พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือในความผิดศุลกากร: ข้อจำกัดขนาดระวางบรรทุกและองค์ประกอบความผิด
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของที่ต้องเสียภาษีลงในเรือหรือออกจากเรือในทะเล ซึ่งอาจเป็นทางแก่การฉ้อประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน หรือเป็นการหลีกเลี่ยง ข้อจำกัด หรือข้อห้าม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 31 เพียงแต่ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวเท่านั้น เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวไม่ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือยนต์และอวนรุนที่ใช้ทำการประมงในเขตห้าม ตาม พ.ร.บ.การประมง
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 4(3) บัญญัติให้เรือที่ใช้ ทำการประมงเป็นเครื่องมือทำการประมง และได้มีประกาศกระทรวงเกษตร กำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในเขตที่ระบุไว้ เมื่อจำเลยใช้เรือยนต์ของกลางทำการประมงในเขตดังกล่าวโดยใช้กับอวนรุน เรือยนต์ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตาม พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 32(2) ซึ่งต้อง ริบตาม มาตรา 70.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือที่ใช้ขนของผิดกฎหมายและการลดโทษจากพฤติการณ์มอบตัว
ข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า เรือของกลางมีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน ใช้ในการขนยางของกลางที่ยังมิได้เสียค่าภาษี และยางเป็นของที่ต้องจำกัด ศาลสั่งริบเรือของกลางได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเรือของกลางมีระวางบรรทุกเท่าใดไม่ เพราะไม่ใช่องค์ประกอบของความผิด
พนักงานศุลกากรยึดเรือและยางของกลางได้โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา ไม่มีพยานโจทก์คนใดรู้ตัวผู้กระทำผิด จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานถึง 2 ครั้ง แม้จำเลยให้การต่อสู้คดีตลอดมาก็ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ศาลลดโทษให้จำเลยได้
พนักงานศุลกากรยึดเรือและยางของกลางได้โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา ไม่มีพยานโจทก์คนใดรู้ตัวผู้กระทำผิด จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานถึง 2 ครั้ง แม้จำเลยให้การต่อสู้คดีตลอดมาก็ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ศาลลดโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือของกลางและเหตุบรรเทาโทษจากพฤติการณ์มอบตัวในคดีหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร
ข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า เรือของกลางมีระวางบรรทุกไม่เกิน250 ตัน ใช้ในการขนยางของกลางที่ยังมิได้เสียค่าภาษี และยางเป็นของที่ต้องจำกัด ศาลสั่งริบเรือของกลางได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องว่าเรือของกลางมีระวางบรรทุกเท่าใดไม่ เพราะไม่ใช่องค์ประกอบของความผิด
พนักงานศุลกากรยึดเรือและยางของกลางได้โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา ไม่มีพยานโจทก์คนใดรู้ตัวผู้กระทำผิด จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานถึง 2 ครั้ง แม้จำเลยให้การต่อสู้คดีตลอดมาก็ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ศาลลดโทษให้จำเลยได้
พนักงานศุลกากรยึดเรือและยางของกลางได้โดยไม่มีตัวผู้ต้องหา ไม่มีพยานโจทก์คนใดรู้ตัวผู้กระทำผิด จำเลยเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานถึง 2 ครั้ง แม้จำเลยให้การต่อสู้คดีตลอดมาก็ถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ศาลลดโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
เรือยนต์ของกลางที่จำเลย ใช้เป็นพาหนะไปนำเอาเฮโรอีนของกลางบรรจุถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยถุงกระดาษอีกชั้นหนึ่งใส่มาในลังเครื่องมือซึ่งจำเลยใช้เป็นที่นั่งขับเรือถือได้ว่าเป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน จึงเป็นของต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 มาตรา 29 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2504 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือจากการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 32 (2) (4)ให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศกำหนดมิให้ใช้เครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดและกำหนดวิธีใช้เครื่องมือทำการประมงต่าง ๆ เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศกำหนดเครื่องมือทำการประมงโดยห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนลากชนิดมีถุงและเครื่องมืออวนรุนหรืออวนถุงทุกขนาดที่ใช้เรือยนต์ทุกชนิดทำการประมงในเขตหรือรัศมีที่ระบุไว้ในการจับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดเรือยนต์ของกลางที่ใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าวที่ใช้กับอวนรุนชนิดมีถุงจึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ตามมาตรา 32 (2)และ 70 จึงต้องริบตามมาตรา 70 กรณีหาอยู่ในบังคับของมาตรา 69แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2พ.ศ. 2496 มาตรา 10 ที่ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือจากการใช้เครื่องมือทำการประมงผิดกฎหมาย ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 32(2)(4)ให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศกำหนดมิให้ใช้เครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดและกำหนดวิธีใช้เครื่องมือทำการประมงต่าง ๆ เมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศกำหนดเครื่องมือทำการประมงโดยห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนลากชนิดมีถุงและเครื่องมืออวนรุนหรืออวนถุงทุกขนาดที่ใช้เรือยนต์ทุกชนิดทำการประมงในเขตหรือรัศมีที่ระบุไว้ในการจับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาดเรือยนต์ของกลางที่ใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าวที่ใช้กับอวนรุนชนิดมีถุงจึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ตามมาตรา 32(2) และ 70 จึงต้องริบตามมาตรา 70 กรณีหาอยู่ในบังคับของมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2พ.ศ. 2496 มาตรา 10 ที่ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือยนต์หางยาวที่ใช้ในการขนของหลีกเลี่ยงภาษี ศาลรับฟังได้แม้ไม่ได้ระบุระวางบรรทุก
เฉพาะเรือยนต์หางยาวเช่นเรือยนต์หางยาวของกลางคดีนี้เป็นเรือที่รู้จักกันอยู่ทั่วไปว่าเป็นเรือเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตชนิดหนึ่งใช้วิ่งรับส่งในแม่น้ำลำคลอง โดยข้อเท็จจริงไม่มีทางจะฟังว่าเป็นเรือมีระวางบรรทุกเกิน 250 ตันได้เลย ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปดังกล่าว ถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า มีระวางบรรทุกเท่าใด ศาลย่อมรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเรือยนต์หางยาวพร้อมด้วยเครื่องของกลางคดีนี้ มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตัน เมื่อจำเลยนำไปใช้ในการขนของที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509).
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472-475/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของและไม่มีส่วนรู้เห็น
เรือน้ำหนักไม่เกิน 250 ตัน ซึ่งใช้ในการกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร 2469 มาตรา27 ต้องริบตาม มาตรา32
ผู้ร้องอ้างว่าเรือเป็นของตนไม่ควรริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 32 เป็นหน้าที่ผู้ร้องจะต้องพิสูจน์ให้ได้ความเป็นหลักฐานมั่นคงดังอ้าง
ผู้ร้องอ้างว่าเรือเป็นของตนไม่ควรริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 32 เป็นหน้าที่ผู้ร้องจะต้องพิสูจน์ให้ได้ความเป็นหลักฐานมั่นคงดังอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือของกลางในคดีฝิ่น: ศาลฎีกายกฟ้อง เนื่องจากเรือไม่ใช่ของใช้ในการกระทำผิด
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่า จำเลยมีฝิ่นไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ให้จำคุกจำเลยไว้ 1 ปี 6 เดือน และปรับ 4,662,000 บาท ฝิ่นของกลางให้ริบ ส่วนเรือของกลาง ไม่ใช่ของใช้ในการกระทำผิด คือมีไว้ซึ่งฝิ่นโดยตรง ไม่ใช่ของควรริบ ให้คืนให้จำเลยไป ดังนี้ โจทก์จะฎีกาโต้เถียงว่า เรือเป็นของที่ใช้ในการกระทำผิดไม่ได้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง