พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกให้นายจ้างชำระค่าจ้าง ลูกจ้างต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดแจ้งว่าค่าจ้างจำนวนที่เรียกให้ชำระเป็นค่าจ้างประเภทใด เพื่อที่นายจ้างจะได้ให้การต่อสู้ได้ว่าค่าจ้างจำนวนดังกล่าวลูกจ้างมีสิทธิได้รับจริงและนายจ้างยังมิได้ชำระหรือไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าคอมมิชชั่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากผลงานขายของลูกทีมโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกทีมดังกล่าวมีใครบ้าง และแต่ละคนมีผลงานขายเท่าใด พอที่จำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ได้ ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงเคลือบคลุม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้เป็นนายหน้าติดต่อให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดกับธนาคารตามโครงการดีบีเอสไทยทนุ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นโครงการดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่ศาลแรงงานกลางฟังไว้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้เป็นนายหน้าติดต่อให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดกับธนาคารตามโครงการดีบีเอสไทยทนุ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นโครงการดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่ศาลแรงงานกลางฟังไว้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากรายละเอียดชัดเจนขึ้นและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัทอีเกีย เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ตำแหน่งพนักงานฝ่ายจัดซื้อได้หลอกลวงโจทก์หลายครั้งว่า ถ้าโจทก์ต้องการขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าว โจทก์ต้องชำระค่าตอบแทน แก่ผู้บริหารของบริษัทนี้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่โจทก์ขายได้ในแต่ละงวด มิฉะนั้นบริษัทดังกล่าวจะไม่ตกลงซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นข้อความเท็จทำให้โจทก์หลงเชื่อ โจทก์จึงได้จ่ายเงินโดยนำเงินเข้าบัญชีของธนาคารตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์หลายครั้ง แม้คำฟ้องไม่มีข้อความว่า โดยทุจริต แต่จากคำบรรยายฟ้องมีความหมายบ่งบอกอยู่ในตัวว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคำฟ้อง ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องมีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอให้เจ้าหนี้โต้แย้งได้ การที่คำสั่งไม่ชัดเจนถือเป็นเหตุให้ศาลรับคำคัดค้านได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้โดยมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วน แต่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งในรายละเอียดของข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง เพื่อแสดงว่ามูลหนี้ที่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นในแต่ละอันดับ ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพียงใด และไม่มีรายละเอียดว่าผู้ร้องคำนวณผิดพลาดคลาดเคลื่อนในมูลหนี้อันดับใด อย่างไร เป็นข้อวินิจฉัยที่รวบรัดและเคลือบคลุม อันเป็นการยากที่ผู้ร้องจะมีโอกาสหยั่งทราบถึงเหตุผลและรายละเอียดในคำสั่งและโต้แย้งคัดค้านได้ถูกต้อง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าผู้ร้องส่งพยานเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว และลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องตามจำนวนที่ขอรับชำระหนี้มาและขอให้พิจารณาทบทวนพยานหลักฐานและเอกสารทั้งหมด เพื่อคำนวณรายการหนี้ใหม่ให้ถูกต้องและแก้ไขคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ในส่วนที่ยังขาด รวมตลอดทั้งโต้แย้งในมูลหนี้ภาระค้ำประกันว่าผู้ร้องออกหนังสือค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้ไว้ เมื่อถูกเรียกเก็บเงินมาจำต้องจ่ายเงินตามภาระค้ำประกัน จึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ทั้งหมดนั้น เป็นการโต้แย้งตามสภาพที่เปิดช่องให้อยู่ในวิสัยที่พึงกระทำได้แล้ว จึงถือได้ว่าคำร้องคัดค้านของผู้ร้องเป็นการคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีรายละเอียดชัดเจน การตกลงชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นยังไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอม
หลังเกิดเหตุรถยนต์ชนกันโจทก์ที่2เจ้าของรถยนต์ฝ่ายหนึ่งได้เจรจากับ พ. คนขับรถยนต์คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายประมาท พ. ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดโดยการซ่อมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีใช้การได้ดีเหมือนเดิมและยินดีชดใช้ค่าสินค้าที่บรรทุกมาซึ่งได้รับความเสียหายด้วยและทั้งสองฝ่ายตกลงกันอีกว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งอีกต่อไปเอกสารข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่ พ. ยอมรับสภาพต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระวิธีการชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีกจึงมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดกรณีมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างของพ. และจำเลยที่2ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ แม้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในไทย ก็สามารถฟ้องได้หากระบุชื่อและรายละเอียดชัดเจน
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า "สายเดินเรือเมอส์กกรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใด ดำเนินธุรกิจในทางใด จดทะเบียนพาณิชย์ ไว้ในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่าอะไร สำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ต. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศ เดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่า"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเท็จต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลยกฟ้องได้
เมื่อข้อความในฟ้องของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาในคดีนี้ว่าเป็นฟ้องเท็จ มีข้อความยืดยาว มิได้เป็นเท็จไปทั้งหมดและโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์กระทำผิดนั้น เป็นเท็จอย่างไร ฟ้องของโจทก์ย่อมไม่พอจะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแจ้งความเท็จต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยร้องเรียนแจ้งความเท็จจริงต่อเจ้าพนักงาน ถ้าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่า ข้อความที่จำเลยร้องเรียนและแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้น เท็จอย่างใด และความจริงเป็นฉันใด อันพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้ข้อความในตอนท้ายจะมีกล่าวว่า โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เป็นข้อความเท็จหรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ก็เป็นข้อความที่กล่าวอย่างเคลือบคลุม ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ว่าเป็นข้อเท็จในข้อใด คำว่า "หรือมิได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น" ก็เป็นคำกล่าวอย่างกว้าง ๆ ไม่แน่ชัดว่าเหตุที่ไม่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะไม่มีการกระทำหรือว่าเป็นเพราะการกระทำนั้นไม่เป็นผิดอาญา ทั้งมีคำว่า "หรือ" ประกอบอยู่ในฟ้อง ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แสดงถึงการไม่ยืนยันให้แน่ชัด ฟ้องโจทก์เช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จหาว่าโจทก์ลักทรัพย์เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจับโจทก์ไปควบคุมไว้ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพนั้น การที่โจทก์ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวดังที่กล่าวในฟ้อง ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อโจทก์อย่างใด ตามควรแก่กรณี เพียงแต่พิจารณาฟ้อง ก็ยกฟ้องได้แล้ว เพราะตามที่บรรยายในฟ้องจำเลยยังไม่มีความผิดฐานนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จหาว่าโจทก์ลักทรัพย์เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจับโจทก์ไปควบคุมไว้ ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพนั้น การที่โจทก์ถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวดังที่กล่าวในฟ้อง ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งจะเห็นสมควรปฏิบัติต่อโจทก์อย่างใด ตามควรแก่กรณี เพียงแต่พิจารณาฟ้อง ก็ยกฟ้องได้แล้ว เพราะตามที่บรรยายในฟ้องจำเลยยังไม่มีความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าอากรค่านาที่ค้าง โดยการระบุรายละเอียดในบัญชีแนบท้ายฟ้องถือว่าไม่เคลือบคลุม
+เจ้าพนักงานเรียกเงินอากรค่านาจ้างจากผู้ทำนามิได้ ก็ให้เรียกร้องเอาจากเจ้าของนา
สำเนาเอกสารซึ่งโจทก์ได้ส่งศาลโดยแนบมาพร้อมกับฟ้องแล้วนั้น ครั้นถึงเวลาโจทก์ส่งต้นฉะบับเอกสารต่อศาลในชั้นพิจารณาไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบอีกตาม ม.90
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรค่านาที่ค้างจากจำเลยโจทก์ได้แนบบัญชีเงินค่านาที่ค้างมาท้ายฟ้องแจ้งตำบลอำเภอแห่งที่นาจำนวนเนื้อที่นา จำนวนปีและจำนวนเงินที่ค้างมาด้วยดังนี้ ไม่เรียกว่าโจทก์ฟ้องเคลือบคลุม
สำเนาเอกสารซึ่งโจทก์ได้ส่งศาลโดยแนบมาพร้อมกับฟ้องแล้วนั้น ครั้นถึงเวลาโจทก์ส่งต้นฉะบับเอกสารต่อศาลในชั้นพิจารณาไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบอีกตาม ม.90
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรค่านาที่ค้างจากจำเลยโจทก์ได้แนบบัญชีเงินค่านาที่ค้างมาท้ายฟ้องแจ้งตำบลอำเภอแห่งที่นาจำนวนเนื้อที่นา จำนวนปีและจำนวนเงินที่ค้างมาด้วยดังนี้ ไม่เรียกว่าโจทก์ฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องเคลือบคลุมศาลต้องยกฟ้องและต้องแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จ แต่มิได้กล่าวว่าจำเลยเบิกความเท็จในสำนวนไหน เพราะมีคดีที่จำเลยได้เคยเบิกความเกี่ยวข้องกัน 2 สำนวนและทั้งมิได้กล่าวว่าจำเลยเบิกความเท็จในข้อไร ข้อไหนเป็นเท็จข้อไหนเป็นจริง ข้อไหนเป็นสาระสำคัญ ดังนี้เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลต้องยกฟ้อง ถ้าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง โจทก์จะแถลงอธิบายฟ้องลับหลังจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องและชัดเจนเป็นสาระสำคัญในการฟ้องคดี หากโจทก์ไม่สามารถแสดงรายละเอียดการหักชำระหนี้ได้อย่างชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงการกู้ยืมเงินของจำเลยตามฟ้องเพียงฉบับเดียว ทั้งยืนยันว่าจำเลยผ่อนชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนละ 4,375 บาท รวม 30 เดือน หลังจากนั้นจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์อีก เมื่อถึงวันฟ้องจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยเพียง 5 ปี เป็นเงิน 262,500 บาท รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระจำนวน 612,500 บาท ส่วนหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญารายอื่น ๆ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการที่พยานโจทก์ดังกล่าวตอบคำถามติงของทนายโจทก์ โดยโจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นอย่างไร มากน้อยเพียงใด อันจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระมาถูกต้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมีการคิดคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระเป็นรายเดือนและยอดหนี้ที่ค้างชำระไว้ชัดเจน แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความชัดเจนว่า เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์เป็นงวด ๆ โจทก์นำเงินดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่ค้างอย่างไร คงเหลือที่ค้างชำระเท่าใดและเป็นการหักชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ถือว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยอดหนี้ที่จำเลยค้างชำระต่อโจทก์เป็นจำนวนที่แน่นอนไม่ได้ ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย