คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะโดยปริยาย การรุกล้ำทาง และขอบเขตคำพิพากษา
เดิมทางพิพาทรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ของ ก. แล้ว ก. แบ่งให้บุตรแยกครอบครองเป็นส่วนสัด บุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลานานกว่า 10 ปีโดยไม่มีการหวงห้ามทางดังกล่าวจึงเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากทางสาธารณะและทำให้ทางอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีคำขอให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าโดยให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วดังกล่าวเป็นระยะ 75 เซนติเมตรให้เสมอกับแนวชายคาหน้าบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับรั้วคอนกรีตของจำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9671-9675/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของที่ดินในการใช้ประโยชน์จากทางสาธารณะ และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินของโจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้าออกหรือใช้ประโยชน์จากน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ได้อย่างสะดวก การที่จำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวางทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายมาตราดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์แล้ววินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์มีทางเข้าออกหรือสามารถเข้าหรือใช้ประโยชน์จากน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ได้อย่างสะดวกการที่จำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทมิได้ปิดบังหรือกีดขวางทางเข้าออกคลองมหาสวัสดิ์แต่อย่างใดนั้น เป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยใช้สิทธิของตนปลูกบ้านในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินปิดหน้าที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นได้โดยสะดวก ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ กรณีต้องบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421และ 1337 การที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ก่อนก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ผู้มาทีหลังต้องเสียสิทธิดังกล่าวไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของกรมชลประทานอันเป็นการกีดขวางทางที่โจทก์เข้าออกเพื่อใช้ประโยชน์ในคลองมหาสวัสดิ์อันเป็นทางสาธารณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อชดใช้การรุกล้ำ
เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย และ บ.โดยบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ว่า ตามที่เจ้าหน้าที่มาทำรังวัดตรวจสอบเนื้อที่รายโจทก์ จากการรังวัดปรากฏว่า อาณาเขตทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลย ได้ทำการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ประมาณ 6 เมตร ปรากฏว่าคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยยินยอมแบ่งแยกที่ดินทางด้านทิศเหนือจากถนนสาธารณะประมาณ 4 เมตร โดยวัดเฉียงตรงมายังชายทะเลโดยที่ดินของจำเลยยังคงเหลือระยะ 68 เมตร เท่าเดิม ในการตกลงครั้งนี้จำเลยยินยอมตกลงว่าจะไปทำคำขอรังวัดแบ่งแยกให้โจทก์ภายในเวลา 1 เดือน นับจากวันตกลงนี้ ข้อตกลงในส่วนโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน โดยจำเลยยอมแบ่งที่ดินของจำเลยบางส่วนชดใช้ให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยให้เช่ารุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สิน: ผู้ครอบครองมีสิทธิฟ้องได้หากได้รับความเสียหายจากการถูกรุกล้ำ
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บัญญัติว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้นที่จะมีอำนาจฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ การจะฟ้องร้องได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าผู้ที่ฟ้องร้องมีสิทธิในทรัพย์สินนั้นเพียงไร และได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธินั้นหรือไม่เป็นข้อสำคัญ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้หรือครอบครองที่ราชพัสดุจากกระทรวงการคลัง ย่อมมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาที่ดินดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินดังกล่าวเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถกั้นรั้วแนวเขตได้ตามแผนงานและงบประมาณที่ได้รับ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม – การรุกล้ำภารยทรัพย์ – อายุความ – สิทธิเรียกร้อง – เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้อง
อ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 158 แปลง แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซื้อที่ดินที่ อ. แบ่งแยกไว้มาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป การขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินดังกล่าวกลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดิน
เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป
แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทำลายทรัพย์สินบนที่สาธารณะ การกระทำละเมิด และหน้าที่ของเทศบาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดงแผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้วขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจนพอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใดถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้าง เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณีกระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติ ที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304
แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอมได้มาจากการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภารจำยอม
การที่จะได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401นั้นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์จะต้องใช้ทางผ่านที่ดินภารยทรัพย์โดยมิได้ขออนุญาตจากเจ้าของและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะติดต่อกันมาเกิน10ปีห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ได้ดำเนินการจัดสรรแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยปลูกตึกแถวขายพร้อมที่ดินประมาณ40คูหาแก่บุคคลทั่วไปโดยเหลือที่ดินทำเป็นถนนตรงกลางคือทางพิพาทเพื่อให้บุคคลที่มาซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แสดงออกโดยชัดแจ้งต่อบุคคลที่มาซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินว่าไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในทางพิพาทโดยยอมให้บุคคลที่ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินใช้ทางพิพาทอันกระทบถึงสิทธิของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางพิพาทบิดาโจทก์ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินและได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี2505จึงมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมที่ดินและตึกแถวเป็นมรดกตกทอดได้แก่โจทก์โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทเช่นเดียวกับบิดาโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตจากใครและมิได้ใช้โดยถือวิสาสะไม่เคยมีใครมาห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและเมื่อจำเลยที่1ซื้อที่ดินโฉนดทางพิพาทจากกรมบังคับคดีเมื่อปี2527จำเลยที่1ก็ไม่เคยห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทจำเลยก็ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมเพียงแต่โต้แย้งว่าไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกลงดังนี้ถือได้ว่าบิดาโจทก์และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อจะให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของการที่จำเลยที่1เก็บค่าเช่าจากพวกพ่อค้าที่มาตั้งแผงขายสินค้าบริเวณสองข้างทางพิพาทจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทต่อบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความของโจทก์ บิดาโจทก์ใช้ทางพิพาทมาตั้งแต่ปี2505อายุความที่จะได้สิทธิจึงเริ่มนับตั้งแต่ปี2505เมื่อโจทก์รับมรดกที่ดินจากบิดาโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากอายุความนั้นด้วยและนับติดต่อกันกับช่วงที่โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากบิดานับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10ปีทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ปากทางพิพาทนี้เดิมกว้าง6.80เมตรเมื่อจำเลยที่1สร้างอาคาร6ชั้นคร่อมปากทางเสาและผนังอาคารกินทางเข้ามาข้างละ65เซนติเมตรจึงทำให้ทางพิพาทแคบเข้า1.30เมตรคงเหลือเป็นทางอยู่5.50เมตรการกระทำของจำเลยที่1เจ้าของภารยทรัพย์เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดลงไปและเสื่อมความสะดวกเพราะเดิมทางกว้าง6.80เมตรรถยนต์วิ่งสวนกันเข้าออกได้สะดวกเมื่อทางเหลือเพียง5.50เมตรรถยนต์ย่อมวิ่งเข้าออกสวนกันไม่ได้สะดวกถึงแม้จำเลยที่1จะได้ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่รู้ว่าที่พิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และที่ดินของผู้ที่ซื้อที่ดินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ผู้จัดสรรขายแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นสภาพไปจำเลยที่1จึงต้องรื้ออาคารที่จำเลยที่1ปลูกสร้างคร่อมทางภารจำยอมออกไปการที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปลูกสร้างอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่1จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทถึงแม้คำสั่งของจำเลยที่2จะชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อาจลบล้างสิทธิการได้ทางภารจำยอมของโจทก์ได้ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่1รื้อถอนอาคารพิพาทออกจากทางภารจำยอมแล้วจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่2ที่อนุญาตให้จำเลยที่1ทำการปลูกสร้างอาคารพิพาทนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7110/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การรุกล้ำทางภารจำยอมทำให้ประโยชน์เสื่อม หากพิพากษาเกินประเด็น ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 30365 และคดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 30363เป็นทางภารจำยอมหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ส่วนที่อยู่เหนือทางเข้าบ้านโจทก์ขึ้นไปไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรต่อไปได้ ทางภารจำยอมส่วนนี้จึงหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ ภารจำยอมส่วนนี้จึงหมดไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ทางพิพาทโฉนดเลขที่ 30363 ของจำเลยตลอดสายเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยปลูกสร้างอาคารคร่อมที่ดินโฉนดเลขที่ 30363 ทางด้านทิศเหนือของจำเลย ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากทางภารจำยอมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทที่ดิน: การรุกล้ำที่ดิน vs. การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย การวินิจฉัยประเด็นการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าไปก่อสร้างรั้วกำแพงคอนกรีต สิ่งปลูกสร้างและปลูกต้นไม้ในที่ดินโจทก์ ขอให้รื้อถอนออกไป จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยกระทำลงบนที่ดินของจำเลยที่ซื้อมา เมื่อซื้อมาแล้วจำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว เห็นได้ว่ารูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การนั้นไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตที่ดิน: ขอบเขตอำนาจฟ้อง
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ 2 เมตร จากแนวเขตที่ดินของโจทก์ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1342 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้ แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้ เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1342 ดังกล่าว และขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้
of 11