คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12199/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยราคาสินค้าจริง หากราคาที่สำแดงถูกต้อง การประเมินเพิ่มเติมจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 แม้อธิบดีกรมสรรพากร โจทก์ที่ 2 จะมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร และจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบว่า การประเมินของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้บางส่วนในสัญญาซื้อขาย สิทธิเรียกร้องราคาสินค้า
คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม กฎหมายมุ่งบัญญัติ ให้ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ ดังนั้น หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ชำระหนี้ส่วนของตนไปแล้วก็ย่อมจะเรียกร้องเอาสิทธิที่ตนจะได้รับจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ เพราะสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้ขายย่อมมีหนี้ที่ ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ ส่วนผู้ซื้อก็มีหนี้ที่ต้องใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ ความว่า โจทก์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อแล้ว จึงถือว่าโจทก์ได้ชำระหนี้ส่วนของตนแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหายและราคาสินค้าที่แท้จริง การบังคับคดีดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ รับขนของทางอากาศ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ส่งสินค้าซึ่งทำด้วยทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น ไปให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ลูกค้าที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทางเครื่องบินของจำเลยที่ 2 เมื่อเครื่องบินขนสินค้ามาถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 30 สิงหาคม 2540 ปรากฏว่าสินค้าได้สูญหายไปทั้งหีบห่อ โจทก์เคยมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ขอชดใช้ให้เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ประเด็นแรกว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องไว้จากบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วหรือไม่ ในประเด็นนี้นางสาวมาลีตันฑ์วณิช ผู้จัดการฝ่ายรับประกันวินาศภัยของโจทก์เบิกความว่า โจทก์รับประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 1 หีบห่อ ซึ่งบรรจุสินค้าจำนวน 817 ชิ้น จากบริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ซึ่งจะขนสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางเครื่องบิน โดยรับประกันภัยไว้เป็นเงินจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขายได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์โดยทางเครื่องบินเพื่อส่งมอบให้บริษัทมัสท์เมก เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าดังกล่าว ซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1ได้รับสินค้าไว้เรียบร้อยครบจำนวนแล้วได้ออกใบตราส่งทางอากาศให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งตามเอกสารหมาย จ.6 จากนั้นจำเลยที่ 1ได้จ้างจำเลยที่ 2 อีกทอดหนึ่งให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากกรุงเทพมหานครไปยังเมืองกัวลาลัมเปอร์ เครื่องบินลำที่ขนส่งสินค้าดังกล่าวไปถึงเมืองกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2540 แต่ปรากฏว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปทั้งหีบห่อในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 เมื่อสินค้าสูญหายบริษัทผู้เอาประกันภัยได้เรียกร้องค่าเสียหายไปยังจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองไม่ชดใช้ให้ บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยจึงเรียกร้องมายังโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย โจทก์พิจารณาเห็นว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายไปทั้งหมดจริง จึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บริษัทดังกล่าวไปจำนวน 11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยเท่ากับ307,294 บาท เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2541 แล้วบริษัทผู้เอาประกันภัยดังกล่าวได้ออกใบรับช่วงสิทธิให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย จ.9เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความยืนยันว่าโจทก์ได้รับประกันภัยจากบริษัทเอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด พร้อมทั้งมีกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.4 มาแสดง นอกจากนั้นเมื่อสินค้าได้สูญหายและโจทก์ได้ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว บริษัท เอ็น.เอส.จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียลงวันที่ 15 มกราคม 2541 ตามเอกสารหมาย จ.9 ให้โจทก์ ซึ่งถ้าหากมิได้มีการประกันภัยสินค้าทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยจำนวน 817 ชิ้นที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องกันไว้และมิได้มีการใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กันจริง โจทก์ก็คงจะไม่ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่แฟคตอรี่ จำกัด และบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด ก็คงจะไม่ออกใบรับช่วงสิทธิในความสูญเสียให้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่พอให้เชื่อว่าโจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 ให้บริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัด โดยไม่ได้มีการประกันภัยสินค้าดังกล่าวไว้แล้วโจทก์สมคบกันกับบริษัทดังกล่าวโดยทุจริตยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทนั้นไปเพียงเพื่อจะได้เข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทนั้นมาฟ้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งแต่อย่างใด เชื่อว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางอากาศตามคำฟ้องและได้จ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจริงส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างในอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้รับประกันภัยก่อนขนส่งสินค้าดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้นั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายโจทก์ถามติงว่า เหตุที่วันที่ออกกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นวันหลังจากวันที่ออกใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 เพราะโจทก์ตกลงกับบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ซึ่งเป็นนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ว่า ให้ออกเอกสารแสดงการรับประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยไปก่อนและรวบรวมส่งให้โจทก์เป็นรายเดือน แล้วโจทก์ก็จะนำไปออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับสมบูรณ์คือเอกสารหมาย จ.4 ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 แผ่นแรก ก็ระบุถึงวันที่บริษัทนายหน้าออกเอกสารไว้ว่า วันที่ 29 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ทำการขนส่งดังที่ระบุไว้ในใบตราส่งเอกสารหมาย จ.6จากพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเชื่อว่าบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัดรับประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องไว้แทนโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2540ก่อนที่จะเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่เอาประกันภัย ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้านั้นที่จะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยสินค้าตามคำฟ้องที่ต้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ และที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 เป็นเพียงสำเนาเอกสาร รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามกฎหมายไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านไว้แล้วนั้น เห็นว่า นางสาวมาลีเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 ถามค้านว่า กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4มีเอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นของบริษัทนายหน้ารับประกันภัยของโจทก์ เอกสารที่แนบท้ายเอกสารดังกล่าวมีเพียงฉบับเดียว ดังปรากฏตามที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งบริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยทำเป็นคู่ฉบับ ซึ่งเป็นต้นฉบับ 2 ฉบับ และทำสำเนาหลายฉบับ ส่งไปให้ผู้เอาประกันภัย 1 ฉบับ และตัวแทนรับประกันภัยของโจทก์ 1 ฉบับ ด้วยอันแสดงว่าเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.4 บริษัทแองโกล อีสต์ ชัวตี้ จำกัด ได้ทำขึ้นเพียงฉบับเดียว ดังนั้น ต้นฉบับจึงต้องอยู่กับผู้เอาประกันภัย คือบริษัท เอ็น.เอส. จิวเวลรี่ แฟคตอรี่ จำกัดเพราะโจทก์ต้องส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมเอกสารแนบท้ายไปให้ผู้เอาประกันภัยด้วย โจทก์จึงเหลือเพียงต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารหมาย จ.4 อีก 1 ฉบับ และสำเนาเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 ที่โจทก์ทำไว้เท่านั้น เหตุที่ต้นฉบับเอกสารที่แนบท้ายเอกสารหมาย จ.4 มิได้อยู่ที่โจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบ และรับฟังสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐาน จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า สินค้าที่ขนส่งมีราคาเท่าใด และจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดนั้น เห็นว่า ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 ในช่องลักษณะและจำนวนของสินค้า (รวมทั้งขนาดวัดและความจุ) แจ้งรายละเอียดว่าเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอย สินค้ามีขนาดวัด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ต้นกำเนิดประเทศไทย ใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็ม เอ 004/97 และเมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้าเลขที่ เอ็มเอ 004/97 ตามเอกสารหมาย จ.5แล้วปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวระบุรายละเอียดว่า รวมราคาสินค้าส่งถึงบนเครื่องบิน กรุงเทพฯ จำนวน 817 ชิ้น น้ำหนัก 1,931 กรัม จำนวน1,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเชื่อว่าราคาสินค้าที่ขนส่งเป็นเงินจำนวน11,510.50 ดอลลาร์สหรัฐ จริง ตามใบตราส่งทางอากาศเอกสารหมายจ.6 ที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้ทำขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าสินค้ามีราคาเพียง15,000 บาท ตามราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอชดใช้ให้โจทก์นั้น ปรากฏว่าสินค้าที่สูญหายไปเป็นทอง 18 เค ประดับด้วยเพชรพลอยซึ่งเป็นของมีค่าและมีจำนวน817 ชิ้น มีน้ำหนักถึง 1,931 กรัม ซึ่งย่อมจะต้องมีราคาสูง ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้เพราะขัดต่อเหตุผล เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งได้ทำให้สินค้าอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อผู้ส่งซึ่งเอาประกันภัยสินค้านั้นไว้แก่โจทก์ตามราคาสินค้าที่ขนส่งที่แท้จริง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามาชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 อันเป็นวันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์นั้นปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน307,294 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนไปคือวันที่ 15 มกราคม 2541 จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 อันเป็นวันฟ้องเป็นเวลา 7 เดือนเศษ แต่โจทก์ขอคิดเพียง 7 เดือน ไม่ขอคิดดอกเบี้ยในเศษ 13 วัน ด้วย เป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 13,444.11 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 320,738.11 บาท และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 320,738.11 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 307,294 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาท เป็นเวลา 13 วัน ซึ่งโจทก์มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระรวมเข้าไปด้วย อันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 320,738.11บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 307,294 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 5,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชำระราคาสินค้า แม้ต่อสู้ว่าสินค้าไม่มีคุณภาพ แต่ไม่สามารถนำสืบหลักฐานยืนยันได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์หลายครั้งแล้วยังไม่ชำระราคาจำเลยให้การรับว่าซื้อสินค้าจากโจทก์จริง ที่จำเลยไม่ชำระราคาเพราะสินค้าที่โจทก์ส่งมอบไม่มีคุณภาพ จำเลยนำไปใช้แล้วเกิดความเสียหาย เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องสินค้าไม่มีคุณภาพขึ้นปฏิเสธความรับผิดชำระราคาสินค้า จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบ หากพยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจรับฟังได้สมกับข้อต่อสู้ตามคำให้การ จำเลยจึงต้องแพ้คดีโดยศาลไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานโจทก์มาวินิจฉัยว่าสินค้าของโจทก์ไม่บกพร่องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการฉ้อโกงต้องมีตั้งแต่แรก การคิดราคาสินค้าใหม่หรือมีเรื่องทะเลาะกันเป็นเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ความผิดอาญา
การที่จะฟังว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงโจทก์หรือไม่ข้อเท็จจริงจะต้องได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่แรกหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินมัดจำ 10,000 บาท จากโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าขณะที่โจทก์วางมัดจำนั้น จำเลยทั้งสองได้ขายรถยนต์ไปแล้วจริง อันจะทำให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์มาตั้งแต่แรก แต่กลับปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสอง ให้ผู้อื่นเช่าซื้อรถยนต์ไปในภายหลัง การที่จำเลยทั้งสอง ปฏิเสธไม่ยอมขายรถยนต์ให้โจทก์ในราคาที่ตกลงกันไว้แต่แรก จะเป็นด้วยการคิดคำนวณราคาผิดหรือเพราะมีเรื่องทะเลาะกัน จึงไม่คิดส่วนลดให้โจทก์ก็ตาม กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่ง ไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์: ศุลกากรมีสิทธิประเมินราคาสินค้าใหม่ได้หากพบราคาต่ำกว่าตลาด
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึงเสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อจำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรใหม่ได้ แม้มีการอุทธรณ์ก่อนหน้า หากพบราคาสินค้าไม่ถูกต้อง
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม ไม่ได้บัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอน การประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ ตามบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคแรก และวรรคสาม แสดงว่า ภายในอายุความหากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบว่าจำเลยสำแดงรายการสินค้า ไม่ถูกต้องก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริง ในท้องตลาดได้ การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลัง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด ส่วนภาษีการค้าและภาษีเทศบาลที่จำเลยมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเป็นโมฆะหากผู้ส่งไม่ได้ตกลงด้วยชัดเจน และผู้ขนส่งต้องรับผิดในราคาสินค้าที่แท้จริง
แม้พนักงานของบริษัทส.ผู้ส่ง ได้ลงชื่อไว้ในใบรับเอกสารซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งก็ตาม แต่บริษัทฮ.ผู้ส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ดังนี้ ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ประกอบ กับสินค้าพิพาทเป็นยาแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่งบริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าที่สำแดงตาม CIF เชื่อถือได้หากมีหลักฐานประกอบ และการประเมินราคาต้องอ้างอิงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
กรณีของโจทก์เป็นเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางเงินประกันค่าอากรอีกส่วนหนึ่งได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้วต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มโจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินการชำระค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับสินค้าแล้วจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ได้ชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้โจทก์จะมิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องจำเลยก็ย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่ากับที่โจทก์ได้ชำระให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกร้อยละ0.625ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112จัตวาวรรคท้ายดังนั้นคดีนี้โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินอากรขาเข้าที่ชำระไว้เดิมพร้อมดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เรียกเก็บไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันชำระอากรขาเข้าโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีนี้โจทก์ได้ชำระเงินอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินการชำระเงินค่าอากรเพิ่มดังกล่าวเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้วกรณีจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าดังนั้นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุใดที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงจึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา10วรรคห้าเช่นกันเพราะขณะที่โจทก์รับมอบสินค้าจากกรมศุลกากรนั้นโจทก์ยังมิได้เสียอากรตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนแต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112และมาตรา112ทวิกล่าวคือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านพิธีการศุลกากรพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยและตัวแทนของโจทก์จึงตกลงให้ชำระอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับและให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ประเมินอากรเพิ่มภายหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้วประมาณ1เดือนซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติศุลกากรมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องใช้อายุความตามบทบัญญัติทั่วไปมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30(มาตรา164เดิม) หลักเกณฑ์การประเมินตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.3ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดต่อรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนกับคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531ข้อ1.5ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน3เดือนและตามคำสั่งกค0614(ก)/8024ลงวันที่25กรกฎาคม2532ที่กำหนดให้สินค้าก๊าซเอทธีลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็วประกอบคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530ข้อ2.2ที่ระบุว่าของที่ราคาเคลื่อนไหวเร็วซึ่งกองพิธีการและประเมินอากรร่วมกับกองวิเคราะห์ราคาได้พิจารณากำหนดชนิดของนั้นๆไว้ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาระยะเวลาไม่เกิน1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรนั้นเป็นเพียงแนวทางให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้สำหรับพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยนำสืบแสดงหลักฐานว่าราคาที่โจทก์สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าประเภทชนิดเดียวกันจากแหล่งประเทศกำเนิดเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่โจทก์เคยนำเข้าโดยให้ใช้ราคาสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาราคาภายในระยะเวลาไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนเป็นราคาที่ใช้ในการประเมินอากรเมื่อโจทก์จำเลยรับกันว่าสินค้าก๊าซเอทธิลีนเหลวเป็นสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวเร็วมีการเปลี่ยนแปลงราคาเดือนละ3ถึง4ครั้งจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าราคาสินค้าที่เคยนำเข้าสูงสุดย้อนหลังไม่เกิน3เดือนหรือ1เดือนที่จำเลยใช้เป็นเกณฑ์ประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2ส่วนโจทก์นำสืบแสดงว่าราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวขึ้นลงเร็วก่อนโจทก์สั่งซื้อจะต้องสอบถามราคาจากผู้ผลิตและข่าวสารทั่วโลกแหล่งข่าวสารที่โจทก์ติดตามประจำคือไอ.ซี.ไอ.เอส.(IndenpendentChemicalInformationService)ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของราคาก๊าซเอทธิลีนเหลวทั่วโลกราคาของก๊าซเอทธิลีนเหลวมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามสถานการณ์ของตลาดเฉลี่ยเดือนละ3ครั้งราคาที่โจทก์จัดซื้อเมื่อเทียบเคียงราคาจากข่าวสารจะใกล้เคียงระดับเดียวกันการซื้อโจทก์ชำระราคาโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมีใบกำกับสินค้าแสดงราคาสินค้าสัญญาซื้อขายพร้อมทั้งใบเสร็จรับเงินของธนาคารเป็นหลักฐานจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์สำแดงราคาสินค้าตามที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าและใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง29ฉบับที่โจทก์ซื้อมาและชำระราคาไปแล้วนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรฉะนั้นราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าทุกฉบับจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
of 4