เมตร แทนรั้วสังกะสีเดิมติดด้านหลังตึกแถวทุกห้อง จำเลยร่วมไม่ได้ทักท้วงห้ามปรามอย่างใด แสดงว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ผู้รับเหมาทำรั้วกำแพงได้ ฉะนั้น การที่ผู้รับเหมาก่อสร้างกำแพงหลังตึกดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิด ต่อมาจำเลยร่วมแบ่งแยกโฉนดโอนขายที่ดินนอกเขตที่สร้างตัวตึกแถวให้ โจทก์ขายตึกแถวเฉพาะที่ดินที่สร้างตึกแถวให้บุคคลอื่นและ ส. ส.ขายตึกแถวห้องเลขที่ 464/2 พร้อมทั้งที่ดินให้จำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานกรมที่ดินมารังวัดสอบเขตแล้วความจึงปรากฏว่า รั้วกำแพงด้านหลังตึกแถวทุกห้องรวมทั้งห้องของจำเลยที่ 1 ด้วย ก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายมาตราใดที่จะยกขึ้นมาปรับคดีได้โดยตรง ในการวินิจฉัยคดีจึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงตามมาตรา 4 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบทกกฎหมายใกล้เคียงที่จะปรับกับข้อเท็จจริงคดีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบด้วยมาตรา 1314 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างคือรั้วกำแพง แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลย ดังนี้ โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงและเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ทั้งจะให้จำเลยชำระเงินค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ก็ไม่ได้เพราะรั้วกำแพงไม่ใช่โรงเรือน กรณีไม่เข้ามาตรา 1312 จำเลยไม่มีสิทธิใช้ที่ดินที่ก่อสร้างและภายในเขตรั้วกำแพงซึ่งเป็นที่พิพาทเพราะเป็นของโจทก์ และคดีนี้จะบังคับให้โจทก์ใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างรั้วกำแพงนั้นให้แก่จำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งและไม่มีประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีละเมิดทำเขื่อนกับคดีรั้วรุกล้ำเป็นคนละเรื่องกัน
คดีหมายเลขแดงที่ 212/2504 พิพาทกันเรื่องละเมิด ขอให้ทำเขื่อนกั้นที่ดิน คดีเสร็จเด็ดขาดกันไปแล้ว คดีนี้ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำรั้วเขตที่รุกล้ำเข้ามาในที่ของโจทก์ เป็นคนละเรื่องกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรื้อรั้วรุกล้ำทางเดิน – การกระทำไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญา
เสารั้วของโรงเรียนปักอยู่บนคันคลองของกรมชลประทานล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นครูและภารโรงของโรงเรียนร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วนั้นขึ้น ย่อมมีสิทธิจะถอนเสารั้วออกทำใหม่ได้ เพราะทางโรงเรียนไม่มีสิทธิจะทำรั้วรุกล้ำทางเดินซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จะรื้อถอนทำในเวลากลางคืนโดยไม่สมควรอยู่บ้าง ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง และเป็นเหตุในลักษณะคดี ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรื้อถอนรั้วรุกล้ำทางเดินสาธารณะ แม้ทำในเวลากลางคืน ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดทำลายทรัพย์สิน
เสารั้วของโรงเรียนปักอยู่บนคันคลองของกรมชลประทานล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นครูและภารโรงของโรงเรียนร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วนั้นขึ้น ย่อมมีสิทธิจะถอนเสารั้วออกทำใหม่ได้ เพราะทางโรงเรียนไม่มีสิทธิจะทำรั้วรุกล้ำทางเดินซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จะรื้อถอนทำในเวลากลางคืนโดยไม่สมควรอยู่บ้าง ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง และเป็นเหตุในลักษณะคดี ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย พิพากษากลับให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อรั้วรุกล้ำทางสาธารณะ: การกระทำไม่ถึงความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เสารั้วของโรงเรียนปักอยู่บนคันคลองของกรมชลประทานล้ำทางเดินเกือบกึ่งทาง. จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นครูและภารโรงของโรงเรียนร่วมกับนักเรียนจัดทำรั้วนั้นขึ้น.ย่อมมีสิทธิจะถอนเสารั้วออกทำใหม่ได้. เพราะทางโรงเรียนไม่มีสิทธิจะทำรั้วรุกล้ำทางเดินซึ่งไม่ใช่ที่ดินของโรงเรียน. แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 จะรื้อถอนทำในเวลากลางคืนโดยไม่สมควรอยู่บ้าง. ก็ไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์.
ศาลชั้นต้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้องจึงพิพากษาลงโทษ. จำเลยที่ 1 ผู้เดียวอุทธรณ์และฎีกา. ศาลฎีกาฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นความผิดตามฟ้อง. และเป็นเหตุในลักษณะคดี. ชอบที่จะพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย. พิพากษากลับให้ยกฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รั้วรุกล้ำที่ดิน: ยินยอม ≠ ครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินมีสิทธิรื้อถอนได้ทันทีเมื่อต้องการ
การที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้รั้วของจำเลยยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ได้ต่อไปนั้น จำเลยจะอ้างการครอบครองปกปักษ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อโจทก์หาได้ไม่ และเมื่อใดโจทก์ไม่มีความประสงค์จะให้รั้วของจำเลยคงอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปแล้ว โจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้ทันที หาจำต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลรื้อรั้วที่อนุญาตให้สร้งอยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป จำเลยรับสำเนาฟ้องแล้วไม่ยอมรื้อรั้วกลับต่อสู้คดี ดังนี้ ถือว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์นับแต่วันรับสำเนาฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ปลูกรั้วรุกล้ำที่ดินไม่ได้ทำให้เกิดสิทธิครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินมีสิทธิรื้อถอนได้ทันที
การที่โจทก์ยินยอมอนุญาตให้รั้วของจำเลยยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ได้ต่อไปนั้นจำเลยจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่ดินต่อโจทก์หาได้ไม่และเมื่อใดโจทก์ไม่มีความประสงค์จะให้รั้วของจำเลยคงอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปแล้ว โจทก์ก็ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อถอนรั้วนั้นออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้ทันที หาจำต้องบอกกล่าวแก่จำเลยก่อนฟ้องไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อรั้วที่อนุญาตให้สร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป จำเลยรับสำเนาฟ้องแล้วไม่ยอมรื้อรั้วกลับต่อสู้คดีดังนี้ ถือว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์นับแต่วันรับสำเนาฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อใด? การรับรองจะรื้อรั้วไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
การที่จำเลยรับรองจะรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ออกไปนั้น เป็นการแสดงว่ายังเคารพสิทธิครอบครองของโจทก์อยู่ หาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่ หากจำเลยขัดขืนเถียงสิทธิไม่ยอมรื้อถอนรั้วออกไปเมื่อใด อายุความจึงจะเริ่มนับแต่วันนั้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความแย่งการครอบครอง: เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเริ่มเมื่อจำเลยปฏิเสธการรื้อรั้ว ไม่ใช่เมื่อเริ่มทำรั้ว
การที่จำเลยรับรองจะรื้อถอนรั้วที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ออกไปนั้น เป็นการแสดงว่ายังเคารพสิทธิครอบครองของโจทก์อยู่ หาใช่เป็นการแย่งการครอบครองไม่ หากจำเลยขัดขืนเถียงสิทธิไม่ยอมรื้อถอนรั้วออกไปเมื่อใด อายุความจึงจะเริ่มนับแต่วันนั้นไป
of 2