คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราชกิจจานุเบกษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: วันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 28 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91 หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป ซึ่งจัดพิมพ์แล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้กับสมาชิกที่ไปรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ส่วนงานราชกิจจานุเบกษาด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 ดังนี้ จึงฟังได้ว่าวันที่ 14 สิงหาคม 2545 เป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ลงประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดไปยังสาธารณชน กำหนดเวลา 2 เดือน จึงเริ่มต้นนับแต่วันดังกล่าวโดยจะครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 14 ตุลาคม 2545 เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 จึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91
คดีนี้เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้สอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ตามมาตรา 105 แต่มีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยอ้างว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดระยะเวลา ตามมาตรา 91 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงอ้างส่งหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มต้นนับระยะเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ โดยอ้างอิงวันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 90/20 วรรคสี่ และมาตรา 90/24 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 กำหนดว่า เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายไม่น้อยกว่าสองฉบับเพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ฉะนั้นกำหนดเวลาที่เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องถือเอาวันที่ได้มีการโฆษณาคำสั่งต่อสาธารณชนเป็นสำคัญ หากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษากับวันโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน ต้องนับวันที่ประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งลงประกาศเป็นฉบับหลังสุด
เมื่อการลงโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ความชัดแจ้งว่าได้นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใด จึงต้องนับเอาวันที่ได้จัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้สมาชิกรับไปเป็นวันเริ่มต้นนับระยะเวลาวันยื่นคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานคุมประพฤติ: การแต่งตั้งโดยคำสั่งกระทรวงยุติธรรมเพียงพอ แม้ไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรมจำเลยเป็นพนักงานคุมประพฤติประจำศาลและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลให้ไปสืบเสาะความประพฤติของ ว. เมื่อตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 4บัญญัติว่า "พนักงานคุมประพฤติ" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 10 บัญญัติว่าในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานคุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีบทบัญญัติบทใดบัญญัติให้การแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นพนักงานคุมประพฤติจึงไม่จำต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเริ่มนับระยะเวลา 2 เดือนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เริ่มนับจากวันที่โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษา
หนังสือที่ นร 0209/9728 วันที่ 30 พฤษภาคม 2537ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดี มีข้อความว่า "ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ ยธ 0409/947/829 ลงวันที่ 26 เมษายน 2537 ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล.103/2537 เพื่อขอให้ดำเนินการประกาศในหนังสือราชกิจจา-นุเบกษานั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ง วันที่24 พฤษภาคม 2537 แล้ว" จึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเริ่มนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงต้องถือเอาวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นวันโฆษณาฉบับหลังเป็นเกณฑ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ลงโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2537 พร้อมทั้งในคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดให้เจ้าหนี้เสนอ คำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาดังกล่าวและได้มีการจัดส่งเล่มแรก ให้แก่สมาชิกที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แต่ในหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย ร.2 นอกจากจะมีข้อความว่าได้จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกที่มารับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แล้วยังมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า สำนักงานราชกิจจานุเบกษาไม่อาจตรวจสอบได้ว่าราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวพิมพ์เสร็จเมื่อใดส่วนการส่งให้แก่สมาชิกโดยทางไปรษณีย์นั้น น่าจะดำเนินการในเวลาก่อนหรือหลังจากวันที่ 23 มิถุนายน 2537 ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าได้มีการเผยแพร่ ราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อหนังสือที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 มีข้อความว่า สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ลง วันที่ 24 พฤษภาคม 2537 แล้วจึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่ สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลารับคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
หนังสือที่นร0209/9728วันที่30พฤษภาคม2537ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีมีข้อความว่า"ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ยธ0409/947/829ลงวันที่26เมษายน2537ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์(คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด)ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ล.103/2537เพื่อขอให้ดำเนินประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษานั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไปเล่ม111ตอนที่41วันที่24พฤษภาคม2537แล้ว"จึงฟังได้ว่าณวันที่30พฤษภาคม2537ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้วการนับระยะเวลา2เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา91จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30พฤษภาคม2537ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่23มิถุนายน2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่16สิงหาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา2เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์รายวัน วันใดถึงหลังสุด
กำหนดเวลาสองเดือนที่ให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 91 นั้น นับตั้งแต่วันที่ได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาหรือวันที่ได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน แล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันที่ได้โฆษณาหลังสุด เพราะกฎหมายให้โฆษณาทั้งสองอย่าง จะนับตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดไว้ในประกาศมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ถือเป็นกฎหมายโดยอัตโนมัติ ต้องได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายจึงมีผลผูกพัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น ตามนิตินัยไม่ใช่ว่าประกาศใดที่ออกในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะต้องถือว่าเป็นกฎหมายอันรู้ถึงประชาชน ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ว่าประกาศที่ออกแล้วนั้น จะได้รับการสนับสนุนให้มีผลใช้ได้ในกฎหมายเพียงใด
ประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าว ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นเป็นประกาศธรรมดาไม่ใช่เป็นกฎหมายอันประชาชนจะพึงปฏิเสธไม่ได้ ฉะนั้น โจทก์ก็จะต้องนำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศนั้นแล้ว เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบก็จะเอาผิดลงโทษจำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ใช่กฎหมายอันรู้ถึงประชาชนเสมอไป ต้องได้รับการสนับสนุนจากกฎหมายจึงมีผล
ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นตามนิตินัยมิใช่ว่าประกาศใดที่ออกในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะต้องถือว่าเป็นกฎหมายอันรู้ถึงประชาชน ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ว่าประกาศที่ออกแล้วนั้น จะได้รับการสนับสนุนให้มีผลใช้ได้ในกฎหมายเพียงใด
ประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าว ซึ่งลงในราชกิจจานุเบกษานั้นเป็นประกาศธรรมดาไม่ใช่เป็นกฎหมายอันประชาชนจะพึงปฏิเสธไม่ได้ ฉะนั้น โจทก์ก็จะต้องนำสืบว่าจำเลยได้ทราบประกาศนั้นแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบก็จะเอาผิดลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันบังคับใช้กฎหมาย: ให้ใช้ตามวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ใช่วันที่ระบุในกฎหมาย
วันใช้กฎหมาย วันประกาศกฎหมาย เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจาก็ต้องใช้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา ฯ ไม่ใช่วันประกาศไว้ท้ายกฎหมาย
of 2