พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดงานงดจ้างชอบด้วยกฎหมายเมื่อเจรจาข้อเรียกร้องไม่เป็นผล แม้มีการลงชื่อในบันทึกข้อตกลงบางส่วน
การที่สหภาพแรงงานฟาร์-อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ต่อโจทก์(นายจ้าง)หลายข้อ แต่ผู้แทนโจทก์ยินยอมตกลงตามข้อเรียกร้องเพียง 2 ข้อ ตามที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยในครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้แทนสหภาพแรงงานฟาร์-อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ มิได้ยอมรับ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการเจรจาตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอื่น ๆ ที่เหลือต่อไปอีก ฉะนั้น การเจรจาตกลงกันในวันที่ 28 มีนาคม 2544 จึงสิ้นสุด โดยที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ผู้แทนโจทก์ไม่ไปเจรจาตามนัด และไม่มีการเจรจาตกลงกันในวันดังกล่าว การที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟาร์ - อีสต์ การ์เมนท์ เท็กซ์ไทล์ ไปลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงไว้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 นั้น ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงที่สิ้นผลไปแล้ว กลับมามีผลได้อีก จึงต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานตามข้อเรียกร้องดังกล่าวยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ การใช้สิทธิแจ้งปิดงานงดจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาใช้เอกสารปลอม - ละเมิดอำนาจศาล - ชาวบ้านลงชื่อโดยไม่รู้เห็น
หลังจากผู้ถูกกล่าวหาได้รับการชักชวนจาก ส. ให้นำหลักทรัพย์ที่เป็นโฉนดที่ดินไปใช้ขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ศาลแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาได้ไปขอออกหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินทั้งสองแปลงเพื่อนำไปใช้ในเรื่องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แต่เอกสารทั้งหมดผู้ถูกกล่าวหาได้มอบให้ ส. ไป แม้จะปรากฏว่าในครั้งแรกผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหารายใดได้ ก็ไม่ปรากฏสาเหตุที่แน่ชัดว่าเนื่องมาจากหลักทรัพย์ของตนมีราคาต่ำเกินไปหรือไม่ อันอาจทำให้เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็นในการใช้หนังสือรับรองราคาประเมินปลอมในการขอให้ปล่อยชั่วคราวในครั้งต่อไป แต่กลับปรากฏว่าในการขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยครั้งเกิดเหตุนี้ มีชายคนหนึ่งเขียนรายละเอียดในเอกสารที่เป็นแบบพิมพ์และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวและบัญชีทรัพย์ ผู้ถูกกล่าวหามีอาชีพทำนา อายุ 57 ปี เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาอาจจะไม่ได้ตรวจดูเอกสารให้ถี่ถ้วนก็ได้ จึงน่าเชื่อว่าก่อนมีการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวได้มีคนบอกให้ผู้ถูกกล่าวหาลงชื่อจริง ซึ่งการลงชื่อของผู้ถูกกล่าวหาก็คงหวังเพียงผลประโยชน์ตอบแทนในการที่นำหลักทรัพย์ของตนมาใช้ขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยผู้ถูกกล่าวหาไม่ทราบว่าหนังสือรับรองราคาประเมินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงขาดเจตนาในการใช้หนังสือรับรองราคาประเมินปลอมยื่นต่อศาลชั้นต้น จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามลำดับชั้น
ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158 บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยที่ ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรนณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ลงชื่อในเช็คโดยไม่ได้ประทับตรา
การที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า อ. น้องภริยาจำเลยต้องการตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยจึงตกลงให้ใช้ชื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใช้บ้าน อ. เป็นที่ตั้งห้างฯอ. บริหารกิจการเอง จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารต่าง ๆของห้างฯ รวมทั้งเช็ค 3 ฉบับ เพื่อให้ อ. นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ โดยยังไม่ได้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความนั้น ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้สินของห้างนั้นเสมอเป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ. นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ. กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมูลหนี้จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่จำเป็นต้องมีพยานลงชื่อในขณะทำสัญญา ไม่กระทบความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้นไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งเท็จ: เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งลงชื่อรับรองข้อความเท็จ ไม่ทำให้การแจ้งเท็จของผู้อื่นขาดความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267ลงโทษจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นการประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า เจ้าพนักงานเป็นผู้กระทำผิดเสียเองอันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้วทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อ ห. เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห. จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความแทน หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตักเตือนมีผลเมื่อแจ้งให้ลูกจ้างทราบ แม้ลูกจ้างไม่ลงชื่อรับทราบ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดวิธีการแจ้งหนังสือตักเตือนให้ลูกจ้างทราบ ว่าต้องให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือนหรือต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบด้วยวิธีการอย่างใด ดังนั้น การที่นายจ้างออกหนังสือตักเตือนและแจ้งให้ลูกจ้างทราบแล้ว แม้ลูกจ้างไม่ได้ลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน ก็ถือว่าลูกจ้างได้รับทราบหนังสือตักเตือนซึ่งทำให้หนังสือตักเตือนมีผลใช้บังคับแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมจากการกรอกข้อความเท็จหลังลงชื่อ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญา
โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายข้าวเปลือกโดยยังไม่มีการกรอกข้อความ แล้วโจทก์นำสัญญานั้นไปให้บุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานและกรอกข้อความ ซึ่งไม่ตรงตามความประสงค์ของจำเลย เพราะจำเลยลงชื่อในสัญญาดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้เงินโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องปลอม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดส่งมอบข้าวเปลือกหรือชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์เมื่อลงชื่อครบ แม้ลงชื่อหลังทำสัญญา
บทบัญญัติมาตรา 572 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ไม่ได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าคู่สัญญาเช่าซื้อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายต้องลงชื่อในวันทำสัญญา เมื่อคู่สัญญาลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่ายย่อมถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อได้กระทำเป็นหนังสือแล้ว ดังนั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยภายหลังจากวันที่ทำสัญญาเช่าซื้อนั้น สัญญาเช่าซื้อย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การตักเตือนและลงชื่อรับทราบผลงานตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างไม่พึงทำงานต่ำกว่า เกณฑ์ทำงานขั้นต่ำแต่ละวัน หากลูกจ้างคนใดทำงานต่ำกว่าเกณฑ์จำเลยมีสิทธิตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีสิทธิให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบผลงานและรับทราบการตักเตือนซึ่งอาจเป็นการตักเตือนให้ปรับปรุงการทำงาน หรือตักเตือนเพื่อเป็นการลงโทษแล้วแต่กรณีเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวิสัยของลูกจ้างทั่วไปกระทำได้เพราะไม่ปรากฏว่ามีลูกจ้างอื่นทำไม่ได้ นอกจากโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป้าหมายของเกณฑ์ขั้นต่ำหรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่จะให้ลูกจ้างทำงานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยไม่เป็นการขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานทั้งการว่ากล่าวตักเตือนลูกจ้างการให้ลงชื่อรับทราบผลงานเป็นสิทธิทั่วไปที่นายจ้างพึงกระทำต่อลูกจ้างได้ไม่ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้การที่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อรับทราบสรุปผลงานตามข้อบังคับของจำเลยเมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'นายจ้าง ต้องเรียกลูกจ้างมาเพื่อทำการตักเตือนการทำงานพร้อมกับให้เซ็นชื่อ รับทราบผลงานของตนไว้ด้วย'นั้น เป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงด้านนายจ้าง แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้กล่าวถึงด้านลูกจ้างด้วยไม่อาจแปลได้ว่าเป็นการบังคับ ลูกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แม้จำเลยจะตักเตือนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้วก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย