พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องแสดงข้อหาชัดเจนและระบุรายละเอียดการกระทำผิดเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจได้
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯมาตรา 79 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำร้องที่ผู้ร้องขอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่จึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ด้วยเมื่อมิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่คะแนนและกรรมการตรวจคะแนนผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยใดกระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมายโดยอ่านบัตรเลือกตั้งให้ผิดไปจากความจริงหรืออ่านบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนเลือกตั้งให้ผู้ร้องแต่อ่านเป็นให้ส. รวมทั้งบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนเลือกตั้งให้ผู้ร้องแต่อ่านให้เป็นบัตรเสียมีจำนวนเท่าใด คะแนนเลือกตั้งที่กรอกในใบรายงานไม่ตรงกับคะแนนเลือกตั้งในกระดานดำและหีบบัตรเลือกตั้งเป็นจำนวนเท่าใด มีการนำบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ของผู้ที่ไม่ได้มาใช้สิทธิมาใช้ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นจำนวนเท่าใด รวมทั้งนำบัตรเลือกตั้งที่เสียมานับเป็นคะแนนเลือกตั้งของ ส. จำนวนเท่าใด และเหตุเกิดที่หน่วยเลือกตั้งใดบ้าง คำร้องจึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาพอที่จะให้ผู้คัดค้านทั้งสามเข้าใจได้ดีเป็นคำร้องเคลือบคลุม การเปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนเลือกตั้งใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีร้องคัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อคำร้องของผู้ร้องคัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบนั้นเคลือบคลุมแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะมีคำสั่งให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนเลือกตั้งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5เบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้นซึ่งมีข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 โดยระบุรายละเอียดข้อความที่จำเลยดังกล่าวเบิกความกับความจริงเป็นอย่างไรและว่าคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในคดีมาด้วยแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นข้อหาความผิดตามบทมาตราใดในพระราชบัญญัติดังกล่าว และประเด็นสำคัญของคดีมีว่าอย่างไรอีกทั้งคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเพิกถอนการเลือกตั้งต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นถือเป็นคำร้องที่ไม่ชัดเจน
การร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่จะต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง กรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดกระทำการอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 51,52เมื่อคำร้องกล่าวอ้างเหตุคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงว่า มีการรายงานผลล่าช้าน่าเชื่อว่ามีการถ่วงเวลาและมีการทุจริตในการเลือกตั้งเท่านั้น มิได้บรรยายถึงรายละเอียดว่า ได้มีการกระทำการฝ่าฝืน ข้อห้ามของกฎหมายดังกล่าวในหน่วยเลือกตั้งใด เจ้าพนักงาน ผู้ดำเนินการเลือกตั้ง กรรมการตรวจคะแนน เจ้าหน้าที่คะแนน หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ คนใดกระทำการดังกล่าวนี้และมิได้มีข้อเท็จจริงว่ามีการทุจริตหรือกระทำมิชอบ ด้วยกฎหมาย ประการใด จึงเป็นคำร้องที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นจึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายรายละเอียดการกระทำผิดเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์มิได้อ้างในคำฟ้องว่าเงินที่ผู้เสียหายมอบให้แก่จำเลยเป็นเงินมัดจำซื้อบ้านจำนวนเท่าใด ต่อเติมบ้านจำนวนเท่าใดแต่ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หากจำเลยเห็นว่าเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเป็นเงินค่าจ้างที่ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยต่อเติมบ้านให้ผู้เสียหาย จึงเป็นเงินของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ก็เป็นข้อต่อสู้ซึ่งจำเลยสามารถจะนำสืบหักล้างได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจนในข้อหาและรายละเอียดการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากไม่ชัดเจน ศาลยกคำร้อง
คำร้องของผู้ร้องที่ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ใช้เงินคนละกว่าสามล้านบาทเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. การเลือกตั้งฯ มาตรา 32โดยไม่ได้บรรยายยืนยันข้อเท็จจริงว่าเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสองใช้เป็นจำนวนที่แน่นอนเท่าใด คงใช้วิธีประมาณการเอาเท่านั้นและไม่ได้บรรยายว่าเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องใดเท่าใด จ่ายเมื่อใดให้แก่ใคร ส่วนที่อ้างว่าใช้เงินในการซื้อเสียงด้วยก็ไม่ได้กล่าวอ้างว่าซื้อเสียงใครจำนวนมากน้อยเท่าใด สิ้นเงินไปในการนี้เท่าใด ได้จ่ายเงินไปก่อนหรือหลังจากมีการรับสมัครเลือกตั้งจึงยังไม่พอที่จะให้ผู้คัดค้านเข้าใจข้อหาได้ คำร้องของผู้ร้องข้อนี้จึงเคลือบคลุม ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 52 นั้น ในคำร้องคงบรรยายเพียงว่า ในวันเลือกตั้งมีกรรมการควบคุมการเลือกตั้งบางหน่วยเลือกตั้งได้ช่วย กากบาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสอง แต่ก็ไม่ได้บรรยายให้ทราบว่ากรรมการควบคุมการเลือกตั้งผู้กระทำการนั้นเป็นใคร และได้กากบาทให้เป็นจำนวนคะแนนเท่าใด และจะทำให้ผลของการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ จึงยังไม่พอที่จะให้ผู้คัดค้านเข้าใจข้อหาได้ คำร้องของผู้ร้องข้อนี้จึงเคลือบคลุม เมื่อคำร้องของผู้ร้องที่เกี่ยวกับมาตรา 32 และมาตรา 52เป็นคำร้องที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงไม่อาจพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่ผู้ร้องนำสืบมาในเหตุข้ออ้างทั้งสองประการได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์ ศาลฎีกาชี้ว่าฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดการกระทำผิดจะนำสืบในชั้นพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นภรรยาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจาก นาย อ. ผู้เสียหายให้เป็นผู้จัดการและเป็นผู้ดูแลโรงงานผลิตรองเท้าพลาสติค พีวีซี และมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรักษารับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้เสียหายในโรงงานดังกล่าวนั้นด้วย เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2517 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันยักยอกทรัพย์ (มีรายละเอียดตามฟ้อง) รวมราคาทั้งสิ้น 218,000 บาท ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบให้จำเลยที่ 1 ไว้สำหรับใช้และผลิตขึ้นในโรงงานดังกล่าวข้างต้นไปเป็นอาณาประโยชน์ของจำเลยทั้งสองโดยทุจริต ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5) และองค์ประกอบความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 แล้ว ส่วนจำเลยทั้งสองจะได้ร่วมกันยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอย่างไรเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำความผิด หากระบุเพียงบทกฎหมายถือเป็นฟ้องไม่ชอบ
การที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เป็นเหตุให้ใช้ชนผู้อื่นถึงตาย ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นแต่เพียงกล่าวอ้างถ้อยคำในบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำโดยประมาทโดยมิได้บรรยายข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยมีความประมาทอย่างไร อันเป็นลักษณะสำคัญของคดีที่จะให้จำเลยรู้ข้อหาในความประมาทของตน จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดียักยอกทรัพย์: การระบุรายละเอียดการกระทำผิดและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
ฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการเก็บรักษาการบัญชีรับจ่ายและรักษาเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2513 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2514 เป็นเวลาถึง 1 ปี 7 เดือน จำเลยได้บังอาจยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 11,726.39 บาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไป ปรากฏจากข้อนำสืบของโจทก์ว่า งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มี 5งบ คือ งบทั่วไป งบเร่งรัดพัฒนาชนบท งบส่วนการศึกษางบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และงบอุดหนุนสภาตำบล เงินที่หายไปนี้เป็นเงินที่อยู่ในงบเร่งรัดพัฒนาชนบทและเกิดจากการที่จำเลยยักยอกเงินตามบัญชีเงินสดเกินหรือขาดไปรวม 22 รายการ แต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดที่เป็นสารสำคัญว่า เป็นเงินงบใด และยักยอกแต่ละครั้ง เป็นจำนวนเท่าใดและเมื่อใด เมื่อบรรยายรวมๆกันมาเช่นนี้ จำเลยจะเข้าใจข้อหาเกี่ยวกับเงินที่จำเลยต้องหาว่ายักยอกเบียดบังมิได้เลย ย่อมเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 894/2508)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยยักยอกนั้นแก่ผู้เสียหายด้วยนั้น เป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะไม่ลงโทษจำเลย เพราะคำฟ้องของโจทก์ในส่วนอาญาไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อจำเลยรับว่าได้ยักยอกเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปจริง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งคงมีต่อไป ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนเงินจำนวนนั้นแก่ผู้เสียหายได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 โดยบรรยายฟ้องเป็นใจความว่า จำเลยได้กระทำผิดในวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดในระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งพนักงานบัญชีและรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าหมวดการเงินและการบัญชีส่วนการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง และต่อมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดดังกล่าวติดต่อกันมา คือ ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม 2512 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2514 เวลากลางวัน จำเลยได้รับเงินอุดหนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 101,910 บาท จากนายเสถียรศรีพนา จำเลยได้จ่ายเงินดังกล่าวโดยหักเงินสะสมไว้ 4,056 บาท แล้วยักยอกเบียดบังเอาเงินจำนวน 4,056 บาทไป จึงเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเบียดบังเอาเงินไปในระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2514 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับเงิน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2515 ฟ้องข้อนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1330/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง. จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดเจน หากระบุเพียงการหลอกลวงโดยไม่บอกความจริง คำฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์
การฟ้องคดีอาญานั้น โจทก์จะต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
คำฟ้องของโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ให้ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้กับจำเลยเพื่อเอาไปลงแชร์และให้คำรับรองอันเป็นเท็จว่า ถ้าส่งเงินครบแล้วจำเลยจะคืนเงินพร้อมทั้งผลประโยชน์ให้ จำเลยทั้งสองได้เก็บเงินจากผู้เสียหายไปจวนครบจำนวนแล้วก็ปฏิเสธไม่ยอมรับไม่ยอมคืนเงิน โดยตามคำฟ้องมิกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไร เพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายตรงไหน ฉะนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุความพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ดังนี้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ให้ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้กับจำเลยเพื่อเอาไปลงแชร์และให้คำรับรองอันเป็นเท็จว่า ถ้าส่งเงินครบแล้วจำเลยจะคืนเงินพร้อมทั้งผลประโยชน์ให้ จำเลยทั้งสองได้เก็บเงินจากผู้เสียหายไปจวนครบจำนวนแล้วก็ปฏิเสธไม่ยอมรับไม่ยอมคืนเงิน โดยตามคำฟ้องมิกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างไร เพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงผู้เสียหายตรงไหน ฉะนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องที่ระบุความพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ดังนี้ ศาลก็ต้องยกฟ้อง