พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4798/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประวิงการชำระหนี้หลังประมูลทอดตลาด ศาลชอบธรรมในการริบเงินมัดจำ
ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดได้ในราคา 131,000,000 บาท จากนั้นผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสี่แปลงให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ดำเนินการให้เพราะว่าศาลมีคำสั่งให้งดการขายไว้แล้ว ผู้ซื้อทรัพย์จึงรับเงินค่าซื้อทรัพย์คืน95 เปอร์เซ็นต์เป็นการชั่วคราวและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบเพื่อรักษาสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ที่ประสงค์จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต่อมาผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ ศาลชั้นต้นเห็นว่าการขายทอดตลาดชอบแล้วจึงมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อทรัพย์ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อทรัพย์ แต่ผู้ซื้อทรัพย์กลับไม่ยอมนำเงินค่าซื้อทรัพย์ที่รับคืนไปมาวางให้ครบเพื่อดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนทั้งยังแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งอุทธรณ์ไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยทำให้คดียิ่งเนิ่นช้าต่อไป ครั้นศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ หากผู้ซื้อทรัพย์มิได้เจตนาถ่วงเวลาให้ล่าช้าก็ควรนำเงินมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมิใช่ยื่นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ผู้ซื้อทรัพย์ในที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของผู้ซื้อทรัพย์ส่อไปในทางประวิงการวางเงินค่าซื้อทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้วาง ผู้ซื้อทรัพย์ก็มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้นำเงินมาวางภายใน 15 วัน แต่ขอขยายเวลาการชำระเงินออกไปอีก3 เดือน แสดงถึงเจตนาประวิงการวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งไม่ให้ขยายเวลาการชำระเงินและสั่งริบเงินมัดจำจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและเป็นคำสั่งที่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจองซื้อห้องชุดไม่สมบูรณ์ สัญญาไม่เกิดขึ้น การริบเงินมัดจำไม่ชอบ
โจทก์จองซื้อห้องชุดเป็นจำนวนมากถึง 38 ห้อง มีราคาทั้งสิ้นถึง 15,124,000 บาท ในลักษณะทำมาหาประโยชน์ทางธุรกิจ โจทก์ย่อมจะต้องเสนอเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อรักษาสิทธิของตนให้จำเลยเห็นชอบเสียก่อนโจทก์จึงจะลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปได้ เมื่อมีรายละเอียดของข้อความแห่งสัญญาที่โจทก์ยังตกลงกับจำเลยไม่ได้หลายข้อดังกล่าวแล้ว ซึ่งโจทก์แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญ และโจทก์จำเลยมีความประสงค์ที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันต่อไปอีก แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ตกลงกันให้ถูกต้องเรียบร้อยทุกข้อ และยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาจึงไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดตามความต้องการของจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ที่จำเลยริบเงินมัดจำจองห้องชุดที่โจทก์วางไว้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากไม่ชำระมัดจำครบถ้วน ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำได้
ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายกำหนดว่าโจทก์วางมัดจำไว้เป็นเงิน 500,000 บาท แต่ในวันทำสัญญานั้นมีการวางมัดจำเพียง 150,000 บาท แต่ในวันทำสัญญานั้นมีการวางมัดจำเพียง 150,000 บาท ไม่ครบตามสัญญาเนื่องจากเช็คที่โจทก์เป็นค่ามัดจำอีก 350,000 บาท ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแม้การวางมัดจำแต่เพียงอย่างเดียวจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้แล้วก็ตาม แต่เมื่อคู่สัญญามีเอกสารที่เป็นหนังสือจึงต้องผูกพันกันตามข้อความที่ทำเป็นหนังสือนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันว่าต้องวางมัดจำเป็นเงิน 500,000 บาทก็จะต้องผูกพันกันตามนั้น เมื่อโจทก์วางมัดจำเพียง150,000 บาท ไม่ครบตามสัญญาจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์และฝ่ายจำเลยจะทำสัญญาจะซื้อขายโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เคยทำสัญญาซื้อขายกันมา 2 ฉบับแล้วการที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินแปลงเดียวกันเป็นฉบับใหม่ขึ้นอีกก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ผู้จะซื้อไม่ชำระเงินตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับก่อน ฉะนั้นการทำสัญญาจะซื้อขายโดยฝ่ายโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นการชำระเงินมัดจำตามสัญญาส่วนหนึ่งนั้นย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นแล้วว่าคู่สัญญามีเจตนาจะให้การชำระเงินมัดจำตามจำนวนเงินและตามวันที่ลงในเช็คเป็นสาระสำคัญของสัญญา ฉบับใหม่นั้น ทั้งยังมีบันทึกไว้ที่ด้านบนด้วยข้อความว่า ต่อเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายฉบับเดิมแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าเจตนาจะให้ถือเอาเรื่องการใช้เงินมัดจำตามเช็คดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของสัญญา และแม้ว่าสัญญาจะซื้อขายฉบับเดิมจะไม่ปรากฎข้อความว่าให้ผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่โดย สภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ดังกล่าวย่อมเห็นถึงวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากโจทก์ผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ชำระเงินมัดจำหรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ฝ่ายจำเลยผู้จะขายย่อมมีสิทธิบอกเลิกและริบมัดจำได้ทันที เมื่อปรากฎว่าเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระเงินมัดจำส่วนหนึ่งใช้เงินไม่ได้ ซึ่งถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ฝ่ายจำเลยย่อมบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำเสียได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดยจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 387 แต่อย่างใด และเมื่อการเลิกสัญญาเป็นเพราะความผิดของฝ่ายโจทก์เอง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากไม่ชำระเงินมัดจำครบตามกำหนด ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำได้
ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย กำหนด ว่า โจทก์ วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 500,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา เนื่องจาก เช็ค ที่ โจทก์ เป็น ค่า มัดจำ อีก 350,000 บาท ถูก ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน แม้ การ วาง มัดจำ แต่เพียง อย่างเดียว จะ สามารถ ฟ้องร้อง บังคับ คดี กัน ได้ แล้ว ก็ ตาม แต่เมื่อ คู่สัญญา มี เอกสาร ที่ เป็น หนังสือ จึง ต้อง ผูกพัน กัน ตาม ข้อความ ที่ ทำ เป็น หนังสือ นั้น เมื่อ โจทก์ จำเลย ตกลง กัน ว่า ต้อง วาง มัดจำ เป็น เงิน 500,000 บาท ก็ จะ ต้อง ผูกพัน กัน ตาม นั้น เมื่อ โจทก์ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ก่อน ที่ โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย จะ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย ได้ เคย ทำ สัญญาซื้อขาย กัน มา 2 ฉบับ แล้ว การ ที่ ได้ ทำ สัญญา เกี่ยวกับ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน แปลง เดียว กัน เป็น ฉบับ ใหม่ ขึ้น อีก ก็ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ไม่ชำระ เงิน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ฉบับ ก่อน ฉะนั้น การ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โดย ฝ่าย โจทก์ สั่งจ่าย เช็ค เป็น การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม สัญญา ส่วน หนึ่ง นั้น ย่อม เห็น ได้ ใน เบื้องต้น แล้ว ว่า คู่สัญญา มี เจตนา จะ ให้การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม จำนวนเงิน และ ตาม วันที่ ลง ใน เช็ค เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา ฉบับ ใหม่ นั้น ทั้ง ยัง มี บันทึก ไว้ ที่ ด้าน บน ด้วย ข้อความ ว่า ต่อเนื่อง จาก สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม แสดง ให้ เห็น วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า เจตนา จะ ให้ ถือเอา เรื่อง การ ใช้ เงินมัดจำ ตามเช็ค ดังกล่าว เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา และ แม้ ว่า สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม จะ ไม่ ปรากฎ ข้อความ ว่า ให้ ผู้ขาย บอกเลิก สัญญา ได้ ก็ ตาม แต่ โดย สภาพ หรือ โดย เจตนา ที่ คู่สัญญา ได้ แสดง ไว้ ดังกล่าว ย่อม เห็น ถึง วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า หาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ผิดสัญญา ไม่ชำระ เงินมัดจำ หรือ ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ฝ่าย จำเลย ผู้จะขาย ย่อม มีสิทธิ บอกเลิก และ ริบ มัดจำ ได้ ทันที เมื่อ ปรากฎ ว่า เช็ค ซึ่ง โจทก์ สั่งจ่าย ชำระ เงินมัดจำ ส่วน หนึ่ง ใช้ เงิน ไม่ได้ ซึ่ง ถือว่า โจทก์ ผิดสัญญา ฝ่าย จำเลย ย่อม บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ เสีย ได้ ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดย จำเลย ไม่ต้อง บอกกล่าว ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด ตาม มาตรา 387 แต่อย่างใด และ เมื่อ การ เลิกสัญญา เป็น เพราะ ความผิด ของ ฝ่าย โจทก์ เอง โจทก์ ย่อม ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก ฝ่าย จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินทั้งแปลง แม้เนื้อที่จริงต่างจากที่ตกลง สัญญาผูกพัน, ริบเงินมัดจำได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 1318 เฉพาะส่วนที่ติดทางหลวงสายพัฒนาการ - บางนา ด้านทิศตะวันออก ระบุจำนวนเนื้อที่ดินประมาณ 4 ไร่เศษ ราคาตารางวาละ 7,500 บาท จากจำเลยทั้งหก ก่อนทำสัญญาโจทก์ได้ไปดูที่ดินก่อนแล้ว และที่ท้ายสัญญาก็มีแผนที่สังเขปที่ดินพิพาทซึ่งจำลองจากแผนที่หลังโฉนดระบุมาตราส่วนแนบไว้ด้วยดังนี้ โจทก์ย่อมจะประมาณเนื้อที่ได้ และแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินกันทั้งแปลง มิได้ถือเป็นสาระว่าที่ดินที่จะซื้อขายกันนั้นจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 4 ไร่เศษเท่านั้นฉะนั้น แม้ภายหลังจะปรากฏจากการรังวัดว่าที่ดินทั้งแปลงนี้มีเนื้อที่ 5 ไร่ 157 ตารางวา ก็ยังอยู่ในจำนวนเนื้อที่ที่คู่กรณีมีเจตนาจะซื้อขายกันมาแต่เดิมนั่นเอง โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้นี้ในราคาตารางวาละ 7,500 บาทตามสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับโอนและชำระราคาที่ดินตามเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายกำหนดเวลาส่งมอบเป็นสาระสำคัญ ผู้ซื้อไม่พร้อมรับมอบ ถือผิดสัญญา ผู้ขายริบเงินมัดจำได้
สัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศที่กำหนดให้โจทก์ผู้ซื้อตระเตรียมสถานที่สำหรับการติดตั้งเดินสายไฟฟ้า และติดสวิตช์สำหรับเครื่องปรับอากาศให้แก่จำเลยผู้ขาย ย่อมเป็นสัญญาที่ถือเอากำหนดเวลาและวิธีการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ เมื่อถือกำหนดส่งมอบตามสัญญา โจทก์ไม่มีโรงแรมให้จำเลยเข้าติดตั้งส่งมอบเครื่องปรับอากาศ เป็นกรณีที่โจทก์ละเลยไม่รับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 และมีสิทธิริบเงินมัดจำตามมาตรา 378(2).(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรับราคาตามส่วนเมื่อเนื้อที่ดินเกินสัญญา และสิทธิในการริบเงินมัดจำเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน 2 แปลงมีเนื้อที่รวมกัน 106ไร่ 2 งาน48 ตารางวา เมื่อจำเลยจัดการออกโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงแล้วได้เนื้อที่ดิน 111 ไร่ 82 ตารางวาเนื้อที่ดินล้ำจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญา 4 ไร่ 2งาน 34 ตารางวา ไม่เกินร้อยละ 5 แห่งเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจำต้องรับเอาไว้และใช้ราคาตามส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 วรรคสอง
ในวันทำสัญญาโจทก์วางมัดจำไว้ 100,000 บาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นส่วนจำนวนเงิน300,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์แบ่งชำระราคาที่ดินให้จำเลยเมื่อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยต้องคืนให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่คืนให้แก่โจทก์จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
ในวันทำสัญญาโจทก์วางมัดจำไว้ 100,000 บาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำนั้นส่วนจำนวนเงิน300,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์แบ่งชำระราคาที่ดินให้จำเลยเมื่อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยต้องคืนให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่คืนให้แก่โจทก์จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา การเปลี่ยนแปลงราคาหลังยื่นซอง และสิทธิในการริบเงินมัดจำ
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกวดราคา: เงื่อนไขการยืนราคาและการริบเงินมัดจำเมื่อไม่ทำสัญญา
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคาก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วันนับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อทำสัญญาเป็นหนังสือ แม้ตกลงรับราคาแล้วแต่ยังไม่ผูกพัน หากไม่ทำสัญญา ริบเงินมัดจำได้ แต่ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ประกาศประกวดราคาจัดซื้อของ เป็นคำเชิญชวนให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าประกวดราคายื่นซองเสนอหนังสือเสนอราคาที่จำเลยยื่นเป็นคำเสนอ โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าตกลงรับราคาที่จำเลยเสนอและให้ไปทำสัญญาเป็นคำสนอง แต่สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ สัญญาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือตามข้อผูกพันที่ระบุไว้ในประกาศประกวดราคา จำเลยไม่ไปทำสัญญากับโจทก์ตามกำหนดเวลา โจทก์ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำซองประกวดราคาได้ตามข้อตกลงในประกาศประกวดราคา แต่เมื่อยังไม่มีสัญญาซื้อขายต่อกันจำเลยยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่จะต้องมอบของให้โจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อของจากผู้อื่นแพงกว่าราคาที่จำเลยเสนอเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้