คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประเมินราคาทรัพย์สินใหม่เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเมื่อราคาเดิมสูงเกินไป
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดว่า ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้องเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 นั้น หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคมทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากพฤติการณ์ต่างๆ ปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตีความมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาความสมเหตุสมผลของราคาขายทอดตลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัด ๆ มานั้น หากมีผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้เลย โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัด ๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองรายนี้ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอซื้อไว้ในครั้งก่อน จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การยกเว้นการเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาที่ไม่สอดคล้องกับราคาประเมิน
จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์เคยประเมินราคาที่ดินทั้งสองแปลงไว้ประมาณ8,000,000 บาท แต่ขายทอดตลาดไปในราคา 5,600,000 บาท โดยโจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกในราคาต่ำกว่าที่ดินแปลงที่สองถึง 1,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ติดกันและก่อนขายทอดตลาดจำเลยก็ได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินราคาที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 5,432,700 บาท ว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่โจทก์ประเมินไว้และต่ำกว่าราคาตามความเป็นจริงในท้องตลาด เป็นการขายโดยไม่สุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ข้ออ้างตามคำร้องดังกล่าวเป็นเรื่องโต้แย้งราคาขายซึ่งอาจแตกต่างจากการซื้อขายกันตามปกติได้ ส่วนการประเมินราคาก็เป็นการกำหนดราคาไว้ในเบื้องต้นซึ่งไม่แน่นอนแล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ คำร้องของจำเลยจึงมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หรือเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าเสียหายจากเหตุละเมิดต่อทรัพย์สิน: ราคาขณะเกิดเหตุ vs. ราคาซื้อเดิม และค่าเสื่อมราคา
ปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในเหตุที่จำเลยนำเครื่องบินของโจทก์ขึ้นฝึกบินโดยประมาทจนเป็นเหตุให้เครื่องบินตกมากน้อยเพียงใดให้คิดคำนวณราคาทรัพย์เพื่อชดใช้แทนตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคาในขณะเกิดเหตุละเมิด ด้วยเหตุนี้การคิดมูลค่าของเครื่องบินจึงต้องคิดจากราคาในขณะเกิดเหตุละเมิดไม่ใช่คิดจากราคาซื้อเดิม นอกจากนี้เครื่องบินเป็นทรัพย์สินที่เสื่อมราคาเพราะการใช้งานจึงต้องคิดค่าเสื่อมราคาด้วย ดังนั้น ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะทำให้เครื่องบินของโจทก์ตกโดยประมาทคือราคาเครื่องบินขณะเกิดเหตุหลังจากหักค่าเสื่อมราคาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายกรณีปลาแฟนตาซีคาร์พตาย: พิจารณาจากราคา ความพิเศษ และความผูกพันทางจิตใจ
จำเลยที่ 1 รับเหมาก่อสร้างอาคารซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินของบิดามารดาโจทก์ซึ่งโจทก์พักอาศัยอยู่ด้วย ทำให้มีเศษวัสดุก่อสร้างตกหล่นเข้าไปในบริเวณบ้านดังกล่าวและบ่อปลา เป็นเหตุให้ปลาแฟนตาซีคาร์พที่โจทก์เลี้ยงในบ่อตายจำเลยที่ 1 ผู้รับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมงาน และจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ปลาแฟนซีคาร์พ 7 ตัวของโจทก์ เป็นปลาพันธุ์ดีที่โจทก์ซื้อซึ่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น โจทก์เลี้ยงดูปลาอย่างดี มีบ่อเลี้ยงปลาที่ดีทั้งระบบนิเวศน์ระบบพักน้ำและระบายน้ำ เมื่อคำนึงถึงราคาที่ซื้อมา ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงดูแลรักษาตลอดจนระยะเวลาที่โจทก์ใช้ในการเลี้ยงดูปลาจนถึงวันที่ปลาตายเป็นเวลาเกินกว่า6 ปี ประกอบกับปลาทั้งเจ็ดตัวนี้เคยส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลทุกตัวจนมีผู้เสนอขอซื้อในราคาตัวละ 150,000 บาท จึงย่อมเป็นปลาที่โจทก์ภาคภูมิใจและมีค่าอย่างสูงในด้านจิตใจของโจทก์ ไม่อาจนำราคาปกติของปลาแฟนตาซีคาร์พทั่วไปในท้องตลาดมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายได้ เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 700,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินต่ำกว่าราคาตลาดเมื่อผู้ถูกเวนคืนได้ที่ดินมาภายใน 5 ปี และไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์: ราคา, หมายเหตุ, และเจตนาของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในราคาประมูล: ความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อทำให้ใช้ข้อสำคัญผิดไม่ได้
ผู้ซื้อทรัพย์มีความประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์จำนองจริง และเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์จำนองรายนี้ได้ในราคาสูงสุด แต่มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลายรายการทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สับสนโดยนำราคาที่จะต้องเข้าประมูลในคดีอื่นมาประมูลซื้อในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในราคาอันเป็นคุณสมบัติของทรัพย์ แต่ความสำคัญผิดของผู้ซื้อทรัพย์เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการแสดงเจตนาเข้าประมูลซื้อทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบราคาให้ถูกต้อง ผู้ซื้อทรัพย์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 158 จึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิกการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7058/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในราคาประมูลซื้อทรัพย์: ความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อทำให้ใช้ข้อสำคัญผิดไม่ได้
ผู้ซื้อทรัพย์มีความประสงค์จะประมูลซื้อทรัพย์จำนองจริง และเป็น ผู้ประมูลซื้อทรัพย์จำนองรายนี้ได้ในราคาสูงสุด แต่มีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลายรายการทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สับสนโดยนำราคาที่จะต้องเข้าประมูลในคดีอื่นมาประมูลซื้อในคดีนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในราคาอันเป็นคุณสมบัติของทรัพย์ แต่ความสำคัญผิดของผู้ซื้อทรัพย์เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการแสดงเจตนาเข้าประมูลซื้อทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบราคาให้ถูกต้อง ผู้ซื้อทรัพย์จะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 จึงไม่มีเหตุที่จะยกเลิก การขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อคำนวณค่าทดแทนที่ดิน: นับแต่วันเริ่มต้น
ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ นั้น บัญญัติให้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้มีกำหนด 4 ปี หากแปลวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นวันใดวันหนึ่งตลอดเวลาที่พระราชกฤษฎีกานั้นมีผลใช้บังคับอยู่ก็จะทำให้วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นไม่อาจถือเอาเป็นที่แน่นอนได้ ดังนั้น ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 21 (1) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงหมายถึงวันเริ่มใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น
of 20