คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอนอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าปรับรายวันฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต สิ้นสุดเมื่อเจ้าพนักงานสั่งรื้อถอนและจำเลยไม่ปฏิบัติตาม
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตาม และเป็นการก่อความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารขึ้นตามมาตรา 42 , 66 ทวิ ดังนั้น การคิดค่าปรับรายวันในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเริ่มนับตั้งแต่วันกระทำความผิดไปจนถึงการกระทำความผิดสิ้นสุดลง มิใช่นับตั้งแต่วันกระทำความผิดไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยอาคาร
โจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแบบ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43 ที่ให้อำนาจไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสาม รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมดังกล่าว และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินที่อาคารพิพาทตั้งอยู่จึงมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ จำเลยที่ 3 จะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย จึงมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน เมื่ออาคารพิพาทของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของข้อบัญญัติดังกล่าว จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดแบบและการบังคับใช้ข้อบัญญัติความปลอดภัยทางอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอย อันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่นสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัยมีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมผิดกฎหมาย และผลผูกพันทางกฎหมายจากคำพิพากษาถึงที่สุด
วิธีพิจารณาความแพ่ง คำพิพากษา ผลผูกพัน (ม.145)พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (ม.42, 43)ป.วิ.พ. มาตรา 146พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42, 43
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางเดินหลังอาคารและพื้นชั้นลอยอันเป็นการต่อเติมดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแบบซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และมาตรา 43ให้อำนาจไว้ โจทก์มิได้ฟ้องคดีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เคยฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิให้ยกข้อเท็จจริงที่ยุติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเป็นประการอื่น สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกความรับผิดออกจากกันได้ ย่อมจะโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นเป็นประการอื่นไม่ได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ให้เว้นพื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์เป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นข้อบัญญัติเพื่อความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย มีผลใช้บังคับต่อบุคคลและสถานที่ภายในเขตที่กำหนดไว้โดยเท่าเทียมกัน ไม่มีข้อยกเว้นว่าพื้นที่ใดอยู่นอกเขตการบังคับใช้เมื่ออาคารของจำเลยปลูกสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครก็ต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของข้อบัญญัติดังกล่าว หาได้อยู่เหนือการบังคับใช้ไม่ จำเลยจะยกการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลอื่นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าตนไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายด้วยไม่ได้
ฎีกาเนฯ ตอนที่ 2/2544

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารอันตราย อาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารของโจทก์เป็นอาคารห้องหนึ่งในอาคารพิพาทซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ปลูกสร้างเป็นอาคารเดียวติดต่อกันจำนวนสิบสองห้อง การที่นายช่างของจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบอาคารพิพาทห้องอื่น ถือได้ว่านายช่างได้ตรวจสอบห้องของโจทก์ด้วยแล้วโดยไม่จำต้องตรวจสอบอาคารของโจทก์ซ้ำอีก ก่อนเกิดเหตุคดีนี้อาคารห้องแรกเคยพังลงมาเมื่อนายช่างของจำเลยที่ 1 พบว่าเสาด้านหน้าของอาคารทั้งสองห้องที่ได้ตรวจสอบหักทรุดลงมา และจะดึงโครงสร้างของห้องอื่นพังลงมาด้วย จึงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์มีสภาพที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินแล้วเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขอาคารตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ซึ่งทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารตามคำพิพากษา: ศาลพิจารณาความครบถ้วนของการรื้อถอนโครงสร้างอาคารที่ต่อเติมเกิน
ศาลมีพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4, 21, 22, 40, 42, 65, 66 ทวิ, 69,70, 71 เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 40,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 1,000 บาท ฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานลงโทษจำเลยที่ 2จำคุก 1 ปี และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 80,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ10,000 บาท รวมโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี 2 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 120,000 บาท และปรับวันละคนละ 11,000 บาท จนกว่าจะรื้อถอนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 7 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 60,000 บาท และปรับรายวันอีกวันละคนละ 5,500 บาท นับแต่วันที่ 5มิถุนายน 2538 จนกว่าจะรื้อถอน ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด2 ปี ถ้าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29, 30 การที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ขอยื่นหลักฐานการรื้อถอนอาคารเพื่อชำระค่าปรับตามคำพิพากษา โดยได้พยายามติดต่อขอเอกสารจากเขตราชเทวีเป็นเวลานาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงขอยื่นหลักฐานเท่าที่จำเลยที่ 2 มี เป็นหลักฐานรับรองการรื้อถอนอาคารเพื่อพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทุบผนังอาคารออกทุกด้าน รื้อบันไดเวียนด้านหลังออก ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้รื้อถอนส่วนที่เป็นโครงเหล็กหลังคาออก แต่เมื่อการรื้อถอนอาคารตามคำพิพากษามีความหมายว่าต้องรื้อถอนส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารที่ต่อเกินจากทั้งหมดให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อปรากฏว่ายังมีโครงเหล็กหลังคาเหลืออยู่จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้รื้อถอนเสร็จแล้วยังไม่ได้ ส่วนที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับให้ผู้จะรื้อถอนอาคารจะต้องขออนุญาตมิใช่บทบัญญัติที่ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้รื้อถอนอาคารเสร็จแล้วแต่อย่างใด ดังนี้จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งแสดงว่าโครงเหล็กหลังคาส่วนที่เหลืออยู่ได้รื้อถอนเสร็จสิ้นไปแล้วไม่ได้ แต่เนื่องข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมาแล้วในคดีนี้ยังไม่พอแก่การวินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์คำสั่ง จึงชอบที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนในกรณีนี้ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ยังรื้อถอนอาคารไม่หมดนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ไม่แล้วเสร็จตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์การปฏิบัติตามคำสั่ง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,21,22,40,42,65,66 ทวิ,69,70,71เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 เดือนและปรับจำเลยทั้งสองคนละ 40,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 1,000 บาท ฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี และปรับจำเลยทั้งสองคนละ80,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 10,000 บาท รวมโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี 2 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 120,000 บาท และปรับวันละคนละ 11,000 บาทจนกว่าจะรื้อถอนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำเลยที่ 2จำคุก 7 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 60,000 บาทและปรับรายวันอีกวันละคนละ 5,500 บาท นับแต่วันที่5 มิถุนายน 2538 จนกว่าจะรื้อถอน ให้รอการลงโทษ จำคุกจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ถ้าไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ขอยื่นหลักฐาน การรื้อถอนอาคารเพื่อชำระค่าปรับตามคำพิพากษา โดยได้พยายามติดต่อขอเอกสารจากเขตราชเทวี เป็นเวลานาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงขอยื่นหลักฐาน เท่าที่จำเลยที่ 2 มี เป็นหลักฐานรับรองการรื้อถอนอาคาร เพื่อพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทุบ ผนังอาคารออกทุกด้าน รื้อบันไดเวียน ด้านหลังออก ทำให้ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้รื้อถอนส่วนที่เป็นโครงเหล็กหลังคาออก แต่เมื่อการรื้อถอนอาคารตามคำพิพากษามีความหมายว่า ต้องรื้อถอนส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารที่ต่อ เกินจากทั้งหมดให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อปรากฏว่ายังมีโครงเหล็กหลังคาเหลืออยู่จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้รื้อถอนเสร็จแล้วยังไม่ได้ ส่วนที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับให้ผู้จะ รื้อถอนอาคารจะต้องขออนุญาตมิใช่บทบัญญัติที่ให้ถือว่า จำเลยที่ 2 ได้รื้อถอนอาคารเสร็จแล้วแต่อย่างใดดังนี้จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งแสดงว่าโครงเหล็กหลังคาส่วนที่เหลืออยู่ได้รื้อถอนเสร็จสิ้นไปแล้วไม่ได้ แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นไต่สวน มาแล้วในคดีนี้ยังไม่พอแก่การวินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 2เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์คำสั่ง จึงชอบที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนในกรณีนี้ต่อไปที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ยังรื้อถอนอาคารไม่หมดนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: การแจ้งคำสั่ง, การนำสืบหลักฐาน, และการบังคับคดีโดยคำขอฝ่ายเดียว
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93 (2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และการที่ ส. หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้าน โดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้ว ตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้ โดยให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43 (1) แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน และได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการเขตพระนครจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 นั้น นอกจากจะคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้น จึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 (1)(2) และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้
ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตร จึงขัดกับมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ด้วย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้
อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156, 157 และทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก 6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น2 แปลงอีก คือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่6138 (แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิม ถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298 ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184 และอาคารของบริษัท ต.ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 69เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 50 กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพ-มหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร ดังนั้น จำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง-มหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 10