คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรายงานพฤติกรรมทนายต่อสภาทนายความ ไม่เป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาคดี
การที่ศาลชั้นต้นให้ทำหนังสือรายงานพฤติการณ์ของทนายโจทก์ไปยังสภาทนายความเพื่อพิจารณานั้น เป็นคำสั่งที่มิได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคดีที่ฟ้องร้องกัน ทั้งเป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งให้รายงานพฤติการณ์ของทนายความต่อสภาทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความฯ ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ทนายโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ มิใช่การโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เช่าบ้านและใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตลอดมา ต่อมาจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการได้ทำรายงานเท็จเสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาขอให้เพิกถอนเช่นนี้ รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามเสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมอย่างไร ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
แม้เรื่องนี้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่
แม้ในคดีเดิมศาลรับฟ้องไว้แล้ว ถ้าต่อมาศาลเห็นว่าตามคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจ้างทำของ: นับแต่วันตรวจพบความชำรุด ไม่ใช่วันรับรายงาน
อายุความเกี่ยวกับการจ้างทำของนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น กล่าวคือนับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่อง หาใช่นับแต่วันที่อธิบดีกรมโจทก์ได้รับรายงานถึงความชำรุดบกพร่อง หรือหาใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำนันรายงานการรุกล้ำที่สาธารณะชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นละเมิด
เมื่อมีราษฎรมาร้องเรียนต่อจำเลยซึ่งเป็นกำนันท้องที่ว่าโจทก์บุกรุกที่ป่าช้าสาธารณสถาน จำเลยก็ชอบที่จะรายงานนายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามที่ราษฎรร้องเรียนได้ กรณีเป็นเพียงรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิได้ยืนยันหรือออกความเห็น นายอำเภอจะดำเนินการอย่างไรต่อไปก็แล้วแต่นายอำเภอจะพิจารณาเองดังนี้จำเลยได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ หาใช่กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ใช้ภาษาพูดในรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หากมิขัดต่อข้อบังคับและไม่ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรง
การที่โจทก์ทำรายงานประจำวันเสนอต่อจำเลยด้วยถ้อยคำที่เป็น ภาษาพูดตามธรรมดาของชาวบ้านโดยมิได้ใช้ภาษาหนังสือที่ควรจะใช้ แต่ข้อความในรายงานนั้นเป็นเรื่องคล้ายกับการเสนอแนะให้จำเลยปรับปรุงวิธีการทำงานของจำเลยให้รัดกุมและรวดเร็วซึ่งนับว่าจะก่อให้เกิดผลดีแก่จำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นการกระทำผิดต่อข้อบังคับของจำเลยอันพึงต้องถูกลงโทษทางวินัยและจำเลยก็มิได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์โดยตรง ผลที่อาจจะมีหรือเกิดขึ้นก็เป็นเพียงความไม่สบายใจของผู้ร่วมปฏิบัติงานหรือผู้บังคับบัญชาของโจทก์เท่านั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินจำนวนหนึ่ง กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกจำนวนหนึ่งการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาข้อนี้โดยใช้ถ้อยคำว่า ค่าเสียหายเท่าใด โดยมิได้ใช้ถ้อยคำว่าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวนเท่าใดโดยเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ กรณีจึงต้องหมายความรวมถึงค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นด้วยอยู่ในตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วยนั้นจึงไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีที่จัดทำเพื่อรายงานสถานะทางการเงินต่อรัฐมนตรี ไม่ถือเป็นบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยทั้งห้าเป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. ตามความในมาตรา 57,59 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบริษัทได้ทุกประการ เมื่อจำเลยได้เข้าทำการตรวจสอบฐานะการเงินและการดำเนินงานของบริษัทแล้ว จึงได้ทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งมี บัญชีทรัพย์สินหนี้สินของบริษัทรวมอยู่ด้วย บัญชีที่ทำขึ้นเพื่อรายงานกิจการและสถานะทางการเงินของบริษัทดังกล่าวนั้น หาใช่บัญชีตามความมุ่งหมายของ มาตรา 1206 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับเงินรางวัลจากการจับกุมความผิดทางศุลกากร ต้องเป็นการจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมายและมีรายงานการจับกุมที่ถูกต้อง
บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าไม่ใช่การจับกุมตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 24/2508 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับใบแจ้งความนำจับ รายงานการจับกุม และรายงานการตรวจพบการเก็บอากรขาด เมื่อพนักงานศุลกากรจับกุมแล้ว ต้องทำรายงานการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาด้วย เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำรายงานการจับกุมเพียงแต่บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้า ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานศุลกากรจึงไม่ใช่ผู้จับกุมบุคคลที่กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการจับกุม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6 (3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยเอกสารรายงาน ไม่ถือเป็นการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328
คำว่า 'โฆษณา' ตามพจนานุกรมให้คำจำกัดความว่า การเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน การป่าวร้อง คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยกระทำหมิ่นประมาทโจทก์ ด้วยการทำเป็นบันทึกแทนการพูดด้วยวาจา โดยเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและส่งสำเนาให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย ก็เป็นเพียงการรายงานความประพฤติของโจทก์ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปได้ทราบเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าการหมิ่นประมาทนั้นกระทำด้วยการโฆษณาตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และมิใช่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 ด้วย
คดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย แม้โจทก์จะฎีกาด้วยว่าควรลงโทษจำเลยสูงขึ้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความโกงเจ้าหนี้: ตัวแทนรู้เรื่อง-รายงานนาย = โจทก์รู้ความผิด
การที่ ก. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยในคดีล้มละลาย ได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่จำเลยร่วมกันจำหน่ายทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำมาก ทำให้โจทก์เกิดความเสียหายและได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีกับฝ่ายจำเลยแสดงว่าโจทก์ได้ทราบเรื่องการจำหน่ายทรัพย์รายนี้แล้วและจะอ้างว่าการกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ต่อโจทก์ เป็นเรื่องนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจไม่ได้เพราะ ก. เป็นตัวแทนกระทำการแทนโจทก์ทั้งสิ้น จะแยกฟังเฉพาะเรื่องที่เป็นคุณต่อโจทก์โจทก์จึงทราบ ส่วนเรื่องที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์โจทก์ไม่ทราบ เป็นการผิดวิสัยและขัดต่อเหตุผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ ออกประกาศบังคับทำรายงานค้าข้าว-การริบข้าวจากความผิดละเว้นรายงาน
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ออกประกาศฉบับที่ 69 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2499 แต่งตั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงออกประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2507 ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้นและเก็บไว้ ณ สถานที่ประกอบการค้าข้าว ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารายงานการค้าข้าวประจำวันนั้นก็คือ การแจ้งปริมาณข้าวที่คงเหลือในวันหนึ่ง ๆ นั่นเอง ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงมีอำนาจออกประกาศให้ทำรายงานการค้าข้าวได้ตามอำนาจในประกาศคณะกรรมการฉบับที่ 69 ข้อ 6 (5) และผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสย่อมจะมีอำนาจกำหนดระยะเวลาให้ผู้ค้าข้าวทำรายงานดังกล่าวให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นได้ด้วยอำนาจที่ให้ไว้ในมาตรา 12 ประกอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวประจำวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 โดยลงบัญชีข้าวสารเจ้าเหลือเมื่อสิ้นวัน จำนวน 8,800 กิโลกรัม ครั้นต่อมาเมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เวลากลางวัน จำเลยได้บังอาจละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้น และจำเลยได้ฝ่าฝืนมิได้ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นตลอดมาจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 ฟ้องเช่นนี้ย่อมมีความหมายที่เข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวครั้งสุดท้ายเพียงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เท่านั้น หลังจากนั้น คือ วันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมา จำเลยมิได้ทำรายงานประจำวันเลย และจำเลยก็ให้การรับสารภาพชี้แจงเหตุผลว่าที่ไม่ได้ทำรายงานเพราะคนทำบัญชีเกิดเจ็บป่วย ตัวจำเลยเองโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดีอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมอย่างใด ส่วนที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องด้วยว่าเจ้าพนักงานได้ตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้น ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเสียไป เพราะเจ้าพนักงานอาจพบว่าจำเลยไม่ทำรายงานการค้าข้าวตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้นได้ และตราบใดที่จำเลยยังคงไม่ทำรายงาน จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่ากระทำผิดทุกวันตลอดมา
คำว่า "ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย" ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ นั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรง จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว จำเลยทำผิดเพียงละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าข้าวนั้นได้เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยอย่างใดจึงไม่ริบข้าว
of 2